18/3/57

ประวัติหลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง จ.เพชรบุรี


หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2518) เป็นพระคณาจารย์อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีเมตตาสูง ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง เพชรบุรี ท่านจึงมีวิทยาคมไม่แพ้เกจิอาจารย์อื่น ๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกับท่านเป็นที่เคราพนับถือของชาวบ้านในถิ่นนั้นตลอดจนถิ่นอื่น ๆ เป็นอันมาก วัตถุมงคลของท่าน สร้างไว้ ก็มีเหรียญ พระปรกใบมะขาม และลูกอม ดีทางเมตตาและป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
ท่านมีนามเดิมว่า ทองสุข กลิ่นนาค เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ที่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี บิดามารดามีอาชีพทำนา อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2464 ที่วัดห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยมีพระอธิการหนึ่ง วัดห้วยโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นิ่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เซ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุจิตโต ในระหว่างที่เป็นพระได้ศึกษาวิชาอักขระขอมจนแตกฉาน ต่อมาจึงได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบันไดทอง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และได้รับสมณศักดิ์ต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ เป็นพระครูชั้นประทวน เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นพระครูสุตานโยค และเป็นพระอุปัชฌาย์ ตามลำดับ
  • พ.ศ. 2478 - ท่านได้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง หลวงปู่เต็ง มรณภาพ
  • พ.ศ. 2479 - ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง
  • พ.ศ. 2482 - ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูชั้นประทวน
  • พ.ศ. 2492 - ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในนาม พระครูสุดาโยค
  • พ.ศ. 2509 - ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
  • พ.ศ. 2516 - ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมสูงรูปหนึ่งในสมัยนั้น หลวงพ่อหนึ่งท่านมีของดีหลายอย่าง เช่น ลูกอม ตะกรุด เหรียญ ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ เป็นต้น  หลวงพ่อสุขจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาเหล่านี้เอาไว้ทั้งหมด ต่อมาท่านได้สร้างเหรียญและลูกอมขึ้นมาเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน หลวงพ่อสุขท่านเป็นพระแท้ที่ควรได้รับการเทิดทูนว่าเป็นพระแท้ที่ควรแก่การเทิดทูน ด้วยความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างสูง โดยให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั่วไปเสมอมา ทำการปกครองวัดบันไดทองจนก้าวหน้า เจริญยิ่งขึ้น เป็นที่ศรัทธาของประชาชนและเกิดผลดีต่อศาสนา ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2518
พระครูสุตานุโยค นามเดิม ทองสุข กลีนนาค เกิด เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๐ ที่บ้านหมู่ ๒ ตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี บิดา – มารดา นายอยู่ นางแจ่ม กลีนนาค ประวัติ การเล่าเรียนเมื่อครั้งปฐมวัยนั้น ได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัดห้วยโรง อาศัยพระภิกษุเป็นผู้สอนด้วยความขยันและอดทนจนมีความรู้สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทอยู่ประมาณ หนึ่งพรรษาต้องลาสิกขาบทไปรับใช้ประเทศชาติอยู่ ๒ ปี จึงปลดประจำการและกลับมาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ที่วัดห้วยโรง มีพระอธิการหนึ่ง วัดห้วยโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นิ่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เซ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุจิตโต” ประวัติความมีชื่อเสียง ได้ศึกษาพระธรรมวินัย อักขระภาษาขอม รวมถึงวิปัสสนากัมมัฎฐาน จนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจาก หลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง จนหมดสิ้นกระบวนความ สามารถดูแลตนเองได้จึงออกจาริกแสวงบุญ เป็นการฝึกจิตภาวนา แสวงหาสัจจะธรรม อันเป็นหนทางการหลุดพ้น ล่วงเข้าสู่พรรษาที่ ๖ ท่านได้มาพำนักที่วัดบันไดทอง และถูกอัธยาศัยกันดีกับหลวงปู่เต็ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส และขอร้องให้ท่านอยู่ดูแลสงเคราะห์คณะสงฆ์และญาติโยม จนปี พ.ศ.๒๔๗๘ หลวงปู่เต็มถึงแก่มรณภาพ และท่านได้รักษาการเจ้าอาวาส มีคหบดีท่านหนึ่งบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนประชาบาลเพื่อใช้เป็นสถานศึกษาเล่าเรียน ปี พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง และต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสุตานุโยค หลวงพ่อสุข มรณภาพเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ รวมสิริอายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๔

ไม่มีความคิดเห็น: