22/3/57

เหรียญเสมาและเหรียญรูปไข่พระพุทธโคดม หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง



ประสบการณ์กับเหรียญเสมาพระพุทธโคดม หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง ต้องเล่าย้อนหลังไปประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมาช่วงนั้นเหรียญหลวงพ่อพานยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก รู้จักกันก็แค่ในพื้นที่ ผู้เล่าประสบการณ์ชื่อ เล่นว่า จุก อยู่ที่หมู่บ้าน ทุ่งยาว ต.ทับใต้ อ.หัวหิน ตอนที่เป็นวัยรุ่นตอนนั้นก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไป เที่ยวแบบว่าภาษาวัยรุ่น กินเหล้า เที่ยวกับเพื่อนฝูง กันเป็นกลุ่ม 3 คน 5 คน และในวันเกิดเหตุ นายจุกกับเพื่อนอีก 2 คนได้มีเรื่องกับวัยรุ่นอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ศาลาทางเขาหมู่บ้านทุ่งยาวติด หน้าถนนเพชรเกษม ในขณะที่ นายจุกกำลังนั่งท้ายรถจักรยานยนต์กับเพื่อนอีก 2 คน คู่อริที่เคยมีเรื่องกันได้มาเห็นจึงใช้ปืน .38 ยิงใส่ทั้งสามคนจนหมดกระสุน ในระยะการยิงไม่น่าจะเกิน 10 เมตร แต่ปรากฎว่าทั้งสามไม่โดนกระสุนแม้แต่คนเดียว อาจเป็นเพราะพุทธคุณของพระเครื่องที่อยู่ในคอของคุณจุกก็เป็นไปได้ ในคอคุณ จุกห้อย เหรียญเสมาพุทธโคดม หลวงพ่อพาน วัดโปร่งกระสัง เหรียญพ่อทองเบิ้ม รุ่น ทบ. วัดวังยาว เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา จนทุกวันนี้คุณจุก ก็ยังห้อยเหรียญเสมาหลวงพ่อพานอยู่ตลอดเวลา เสมอมา

ขอให้อนุภาพของเหรียญหลวงพ่อพานจงคุ้มครองเหล่าบุคคลผู้นับถือถือท่านด้วยเทอญ 

21/3/57

พระหลวงพ่อพาน'พุทธคุณ-ปาฏิหาริย์'ที่ไม่รู้จับ

พระหลวงพ่อพาน'พุทธคุณ-ปาฏิหาริย์'ที่ไม่รู้จับ


พระหลวงพ่อพาน สุขกาโมเรื่องเล่าของ'พุทธคุณ-ปาฏิหาริย์'ที่ไม่รู้จบ : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู 



  หลวงพ่อพาน สุขกาโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกะสัง) ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นพระที่ถ้าคุณได้ศึกษาประวัติของท่านแล้ว คุณจะยอมรับว่านี้คือพระที่เก่งจริงๆ ของเมืองไทยเราอีกรูปหนึ่ง ก็ขนาดหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ก็ยังเคยกล่าวยกย่องท่านไว้
              เรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ขณะนั้นหลวงพ่อพาน ยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านโป่งกะสังได้เหมารถบัสใหญ่ เพื่อไปนมัสการหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณได้เห็นเหรียญที่ห้อยคอของผู้ที่ไปนมัสการท่าน จึงได้ถามว่าหลวงพ่ออะไร ได้รับคำตอบว่า เป็นเหรียญของหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง หลวงพ่อคูณจึงกล่าวกับผู้ไปนมัสการว่า "พวกเองไม่ต้องมาหาข้าถึงที่นี่ด๊อก มันไกล พ่อพานมึงเก่งยิ่งกว่ากูอีก หรือแม้กระทั่งหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ยังต้องยอมท่าน และยังให้ลูกศิษย์ของตนเองไปเอาของดีจากท่าน" 
              ด.ต.วิรัตน์ อาจสัญจร ผบ.หมู่งานจราจร สน.บางยี่ขัน กทม. ผู้สะสมพระหลวงพ่อพาน อธิบายให้ฟังว่า หลวงพ่อพานสร้างวัตถุมงคลไว้ไม่มาก เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ยอมให้ใครสร้าง ก็ขนาดหนังสือมหาโพธิ์ ของใหญ่ ท่าไม้ จะมาขอสร้างวัตถุมงคลของท่าน ท่านยังไม่ยอมให้สร้างเลย วัตถุมงคลของท่านมีดังนี้
              ๑.พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ตามประวัติที่หลวงพ่อพานท่านได้เล่าให้ นายอรรตภูมิ สร้อยทอง ซึ่งป็นเด็กวัดและบีบนวดท่านเป็นประจำ ฟังว่า พระผงรุ่น ๑ นี้ พอท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงแล้ว ท่านได้นำผงพุทธคุณไปให้อาจารย์ปลุกเสก แต่หลวงพ่อทองศุขกลับบอกว่า ไหนๆ ก็เรียนวิชาจบหมดแล้วก็มาปลุกเสกด้วยกันสิ ท่านจึงได้ปลุกเสกร่วมกับหลวงพ่อทองศุข
              ส่วนรุ่นที่ ๒ เป็นพระสมเด็จเนื้อผงอีกเช่นกัน จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ โดยได้นำผงพุทธคุณรุ่นแรกมาผสมด้วย สังเกตให้ดีมวลสารคล้ายกันมาก 2 รุ่นนี้ โดยรุ่นนี้ได้ปลุกเสกร่วมกับศิษย์ผู้พี่ หลวงพ่อเพลิน ที่วัดหนองไม้เหลือง ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๓ ท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง และได้นำสมเด็จรุ่นนี้มาแจกที่วัดโป่งกะสัง ชาว อ.กุยบุรี จึงจัดรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของวัดโป่งกะสัง ส่วนเหรียญรุ่นแรกของท่าน จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ จำนวนไม่เกิน ๑ หมื่นเหรียญ เพราะบล็อกแตกเสียก่อน
              ด.ต.วิรัตน์ ยังบอกด้วยว่า ตามประวัติ เหรียญรุ่นนี้ ท่านก็ได้เล่าให้ นายอรรตภูมิ สร้อยทอง ฟังเช่นกัน เพราะนายอรรตภูมิถามท่านว่า หลวงพ่อเขาลือกันว่า เหรียญหลวงพ่อมีปลอมและเสริมด้วยหรือ เห็นเขาลือกัน ท่านจึงเล่าให้ฟังว่า วันที่สร้างเหรียญรุ่นนี้ตัวท่านอยู่กับหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่ออินทร์ได้สร้างเหรียญของท่าน ทางผู้สร้างได้มาที่วัด ออกแบบ กำหนดจำนวน หลวงพ่ออินทร์ จึงถามหลวงพ่อพาน ว่าไม่สร้างเหรียญหรือ หลวงพ่อพานตอบ ไม่สร้างหรอก วัดเราจน แต่ถ้าได้ราคา ๑ บาทต่อเหรียญ ก็จะทำ ผู้สร้างตอบตกลง จึงได้จัดสร้าง เมื่อสร้างเสร็จก็นำเหรียญมาไว้ที่วัดยาง หลวงพ่อพานก็ทยอยนำเหรียญนั้นกลับวัดโป่งกะสัง ส่วนเหรียญรุ่น ๒ สร้างจำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ มีเนื้อเดียวเช่นกัน
              ส่วนรุ่น ๓ สร้าง ๓ เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ ๘๒ เหรียญ เนื้อเงิน ๘๒ เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ ๖,๐๐๐ เหรียญ รุ่น ๔ เป็นเหรียญหล่อ ทองคำ ๘๔ เหรียญ เงิน ๕๐๐ นวะและทองเหลืองรวม ๕,๐๐๐ เหรียญ เหรียญหล่อนี้หลวงพ่อพานมาโรงหล่อที่พรานนกด้วยตนเอง โดยได้นำตะกรุด แผ่นทองแดงที่จารแล้ว จำนวนมาก และเงินพตด้วง สตางค์รู
              "สมัยก่อน ที่ท่านไปหามาด้วยตัวท่านเองกับ คุณครูพจนรินทร์ มุสิกเจียรนันท์ ผู้ขับรถไปกับหลวงพ่อพาน ท่านได้เทโลหะ ตะกรุด แผ่นทองแดงจาร เป็นปฐมฤกษ์ ด้วยตัวท่านเอง หลวงพ่อพานเป็นพระที่ปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านตลอดไม่มีวาระ ถ้าท่านไม่มีกิจนิมนต์หรือไม่ได้จำวัดที่วัด พลบค่ำท่านจะเข้าห้องพระปลุกเสกตลอด" ด.ต.วิรัตน์กล่าวทิ้งท้าย
              หลวงพ่อพานมรณภาพเมื่อ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ รวมอายุ ๘๔ ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ถูกเก็บไว้ในโลงไม้ เพื่อลูกศิษย์ได้ชมบารมี


ปาฏิหาริย์ที่ไม่รู้จบ

              "ในสมัยก่อน วัดโป่งกะสัง มีหลวงพ่อพานอยู่รูปเดียว คอมมิวนิสต์ชุกชุมมากจริงๆ จึงไม่มีพระรูปใดกล้าอยู่ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดบอกว่า ถ้าได้ยินเสียงปืนมาจากทางวัดรู้ได้ทันทีว่าหลวงพ่อพานโดนยิงอีกแล้ว เพราะว่า ตชด.จะต้องสับเปลี่ยนกำลังพลเป็นประจำ จึงไม่รู้ว่ามีพระเดินจงกลมอยู่"

              นี้เป็นส่วนหนึ่งเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพาน
              พระครูโสภิตวชิรธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลือง รูปปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า ท่านเป็นคนที่นี่ สมัยท่านเป็นเด็กวิ่งเล่นอยู่แถววัดนี้เป็นประจำ หลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพาน อยู่ที่วัดหนองไม้เหลืองนี้ด้วยกัน กุฎิติดกันโดยมีบันไดทางขึ้นวัด เป็นสิ่งที่กั้นกุฎิไม่ให้ติดกัน และได้ร่วมกันสร้างวัดหนองไม้เหลืองมาด้วยกัน โดยหลวงพ่อเพลิน เป็นผู้สร้างกุฏิสงฆ์ ส่วนหลวงพ่อพานนั้นสร้างศาลาการเปรียญ
              ทั้งหลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพานนั้น ไม่ใช่พี่น้องกันเหมือนอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน หลวงพ่อเพลินแก่กว่าหลวงพ่อพาน ๑๑ พรรษา โดยหลวงพ่อเพลินเล่าให้ฟังว่า สมัยที่หลวงพ่อเพลินยังเป็นพระลูกวัด หลวงพ่อพานยังเป็นเด็กวัด หลวงพ่อพานจะเรียก หลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่” จนมรณภาพ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ คนบ้านแค จ.เพชรบุรี ไปทำมาหากินที่หมู่บ้านโป่งกะสัง ชื่อว่า โยมพลอย น้อยสำราญ โดยโยมพลอยได้ชื่นชอบหลวงพ่อพาน เพราะท่านเป็นพระเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด จึงไปขอกับหลวงพ่อเพลินให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง
              โดยในปีแรกที่หลวงพ่อพานมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสังหลวงพ่อเพลินได้ไป ทอดกฐินให้ ได้เงินจำนวน ๓,๐๐๐ บาท โดยหลวงพ่อพานก็ยังไปๆ มาๆ และมาร่วมงานกับหลวงพ่อเพลินเป็นประจำ คนที่หนองไม้เหลืองศรัทธาหลวงพ่อพานมาก เวลาที่วัดโป่งกะสังมีงานครั้งใดๆ ก็จะเหมารถใหญ่หลายคัน ไปช่วยงานหลวงพ่อพาน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อพานได้เล่าให้เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองรูปปัจจุบันฟังว่า ตัวท่านได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเพลิน ถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นถ้ำ หลวงพ่อพานได้บอกกับหลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่ฉันเอาตรงนี้นะ” เสร็จแล้วทั้ง ๒ รูป ก็ได้ปักกลดในถ้ำแห่งนั้น
              โดยคืนนั้น หลวงพ่อพานไม่ได้นอนทั้งคืนเลย มีมดขี้มาเข้ากลดเต็มไปหมด นอนไม่ได้เลยทั้งคืน ส่วนหลวงพ่อเพลินหลับสบาย แต่ก็แปลกพอตอนเช้าแม้แต่ตัวเดียวก็ไม่เห็น หลวงพ่อพานจึงมาเล่าให้หลวงพ่อเพลินฟัง หลวงพ่อเพลินจึงบอกว่า “นั้นแหละเป็นเพราะคุณยินดีต่อสถานที่”
              เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองกล่าวต่ออีกว่า งานที่หลวงพ่อพานไม่ไปเด็ดขาดคืองานศพที่ผู้ตายฆ่าตัวตาย ท่านจะไม่ไปโดยเด็ดขาด และในสมัยก่อนมีงานที่วัด จะมีการทำโคมไฟ ส่วนพระก็ทำตะไล ส่วนหลวงพ่อพานได้ทำโคมไฟ ซึ่งเป็นโคมไฟแขวน เสร็จแล้วท่านก็ให้ชาวบ้านที่ทำตะไล เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟแขวนของท่าน ใครยิงโคมไฟถูกมารับรางวัลจากท่าน  ผลปรากฏว่าชาวบ้านที่ทำตะไลมา เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟ ยิงเท่าไรก็ยิงไม่ถูก ยิงจนหมดปัญญายิง
              นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อพานยังบอกให้ไปเอาพลุมายิง ชาวบ้านก็ช่วยกันแบกกระบอกยิงพลุ เอาพลุใส่เล็งไปที่โคมไฟแขวน เสร็จแล้วจุดพลุ เสียงระเบิดดัง ตูมๆๆที่กลางอากาศหาถูกโคมไฟไม่ จนชาวบ้านต้องยอมหลวงพ่อพาน “มันก็แปลก โคมไฟแขวนอยู่กับที่ ทำไมยิงไม่ถูกกัน อุตส่าห์เล็งอย่างดี”

วัตถุมงคลหลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง แต่ละรุ่น (ยังไม่ครบทุกรุ่น)

เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปี 2519 สร้างเนื้อทองแดงเนื้อเดียว จำนวนการสร้าง 10.000 เหรียญ



เหรียญปั๊มรุ่นสอง ปี 2526 สร้างในวาระฉลองสมณศักดิ์ เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 5.000 เหรียญ



เหรียญรุ่นสาม ปี 2535 สร้างในวาระอายุครบ 82 ปี เนื้อทองคำ 82 เหรียญ เนื้อเงิน 82 เหรียญ 
เนื้อทองแดงรมดำ 6.000 เหรียญ


เหรียญปั๊มเสมา เสาร์ 5 สร้างปี 2536 เนื้อเงินหน้ากากทอง 100 เหรียญ เนื้อทองแดง 5.000 เหรียญ


เหรียญหล่อ ปี 2537 สร้างในวาระครบรอบ 84 ปี ทองคำ 84 องค์ เนื้อเงิน 500 องค์ เนื้อนวะและทองเหลือง 5.000 องค์


เหรียญปั๊ม พุทธโคดม ปี 2538 พิมพ์เสมา 





เหรียญปั๊ม พุทธโคดม ปี 2538 พิมพ์รูปไข่



เหรียญปั๊ม รุ่นตะกุดคู่ มหาอำนาจ ปี 2538 พิมพ์เสมา


เหรียญปั๊ม พระนาคปรกใบมะขาม ครบ 7 รอบ ปี 2538 รุ่นแรก


เหรียญตะกรุดคู่มหาอำนาจ ปี2538 หลวงพ่อพาน วัดโปร่งกระสัง จังหวัด.ประจวบคีรีขันธ์



หลวงพ่อพานมรณภาพเมื่อ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ รวมอายุ ๘๔ ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ถูกเก็บไว้ในโลงไม้ เพื่อลูกศิษย์ได้ชมบารมี

ปาฏิหาริย์ที่ไม่รู้จบ

"ในสมัยก่อน วัดโป่งกะสัง มีหลวงพ่อพานอยู่รูปเดียว คอมมิวนิสต์ชุกชุมมากจริงๆ จึงไม่มีพระรูปใดกล้าอยู่ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดบอกว่า ถ้าได้ยินเสียงปืนมาจากทางวัดรู้ได้ทันทีว่าหลวงพ่อพานโดนยิงอีกแล้ว เพราะว่า ตชด.จะต้องสับเปลี่ยนกำลังพลเป็นประจำ จึงไม่รู้ว่ามีพระเดินจงกลมอยู่"

นี้เป็นส่วนหนึ่งเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพาน

พระครูโสภิตวชิรธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลือง รูปปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า ท่านเป็นคนที่นี่ สมัยท่านเป็นเด็กวิ่งเล่นอยู่แถววัดนี้เป็นประจำ หลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพาน อยู่ที่วัดหนองไม้เหลืองนี้ด้วยกัน กุฎิติดกันโดยมีบันไดทางขึ้นวัด เป็นสิ่งที่กั้นกุฎิไม่ให้ติดกัน และได้ร่วมกันสร้างวัดหนองไม้เหลืองมาด้วยกัน โดยหลวงพ่อเพลิน เป็นผู้สร้างกุฏิสงฆ์ ส่วนหลวงพ่อพานนั้นสร้างศาลาการเปรียญ

ทั้งหลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพานนั้น ไม่ใช่พี่น้องกันเหมือนอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน หลวงพ่อเพลินแก่กว่าหลวงพ่อพาน ๑๑ พรรษา โดยหลวงพ่อเพลินเล่าให้ฟังว่า สมัยที่หลวงพ่อเพลินยังเป็นพระลูกวัด หลวงพ่อพานยังเป็นเด็กวัด หลวงพ่อพานจะเรียก หลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่” จนมรณภาพ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ คนบ้านแค จ.เพชรบุรี ไปทำมาหากินที่หมู่บ้านโป่งกะสัง ชื่อว่า โยมพลอย น้อยสำราญ โดยโยมพลอยได้ชื่นชอบหลวงพ่อพาน เพราะท่านเป็นพระเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด จึงไปขอกับหลวงพ่อเพลินให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง

โดยในปีแรกที่หลวงพ่อพานมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสังหลวงพ่อเพลินได้ไปทอดกฐินให้ ได้เงินจำนวน ๓,๐๐๐ บาท โดยหลวงพ่อพานก็ยังไปๆ มาๆ และมาร่วมงานกับหลวงพ่อเพลินเป็นประจำ คนที่หนองไม้เหลืองศรัทธาหลวงพ่อพานมาก เวลาที่วัดโป่งกะสังมีงานครั้งใดๆ ก็จะเหมารถใหญ่หลายคัน ไปช่วยงานหลวงพ่อพาน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อพานได้เล่าให้เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองรูปปัจจุบันฟังว่า ตัวท่านได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเพลิน ถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นถ้ำ หลวงพ่อพานได้บอกกับหลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่ฉันเอาตรงนี้นะ” เสร็จแล้วทั้ง ๒ รูป ก็ได้ปักกลดในถ้ำแห่งนั้น

โดยคืนนั้น หลวงพ่อพานไม่ได้นอนทั้งคืนเลย มีมดขี้มาเข้ากลดเต็มไปหมด นอนไม่ได้เลยทั้งคืน ส่วนหลวงพ่อเพลินหลับสบาย แต่ก็แปลกพอตอนเช้าแม้แต่ตัวเดียวก็ไม่เห็น หลวงพ่อพานจึงมาเล่าให้หลวงพ่อเพลินฟัง หลวงพ่อเพลินจึงบอกว่า “นั้นแหละเป็นเพราะคุณยินดีต่อสถานที่”

เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองกล่าวต่ออีกว่า งานที่หลวงพ่อพานไม่ไปเด็ดขาดคืองานศพที่ผู้ตายฆ่าตัวตาย ท่านจะไม่ไปโดยเด็ดขาด และในสมัยก่อนมีงานที่วัด จะมีการทำโคมไฟ ส่วนพระก็ทำตะไล ส่วนหลวงพ่อพานได้ทำโคมไฟ ซึ่งเป็นโคมไฟแขวน เสร็จแล้วท่านก็ให้ชาวบ้านที่ทำตะไล เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟแขวนของท่าน ใครยิงโคมไฟถูกมารับรางวัลจากท่าน ผลปรากฏว่าชาวบ้านที่ทำตะไลมา เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟ ยิงเท่าไรก็ยิงไม่ถูก ยิงจนหมดปัญญายิง

นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อพานยังบอกให้ไปเอาพลุมายิง ชาวบ้านก็ช่วยกัน
แบกก

เหรียญหลวงพ่อพานรุ่นแรก ปี 19

เหรียญหลวงพ่อพานรุ่นแรก  ปี 19 บล็อคปั๊มแรกๆ


ด้านหน้า 1. ตาคมชัด 2.คางไม่ซ้อน 3.ไม่มีกลาก 4.เส้นจุดนี้คมชัดมากๆ 5.กลากนิ้วมือชัดไม่เบลอ 6.ไม่มีกลาก 7.กลากคมชัดมากๆ

 ด้านหลัง 1.หูเหรียญเจาะไปด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา 2.เส้นขนแมวคมชัดมากๆ 3.เส้นขนแมวชัดเจนคมๆ 4.กลากนูนชัดๆ 5.เม็ดไข่ปลาคมชัดมากๆครับ


เหรียญรุ่นแรก ปี 19 บล็อคปั๊มหลังๆ



ด้านหน้า 1.ตาเริ่มไม่ชัดแล้วแต่คมมาก 2.คางเริ่มมีรอยซ้อน เรียกว่าคางซ้อน 3.ไม่มีกลาก 4.เส้นคมมากๆ 5.กลากมากขึ้น 6.ไม่มีกลากเลย 7.กลากเร่มไม่ชัดแล้วครับ

ด้านหลัง 1.หูเหรียญเอียงเหมือนบล็อคแรก 2.เส้นขนแมวบางมากแต่ก็ชัด 3.ขนแมวเริ่มไม่ติดแล้ว 4.กลากเร่มหายไปบ้างแล้ว 6.ป ไม่ติดเต็มตัวครับ 7.เลข เริ่มปั๊มไม่ติดแล้วครับ


เหรียญหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง ขึ้นปก นิตยาสารพระเครื่องล้ำค่า

มาแรงจริงๆ ครับ กับความศรัทธาของเล่าลูกศิษย์และผู้ที่นับถือในตัวหลวงพ่อพาน และความดังของเหรียญหลวงพ่อพานและตัวท่านของเรื่องเล่าประสพการณ์ของเหรียญแต่ละรุ่นที่แคล้วคลาดปลอดภัยจนทำให้นิตยาสารหนังสือพระเครื่องล่ำค่า ได้เอาเหรียญรุ่น๑ขึ้นปรก ดังจริงๆในเวลานี้ ไม่มีเซียนคนไหนที่ไม้รู้จักหลวงพ่อพาน วัดโปร่งกระสัง ส่วนตัวผมมีความศรัทธาท่านมานานแล้ว

ถ้าใครสนใจต้องการความรู้เรื่องเหรียญหลวงพ่อพาน เข้า facebook กลุ่ม ชมรมลูกศิษย์ล.พ.พานวัดโป่งกะสัง ได้เลยรับรองชมรมนี้ให้รายระเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะ พี่ใหญ่ของนี้
ไพโรจน์ โสมทัศน์ ความรู้แน่นเกี่ยวกับประวัติหลวงพ่อและประวัติพระแต่ละรุ่นของหลวงพ่อพาน 

ลองเหรียญหลวงพ่อพาน รุ่นตะกุดคู่มหาอำนาจ ป๊ 38





โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม เชื่อไม่เชื่ออยู่ที่ตัวบุคคล 

ในคลิป มีวัยรุ่นนำเหรียญหลวงพ่อพาน รุ่นตะกุดคู่มหาอำนาจ ปี 38 มาลองด้วยอาวุธปืนสั้น สรุปคร่าวๆว่าเป็นอย่างไร ไม่มีคำบรรยาย ต้องดูในคลิปเอา ขอให้อนุภาพของเหรียญหลวงพ่อพานจงคุ้มครองเหล่าบุคคลผู้นับถือถือท่านด้วยเทอญ 

สุดยอดทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเป็นมหาอุด



                             
                                        สุดยอดมหาอุตม์ตลอดกาลเมืองประจวบคีรีขันธ์

2490  ต้องยกให้หลวงพ่อเปี่ยม   วัดเกาะหลัก    
ช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2520  ต้องยกให้   หลวงพ่อท้วม   วัดเขาโบสถ์    
หลังจากหลวงพ่อท้วม   ก็จะเป็น   หลวงพ่อนิ่ม   วัดเขาน้อย  และ หลวงพ่อฟัก   วัดนิคมประชาสรรค์ เจ้าแห่งปลัดขิก   

ในช่วงที่ท่านมีชีวิต   หลวงพ่อพาน เปรียบเสมือน   เทพเจ้าแห่งกุยบุรี   ท่านเป็นพระที่เก็บตัว   วัดของท่านแทบจะเรียกว่าอยู่ในป่าเลยครับ   ทำให้ท่านไม่เป็นที่รู้จักของคนต่างถิ่นมากนัก   แต่ในท้องที่กุยบุรีแล้ว ท่านเป็นอันดับหนึ่งครับ   เหรียญรุ่นแรกของท่าน  สร้างในปี พ.ศ. 2519 เหรียญรุ่นแรก   หลวงพ่อพาน   สุขกาโม   วัดโป่งกระสัง   บ้านโป่งกระสัง   อ.กุยบุรี   จ.ประจวบคีรีขันธ์   
หลวงพ่อพาน   ท่านเป็นพระที่อยู่ในยุคเดียวกันกับ หลวงพ่อนิ่ม และหลวงพ่อฟัก   แต่ท่านจะอ่อนอาวุโสกว่าทั้งสองท่านครับ    ท่านจะมีอาวุโสมากกว่า หลวงพ่อยิด    วัตถุมงคลของ หลวงพ่อพาน  นอกจากเหรียญรุ่นแรก แล้ว    สิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความต้องการของบรรดาลูกศิษย์   ก็คือ  ตะกรุดโทน   ท่านค่อนข้างพิจารณาแจกมากครับ สำหรับตะกรุดโทนของท่าน
หลวงพ่อพาน  เกิด วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2454   ในสกุล พุ่มอำภา   เป็นชาวบ้านกล้วย  ต.บางเค็ม  อ.เขาย้อย  จ.เพชรบุรี   อุปสมบท ณ.พัทสีมา  วัดหนองไม้เหลือง  เมื่อปี พ.ศ. 2475     หลวงพ่อพานเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีโดยกำเนิด เป็นพี่น้องกับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลืองและได้บวชเรียนที่วัดหนองไม้เหลืองเพชรบุรี หลวงพ่อพานได้มาจำพรรษาที่วัดโป่งกะสังและเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ยังเป็นสำนักสงฆ์ หลวงพ่อพานท่านเป็นพระปฏิบัติมีความมุ่งมั่นในการก่อร่างสร้างวัดโป่งกะสัง ที่ยังไม่มีอะไรเลย ให้เป็นวัดที่มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมายจากบารมีของท่าน ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2539รวมอายุ 84 ปี

หลวงพ่อพานนี้นะครับ หลวงพ่อยิดยังยกย่อง เรียกพี่ใหญ่หรือพี่เบิ้มนี่แหล่ะ ท่านเอ่ยชมเลยนะครับ 
หลวงพ่อยิดท่านว่า ของฉันเก่งก็เก่งจริง แต่ถ้าทำไม่ดี เดี๋ยวคุ้มไม่ได้ ของหายบ้าง เสื่อมบ้าง อะไรบ้างแต่ของหลวงพ่อพาน คุ้มได้หมด ได้ขนาดไหน(ท่านอาจจะถาม) ขนาดยิงกรอกปากไม่ออกก็แล้วกันครับ
อันตะกรุดท่านนั้น ท่านจะลงจารเองทุกดอก สมัยนั้น ออกมาก็ดอกละพันแล้ว และจะลงในพรรษาเท่านั้น แม้หลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว ศิษย์ หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ก็บอกว่า หลวงพี่พาน ท่านลงน้อยเกินเนอะ ทำแค่ในพรรษาและทำแค่ 108 ดอก เอง อันตะกรุดท่านนั้น แม้ดอกเล็กๆ ก็มีประสบการณ์มาก ขนาดที่ มีผู้ถูกยิง ยิงเท่าไรก็ไม่ออก ปกติยิงเบิกทวาร ไม่มีเหลือครับโดนจับยิงกรอกปาก ปรากฏว่า กระสุนเข้าปาก ฟันหัก แต่กระสุนไปกลิ้งอยู่ในปาก อย่านี้ไงล่ะครับ หลวงพ่อยิดจึงยกย่องมากๆๆๆๆๆ สำหรับตะกรุดโทน มีตำรวจ ที่เมืองเพชร เอาไปใส่ในกระป๋องนม แล้วล้อมยิงสิบกว่กรบอก ยิงไม่ถูกเลย

เหรียญพุทธโคดม หลวงพ่อพาน วัดโป่งกระสัง


เหรียญพุทธโคดม หลวงพ่อพาน วัดโป่งกระสัง เหรียญทองแดง แต่มีผู้บูชานำมาชุบทองในภายหลัง เหรียญสภาพสวย ดูแล้วสวยไปอีกแบบหนึ่งครับ

ราคา  โทรสอบถาม  089-0897374

20/3/57

เหรียญหลวงพ่อพระมหาเจริญ ธรรมมะฉันโท


หลวงพ่อพระมหาเจริญ ธรรมมะฉันโท เป็นผู้สร้าง   พุทธสถานทางสงบใจ ตั้งอยู่บนเขาเจ้าแม่ บ้านท่าลาดกระดาน หมู่1 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 โดยหลวงพ่อพระมหาเจริญ ธรรมมะฉันโท (ท่านบวชที่วัดระฆัง กทม.)  ท่านได้ก่อสร้างพุทธสถานนี้เป็นสถานปฏิบัติธรรม เพื่อให้พุทธบรษัทได้มีสถานที่ในการบำเพ็ญบุญ 
หลวงพ่อพระมหาเจริญ ธรรมมะฉันโท เป็นที่นับถือของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก และพระเครื่องกับเครื่องรางของท่านเป็นที่ต้องการของคนในพื้นและสามารถ ป้องกันอันตรายทุกอย่าง เด่นๆก็มี ตะกุดไม้ไฝ่ เหรียญรุ่นแรก และสมเด็จเนื้อแร่ มีผู้เคยลองพระเครื่องของท่านด้วยปืนลูกซองแต่ปืนยิงไม่ออกแต่หันไปยิงขึ้นฟ้าถึงจะออก
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เหรียญหลวงปู่ฟัก อินทวิโส วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ฉลองอายุครบ 77 ปี สภาพสวย


                             ราคา  โทรสอบถาม  089-0897374

ยอดธงหลวงตานน วัดเขาพรานธูป หัวหิน จ.ประจวบ


 ราคา  โทรสอบถาม  089-0897374

ล็อกเก็ต พระครูสิริปริยัตยาภรย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ


 ล็อกเก็ตหลวงพ่อมหา พระครูสิริปริยัตยาภรย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ

ราคา  โทรสอบถาม  089-0897374

19/3/57

ประวัติหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี หรือ พระครูนันทศีลวัตร วัดหนองไม้เหลือง



หลวงพ่อเพลิน เกจิผู้เรืองเวทย์แห่งบ้านหนองไม้เหลือง หรือแต่เดิมเรียกว่าวัดไม้ไผ่เหลือง ตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี  จ.เพชรบุรี  ที่ตั้งวัด ตั้งอยู่ที่ เลขที่67/1 หมู่11 ต.ดอนยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 


หลวงพ่อเพลิน หรือ พระอุปัชฌาย์เพลิน ธมมิโก ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2441 ปีจอ โยมบิดาชื่อนายแก้ว พราหมณี และโยมมารดาชื่อนางจั่น พราหมณี สกุลพราหมณี น่าจะเป็นสายสกุลเก่าของพราหมณ์ ในเพชรบุรี ครอบครัวท่านเป็นชาวบ้านำร่มะชาง ต.หนองกระเจ็ด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  สมัยหนุ่มๆท่านรับราชการเป็นพลตำรวจ เมื่ออายุ 22 ปี ครบบวชท่านจึงอุปสมบทที่วัดตาลกง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2464 โดยมีพระครูญาณเพชรัตน์(ปลั่ง) วัดศาลาเขื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระฮธิการพุฒ (เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลือง องค์ที่4) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระฮธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ธัมมิโก" หลวงพ่อเพลินท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศิลปฏิบัติ มีศิลาจริยวัตรงดงาม มีความสามารถในการร่ำเรียนพระเวทมนต์วิทยาคม ได้รวดเร็วและเข้มขลัง จนมีศิษยานุศิษย์มาร่ำเรียนด้วยมากมาย เช่นหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อไสววัดปรีดาราม หลวงพ่อแลวัดพระทรง ปี พ.ศ.2495 ทางวัดได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตรพระอุโบสถ ในงานนี้ได้เงินบริจาคจำนวนมากถึงนับล้านบาท ซึ่งสมัยนั้นหายากที่จะมีวัดไหนดึงแรงศรัทธาคนมาทำบุญได้มากขนาดนั้นถ้าไม่เก่งจริง  และในวาระนี้ ทางกรรมการวัดจึงได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น แต่จริงๆแล้วท่านสร้างพระผงจำพวกเนื้อผงใบลานก่อนหน้านี้แล้ว  ที่มีชื่อก็พวกกริ่งคลองตะเคียนและสมเด็จ  เหรียญรุ่นนี้สร้างจำนวนน้อยและเป็นเหรียญหายากของเพชรบุรี(ของแท้ๆนะครับ) ของฝีมือเยอะมาก  หลวงพ่อเพลินท่านละสังขารเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2522 ศิริอายุรวม 82 ปี 60 พรรษา ในช่วงท้ายๆวาระท่าน ท่านมีสุขภาพแย่ลง แต่ลูกศิษย์ลูกหา มาหามากมายรวมถึงการปลุกเสกวัตถุมงคล 
ลูกศิษย์ใกล้ชิดก็บอกท่านให้งดรับกิจนิมนต์ บ้าง แต่ท่านไม่ยอมและพูดว่า"หลวงพ่อรักพวกเอ็งทุกคน เป็นห่วงพวกเอ็งจะได้รับอันตราย ข้าตายไม่ว่า แต่พวกเอ็งทุกคน ข้าเป็นห่วง ได้ของดีไปกันแล้ว ต้องรักษากันไว้ให้ดีๆ

ประวัติพระครูพิพิธพัชรศาสตร์ จ้วน จนทศิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาลูกช้าง



ประวัติพระครูพิพิธพัชรศาสตร์ (จ้วน จนทศิริ)ศิษย์เอกหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
นามเดิม นายจ้วน กล่อมใจ เกิดวันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2463 บิดาชื่อนายจุ้ย กล่อมใจ
มารดาชื่อนางเหลื่อน กล่อมใจ นามฉายา “ จนทสิริ” หมู่ 1 ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มรณภาพ วันอังคาร ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525 เวลา 60.20 น. ณ โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล

ปฐมวัยและการศึกษา
เป็นคนมีนิสัยร่าเริงแจ่มใส ชอบร้องเพลง มีความโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
พ.ศ. 2476 เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดท่าคอย พร้อมทั้งช่วยเหลือบิดา-มารดาประกอบอาชีพคือ ทำนา ทำไร่ ชอบสัตว์มากที่สุด คือ วัว มีวัวคู่ใจชื่อ จี่ เคยใช้ไม้ตีวัว ไม้หักกระเด็นเข้าตาซ้ายจึงทำให้ตาซ้ายพิการ

อุปสมบท
เมื่อถึงเกณฑ์อุปสมบท ก็เข้าอุปสมบทตามประเพณี ณ วัดท่าคอย ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม 2484 พระอธิการชัน วัดอรัญญาราม ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการผิว วัดตาลกง ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระอธิการรวม วัดท่าคอย ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอนุสาวจารย์










ลำดับการจำพรรษา
-เข้าอุปสมบทที่วัดท่าคอย และจำพรรษาอยู่ 3 พรรษา
-ได้จำพรรษาที่วัดโตนดหลวงกับหลวงพ่อสุข อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ 4 พรรษา เพื่อศึกษาวิชากรรมฐาน
-ได้ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำเขาปินะ คืนที่ 3 เสือมากวนตะกุยดิน ใส่กรด แล้วไปภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส
-จำพรรษาที่วัดเกาะหงษ์ อำเภอปากน้ำโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ 1 พรรษา เพื่อศึกษาวิชาต่อกระดูกกับหลวงพ่ออินทร์ พอออกพรรษาขึ้นเมืองเหนือ ไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
-กลับมาเยี่ยมอาจารย์ที่วัดท่าคอย แล้วไปเยี่ยมอาจารย์ที่วัดโตนดหลวง แล้วจำพรรษาที่วัดโตนดหลวง เรียนวิปัสสนาต่ออีก 1 พรรษา พอออกพรรษาตั้งใจจะธุดงค์ไปพม่า ผ่านทางวัดเขาลูกช้างและเขาตาหม้อ ไม่พบทางลงถ้ำจึงกลับมาพักที่เขาลูกช้าง ซึ่งมีศาลาอยู่ 1 หลัง พบตกกลางคืนได้พบนิมิตรดี และได้มีญาติโยมนิมนต์ไปอยู่ที่วัดเขาลูกช้าง
-อยู่ที่วัดเขาลูกช้างๆได้เจอกับดำใหญ่ จึงต้องไปเรียนวิชาต่อที่วัดเวียงทุนกับหลวงพ่อแก่น อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แล้วกลับมาเขาลูกช้าง
-ไปรักษาตัวอยู่ที่วัดถ้ำแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 1 พรรษา
-ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าคอยอีก 2 พรรษา

แรงบันดาลใจที่ทำให้ตัดสินใจสร้างวัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง
1.จากชาวบ้านที่นิมนต์ไปอยู่ที่นี่ ท่านจึงกลับไปวัดท่าคอยเพื่อปรึกษาครู-อาจารย์ และชาวบ้านในการตัดสินใจสร้างวัด ฝ่ายสงฆ์เห็นสมควรจึงจัดขบวนแห่งหลวงพ่อจ้วนมา ณ เขาลูกช้าง โดยจักรยาน
2.หลวงพ่อสุข วัดโตนดหลวง และหลวงพ่อรวม วัดท่าคอย ให้การสนับสนุน
3.เกิดธรรมปีติที่เขาลูกช้าง
4.ทำสมาธิโดยการนั่งกรรมฐาน เกิดนิมิตเห็นม้าสีหมอก มีเครื่องทรงเป็นทองคำ ถือว่าเป็นนิมิตดีที่จะสร้างวัดได้สำเร็จ
5.สถานที่ เหมาะที่จะศึกษาธรรมะ เพราะเป็นที่เงียบสงบ

วิทยฐานะ
พ.ศ. 2479 สำเร็จวิชาสามัญประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดท่าคอย
พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมโท

ตำแหน่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. 2494 เจ้าอาวาสวัดเขาลูกช้าง
พ.ศ. 2509 เจ้าคณะตำบลท่าคอย เขต 2
พ.ศ. 2522 เจ้าคณะอำเภอท่ายาง

ตำแหน่งตามสมศักดิ์
พ.ศ. 2503 พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี
พ.ศ. 2506 พระครูสัญญาบัตรชั้นโท
พ.ศ. 2512 พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
พ.ศ. 2517 พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ


การเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2495 เป็นครูสอนปริยัติธรรม เป็นเจ้าสำนักเรียน จัดตั้งศูนย์พุทธศาสนา วันอาทิตย์เพื่ออบรมเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในพุทธศาสนา
พ.ศ. 2500 ได้เทศน์อบรมประชาชน และนักเรียนประชาบาลในอำเภอท่ายางเป็นครั้งคราว
พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการอำนวยการสอบธรรมสนามหลวง สนามสอบอำเภอท่ายาง เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

การปกครอง
พ.ศ. 2505 ได้ช่วยเหลือราชการตำรวจ นำนายจันทร์ เพชรทิพย์ (เสือจันทร์) เข้ามอบตัว
พ.ศ. 2506 ได้ช่วยเหลือราชการตำรวจสันติบาล กอง 2 โดยให้ความร่วมมือป้องกันปราบปรามคอมมิวนิสต์

ด้านการศึกษา
-สร้างอาคารเรียนบ้านท่าลาว 1 หลัง แบบ ป. 1 ข. เป็นเงิน 14,000 บาท
-สร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง 1 หลัง แบบ ป. 1 ข. เป็นเงิน 220,000 บาท
-สร้างอาคารเรียนโรงเรียนหนองเขาอ่อน 1 หลัง เป็นเงิน 80,000 บาท
-สร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านหนองโรง 1 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท
-จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารเรียนโรงเรียนหนองเตียนเป็นเงิน 10,000 บาท
-ติดต่อขอที่ดินสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านหนองเตียนเป็นเงิน 12,000 บาท
-สร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้โรงเรียนบ้านเขากระปุก 1 หลัง เป็นเงิน 3,000 บาท
-จัดซื้อสมุด ดินสอ แจกแก่เด็กนักเรียนเป็นเงิน 2,500 บาท
-ให้ทุนแก่นักเรียนที่ยากจนทุนละ 1,200 บาท 2 ทุน 2,400 บาท
-มอบเงินเข้ามูลนิธิการศึกษาโรงเรียนท่ายางวิทยา 1,000 บาท
-มอบยารักษาโรคให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในกลุ่มหนองชุมแง 6,000 บาท
-มอบถังใส่น้ำให้แก่โรงเรียนวัดท่าลาว 1 ถัง เป็นเงิน 800 บาท
-มอบถังใส่น้ำให้โรงเรียนหนองยาฉาว 1 ถัง เป็นเงิน 800 บาท
-มอบถังใส่น้ำให้กับโรงเรียนหนองโรง 1 ถัง เป็นเงิน 800 บาท

ผลงานทางด้านการคมนาคม
1.ติดต่อรถแทรกเตอร์ จาก ก.ร.ป. มาช่วยทำทาง
2.สร้างสะพานห้วยทวยล่าง สะพานห้วยทวายบน (ทางไปบ้านโรง เขากระปุก)
3.สร้างทางไปบ้านโรง เขากระปุก ระยะทาง 16 กิโลเมตร
6.สร้างถนนสาย สาระเห็ด-ท่าไม้รวก ยาว 5 กิโลเมตร
7.สร้างถนนสาย สาระเห็ด-บ้านหนองเขาอ่อน ยาว 8 กิโลเมตร
ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อจ้วน” เข้าฝันให้ขุดเรือเก่าอายุกว่า ๓๐ปี
อดีตพระเกจิอาจารย์ดังเมืองเพชร หลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง เขาฝันชาวบุรีรัมย์ ให้ไปขุดเรือเก่า ริมแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งการขุดนั้นก็พบเรือตามที่เข้าฝัน ทั้งนี้ได้มีชาวบ้านและนักแสวงโชคเดินทางไปร่วมชมกันเป็นจำนวนมาก
เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น.วันที่๘ มีนาคม ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นเรือของพระครูพิพิธพัชรศาสน์ หรือหลวงพ่อจ้วน อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี และอดีตเจ้าคณะอำเภอท่ายาง ที่ได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๕โดยเรือที่ขุดพบนั้นอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะเป็นเรือสร้างด้วยไม้ตะเคียน มีความยาวประมาณ ๙ เมตร เป็นเรือประมงแบบ “เรืออีป๊าบ”ที่ชาวประมงใช้ออกทะเลทั่วไป ซึ่งฝั่งอยู่ในดินลึกประมาณเกือบ ๒เมตร
สำหรับการขุดพบเรือในครั้งนี้นางสำเภา ชอบสุข อายุ ๓๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๙ ม.๒ ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ผู้ว่าจ้างรถแบล็กโคเปิดเผยว่า หลวงพ่อจ้วนได้มาเข้าฝันพี่ชาย ซึ่งบวชอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้างว่า ให้ช่วยไปขุดเรือของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์พายไปจมอยู่ที่บริเวณใต้สะพานเขาลูกช้างมาเก็บไว้ที่วัดด้วย พระพี่ชายจึงนำความฝันมาเล่าให้ตนฟัง
นางสำเภา เล่าต่อว่าครั้งแรกมีความคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้แต่ต่อมาตนได้ฝันด้วยตนเองว่าหลวงให้ช่วยไปขุดนำเรือลำดังกล่าวขึ้นมาพร้อมกับนำความฝันไปตีเป็นเลขเด็ดและซื้อล็อตเตอรี่และถูกมาแล้วหลายครั้ง ด้วยความศรัทธาตนจึงได้เดินทางมาที่ จ.เพชรบุรี และไปแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ อบต.ท่าไม้รวก ขออนุญาตจัดจ้างรถแม็คโคร มาทำการขุดบริเวณดังกล่าวซึ่งใช้เวลาเกือบ ๒ วันจนพบเรือลำนี้
ด้านชาวบ้านที่มายืนมุงดูการขุดเรือต่างพากันไปเก็บดินที่ติดอยู่ในเรือไว้บูชา ตามความเชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคลซึ่งก็มีประชาชนต่างทยอยเดินทางกันมาอย่างต่อเนื่อง และนำดินที่ติดอยู่กับเรือไปเก็บไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลและนำพวงมาลัยดอกไม้ มาคล้องที่หัวเรือกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีประชาชนส่วนหนึ่ง ใช้มือลูบบริเวณลำเรือเพื่อหาเลขเด็ด ตามความเชื่อของนักแสวงโชคด้วย
จากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ทราบว่าเรือลำดังกล่าวจมหายลงไปในน้ำเมื่อประมาณ ๓๐ ปีก่อน ครั้งที่หลวงพ่อจ้วนใช้เป็นเรือขนไม้มาสร้างวัดในสมัยนั้น สำหรับประวัติหลวงพ่อจ้วนอุปสมบทตั้งแต่ปี ๒๔๘๔ ที่วัดท่าคอย อ.ท่ายางเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ต่อมาได้ออกธุดงค์มาพักอยู่ที่เขาลูกช้างและสร้างศาสนสถานของวัดขึ้นจนเป็นวัดที่สมบูรณ์
อาพาธ-มรณภาพ
พ.ศ. 2513-2514 ท่านท่านเริ่มมีอาการป่วย เช่น ไข้มาลาเรีย เป็นเบาหวาน รักษาด้วยการต้มยาสมุนไพร
พ.ศ. 2517 เริ่มป่วยเป็นโรคไต และหัวใจ วัณโรค เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพชรบุรี
พ.ศ. 2518-2521 หายจากวัณโรค เริ่มป่วยเป็นโรคไตอย่างรุนแรง พร้อมทั้งโรคหัวใจเรื่อยมา โดยมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก นำหนักตัวลดลง เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพชรบุรี จนอาการดีขึ้น
พ.ศ. 2522 หลังจากงานพระราชเพลิงศพพรครูทัศนียคุณ อดีตเจ้าคณะอำเภอท่ายางแล้ว ท่านมีอาการทรุดหนักลงอีก โดยมีอาการแทรกซ้อน โรคตับโต เส้นเลือดหัวใจตีบ โดยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปาโล ณ กรุงเทพ ฯ คุณวิรุณ เตชะไพบูลย์ ถวายค่ารักษาทั้งสิ้น
พ.ศ. 2523-2524 ท่านมีอาการดีขึ้น สามารถปฏิบัติภาระกิจได้ตามปกติ แต่ต้องเข้าตรวจร่างกายตามแพทย์นัดหมาย
พ.ศ. 2525
-ในช่วงต้นปี ท่านมีอาการปกติและอาพาธบ้าง สลับกันไป เนื่องจากมีงานพัฒนาและกิจนิมนต์มาก
-ราวกลางเดือนกรกฎาคม ท่านมีอาการดีขึ้นมาก จนดูเป็นปกติ ได้ไปประชุมพระสังฆาธิการ อบรมพระภิกษุ-สามเณร
-เดือนสิงหา ท่านมีอาการทรุดหนัก โรคไตและโรคหัวใจกำเริบ มีอาการท้องขึ้น หายใจไม่สะดวก มีอาการไข้หวัด
-วันที่ 4 กันยายน ท่านเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่งที่โรงพยาบาลเปาโล ได้รับการรักษามีอาการดีขึ้นเล็กน้อย
-วันที่ 6 กันยายน ตอนเช้า ฉันน้ำเต้าหู้เกิดสำลัก หายใจไม่ออก มีอาการช็อกจนต้องนำเข้าห้องฉุก-เฉิน และอยู่ในห้อแงฉุกเฉินเป็นเวลาได้ 8 วัน จึงมรณภาพเมื่อวันอังคาร ที่ 14 กันยายน 2525 เวลา 6.20 น. คณะแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคหัวใจวาย นำศพกลับวัดเขาลูกช้างถึงเวลา 12.50 น.

ประวัติพระครูพินิจสุตคุณ (ทองสุข อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง



ประวัติพระครูพินิจสุตคุณ (ทองสุข อินฺทโชโต)

พระครูพินิจสุตคุณ หนึ่งในพระเกจิอาจารย์จากเมืองเพชร มีนามเดิมว่า สุข นามสกุล ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2420 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ ปีฉลู บิดาชื่อนายจู มารดาชื่อนางทิม กำเนิด ณ บ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ แขวงเมืองเพชรบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 6 คน


เมื่ออายุ 9 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด โดยเป็นศิษย์เจ้าอาวาส หลวงพ่อก็เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และยังได้เรียนหนังสือขอมและบาลีอีกด้วย หลวงพ่อยังรักการต่อสู้ รักในวิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนต่อมาภายหลังได้มีลูกศิษย์ลูกหาในวิชาเหล่านี้หลายคน


ต่อมา เมื่ออายุ 15 ปี ย้ายไปอยู่ที่บ้านเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นระยะหลวงพ่อเป็นวัยรุ่น หนุ่มคนอง จึงชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละคร โขนหนัง จนขนาดเป็นครูสอนผู้อื่นได้ ครั้นเมื่อเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯ ก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนไปคบพวกนักเลงอันธพาล จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล และในที่สุดเป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ต้องคอยหลบนี้อาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบากยากแค้น ครั้นหนึ่งหลบหนี้เข้าไปในป่าจนไม่ได้กินอาหารเลย 3 วัน ตอนนี้เองได้สำนึกตัวได้ว่าตนได้ดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้ว ถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมารทั้งกายและใจ จึงตัดสินใจเล็ดลอดเข้าอุปสมบท ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 32 ปี


หลวงพ่อบวช ครั้งนั้น ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ณ.วัดปราโมทย์ ตำบลโรงหวี อำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีหลวงพ่อตาด วัดบางวังทองเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปัชฌาย์ได้จำพรรษาอยุ่ที่วัดปราโมทย์ 4 พรรษา แล้วไปอยู่วัดแก้ว 2 พรรษา จังหวัดราชบุรี และไปอยู่วัดใหม่ 1 พรรษา ต่อจากนั้นก็ออกธุดงค์ไปกับสามเณรจันทร์ (พระครูจันทร์ ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน) หลังจากธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้ว ในที่สุดก็มาถึงตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ ขณะนั้นพอดีวัดโตนดหลวงขาดสมภาร ชาวบ้านไปพบหลวงพ่อก็เกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์ไปอยู่วัดโตนดหลวง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2448 หลวงพ่ออายุได้ 38 ปี


หลวงพ่อได้บำเพ็ญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนาและบ้านเมืองมีมากมาย เช่น บูรณะวัดโตนดหลวงเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น ยังมีเมตตาจิตสร้างวัดช้างแทงกระจาด วัดท่าขาม และวัดเขาลูกช้าง ในด้านการศีกษาก็ได้ช่วยสร้างอาคารเรียนให้ 3 ครั้ง ในที่สุดก็ได้สมณศักดิ์เป็น พระครูพินิจสุตคุณ


คุณประสิทธ์ พ่วงพี ได้พบกับหลวงพ่อที่วัดเพรียง ซึ่งนิมนต์หลวงพ่อปลุกเสกวัตถุมงคลเพื่อหาเงินสร้างโรงเรียน เมื่อปี 2498 คุณประสิทธิไปหาหวงพ่อให้กระหม่อม พร้อมด้วยผู้สนใจอีกหลายคน เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกเสร็จแล้ว ได้พูดกับผุ้ที่ไปชุมนุมอยู่รอบ ๆตัวหลวงพ่อว่า “อย่าเชื่อฉันให้มากนักนะ ฉันมันบ้าๆ อยู่” หลวงพ่อพูดพร้อมกับหัวเราะหึ ๆ ทำให้ทุกคนทั้งขบขันและทั้งยิ่งศัรธาในความถ่อมตนของท่าน


หลวงพ่อเพียบพร้อมทั้งคุณธรรมและความรู้หลายอย่าง เช่นมีความรู้ในทางแพทย์แผนโบราณ และยังมีความขลังทางวิชาไสยาศาสตร์มาก จนมีผู้เลื่อมในนับถืออยู่ทั่วไป มีข้าราชากรชั้นผู้ใหญ่ของประเทศนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เท่าที่สืบได้ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เคยไปลงกระหม่อม พ.อ.พระยาศรีสรุสงคราม ได้ไปให้ลงกระหม่อม และนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกแหวนมงคล 9 และพระกริ่งยอดหมุด ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธร่วมกับอาจารย์คนสำคัญ ๆ รวม 18 องค์ เมื่อปี 2495 และทางกองทัพบกได้นิมนต์ไปประพรมพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ให้แก่ทหารในคราวสงครามอินโดจีน ครั้งสุดท้ายได้นิมนต์ไปปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ


ที่ขึ้นชื่อลือชา มีดังนี้


1. สักยันต์ที่เหนือราวนม ทำให้คงกระพันชาตรี อาวุธมีด ปืน ฟันแทง ยิงไม่ข้า


2. ลูกอม ปืนยิงไม่ออก คนทำร้ายไม่ถูก


3. เหรียญรูปหลวงพ่อ ใช้ทางคงกระพัน รวมทั้งครั่งด้านหลังสำหรับรักษาพวกสัตว์มีพิษ


4. แหวน ใช้ป้องกันอสรพิษและสัตว์ร้าย ต่างๆ


5. ตะกรุด ตะกรุดของหลวงพ่อมีหลายชนิดด้วยกัน คือชนิดเจ็ดดอก สามกษัตริย์ ใช้ทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ชนิดคลอดง่ายใช้ทางคลอดบุตร ชนิดสาริกา ใช้ทางเมตตามหานิยม



ภาคอภิณญาของหลวงพ่อ ครั้งหนึ่ง ณ วัดท่าขาม มีคนมาขอยาต้มจากหลวงพ่อ บังเอิญยาต้มขนานนั้นต้องลงพระเจ้า 5 พะองค์ในใบมะกาด้วย แต่ใบมะกามาก ท่านจึงให้พระเณร และศิษย์ช่วยกันลง คณะศิษย์และพระเณรก็ช่วยกันลงทีละใบ ท่านรำคาญจึ่งเอ่ยว่า “ลงอย่างนี้เมื่อไรจะหมด เรียงซ้อน ๆ มาข้าลงเอง ลูกศิษย์ก็ช่วยเรียงใบมะกาซ้อน ๆ กันประมาณ 10 -20 ใบ ท่านลงใบเดียว แต่ปรากฏว่าใบล่าง ๆ ทุกใบติด นะ โม พท ธา ยะ ทั้งหมด นับว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ลูกศิษย์ที่เคยเรียนวิชาจากท่าน หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกงมรณะภาพแล้ว


หลวงพ่อหวล ยติธัมโม วัดนิคมวชิราราม มรณะภาพแล้ว, หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก มรณะภาพแล้ว, หลวงพ่อจันทร์ ธัมมสโร วัดมฤคทายวัน มรณะภาพแล้ว , หลวงพ่อนิ่ม มังคโล วัดเขาน้อย มรณะภาพแล้ว , ที่ยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อแถม สิลสังวโร วัดช้างแทงกระจาด หลวงพ่อเฮง วัดห้วยทรายใต้ , พระอาจารย์จิ วัดหนองหว้า

ประว้ติพระครูภาวนาวัชโรภาส (หลวงพ่อแผ่ว)เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี


พระครูภาวนาวัชโรภาส (หลวงพ่อแผ่ว)เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2474 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เวลา 07.00 น. มรณภาพ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2538 รวมอายุได้ 64 ปี
ประวัติ
หลวงพ่อแผ่ว อุปสมบทที่วัดโตนดหลวง เมื่อปี พ.ศ.2494 โดยมีหลวงพ่อทองสุข เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2495 ได้เรียนสมถกับมัฏฐาน และได้รับการถ่ายทอดวิธีการปรุงยาแผนโบราณจากหลวงพ่อทองสุข เพื่อรักษาคนไข้ พ.ศ.2497 สอบได้นักธรรมตรี หลวงพ่อแผ่ว ได้ทำการทำนุบำรุงวัดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถหลังเก่า (มหาอุด) ท่านได้ริเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ เนื่องจากอุโบสถหลังเก่าคับแคบ ไม่สะดวกในการทำพิธีสังฆกรรม

หลวงพ่อแผ่ว ท่านเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ ของหลวงพ่อทองศุข ท่านเป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดต่อจากหลวงพ่อทองศุขครับ ท่านได้วิชามาเต็มๆ เพราะอยู่กับหลวงพ่อทองศุขมาตลอด เรื่องความเก่งนั้น ท่านเก่งมาก มากกว่าบางท่านที่บอกว่ามาเรียนวิชาและเป็นศิษย์ซะอีก ถามคนพื้นที่เขารู้ดี แต่ท่านดังเงียบๆ ในพื้นที่ ไม่มีโปรโมท สมัยหลวงพ่อทองศุขยังอยู่ ท่านไว้ใจให้ช่วยสร้างวัตถุมงคลตลอด กระทั่งยุคที่หลวงพ่อทองศุขสิ้นแล้ว หลวงพ่อแผ่วยังสร้างวัตถุมงคลในรูปหลวงพ่อทองศุข ต่อมาอีกหลายรุ่น ก็เป็นที่นิยม




เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างเป็นรูปหน้าท่าน สร้างเมื่อปี 2517 ไม่ทราบจำนวนการสร้าง แต่ท่านสร้างไม่มาก ประวัติเล่าว่า ท่านสร้างเสกแล้ว ได้นำเหรียญทั้งหมด ไปลอยหรือที่เรียกว่าพลีทะเล แล้วเรียกกลับ

ประวัติพระอธิการชิน (หลวงพ่อชิน) วัดท่าขาม อำเภอท่ายาง จ.เพชรบุรี


ประวัติหลวงพ่อละม้าย พระศีลวัตรวิมล อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวหิน

หลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล เจ้าอาวาสวัดหัวหิน 






ชีวประวัติหลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล
สถานะเดิม
หลวงพ่อกำเนิด ณ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ นามเดิมว่าละม้าย นามสกุล บุญเชื้อ โยมบิดาชื่อ แช่ม โยมมารดาชื่อ บัว พื้นเพเดิมของโยมบิดาเป็นชาวกรุงเทพฯ ส่วนโยมมารดาเป็นชาวเมืองอินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดารับราชการเป็นมหาดเล็กในวังกรมพระจักรพรรดิพงษ์ แต่ได้เกิดเบื่อหน่ายต่อการรับราชการ จึงย้ายครอบครัวไปอยู่ที่ตำบลปากน้ำปราณ ประกอบอาชีพทางการประมง
หลวงพ่อมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน คือ
1. นางเสงี่ยม
2. นายคำ
3. นางละมูล
4. พระศีลวัตรวิมล (ละม้าย อมรธมโม)
5. นางละมัย


การศึกษาและอุปสมบท

เมื่อเยาว์วัยหลวงพ่ออยู่กับโยมบิดามารดาที่ตำบลปากน้ำปราณ ได้ศึกษาเล่าเรียนตามความนิยมของคนไทยสมัยนั้น โดยการเรียนที่เรียกว่า "หนังสือวัด" จนอ่านออกเขียนได้ ครั้นเจริญวัยขึ้นจึงช่วยโยมบิดาประกอบอาชีพทำโป๊ะอยู่ 6 ปี แต่การทำโป๊ะไม่ได้ผล โยมบิดามารดาจึงเปลี่ยนอาชีพเป็นทำไร่และค้าขายหลวงพ่อได้ช่วยโยมบิดามารดาประกอบาอาชีพอยู่จน พ.ศ. 2457 อายุได้ 22 ปี โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาอยู่กับนายคำ บุญเชื้อ ซึ่งเป็นพี่ชายที่ตำบลหัวหินและได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหัวหิน ตำบลหัวหินในปีนั้นเอง พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามให้ว่า "อมรธมโม" พระครูวิริยาธิการี วัดหัวหิน เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเปี่ยม วัดนาห้วย อำเภอปราณบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อได้อยู่ที่วัดหัวหิน ศึกษาอักษรสมัยในสำหนักวัดหัวหินทั้งอักษรขอมและอักษรไทย จนแตกฉาน นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้ลงมือศุกษาพระธรรมวินัยวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับพระครูวิริยาธิการี ซึ่งเป็นพระอาจารย์เรืองวิทยาคุณ และโด่งดังในคุณวิเศษในสมัยนั้นโดย ตรงอีกด้วย
มีเรื่องเล่าว่า หลวงพ่อเคยติดจะลาสิกขาหลายครั้ง แต่อาจจะเป็นด้วยกุศลหนหลัง ที่หลวงพ่อจะต้องเป็นสมณเพศเพื่อการพระศาสนา แลเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย หลวงพ่อจึงได้ตัดสินใจอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์และถวายชีวิตแด่พระศาสนาจนตราบสิ้นอายุขัย
สานุศิษย์
หลวงพ่อเป็นพระเถระที่มีศิษยานุศิษย์มาก ซึ่งมีฐานะและประเภทต่างๆ กัน เช่น สิทธิวิหารริอันเตวาสิก นวกภิกษุผู้มาขอนิสัยรวมทั้งบรรดาฆาราวาสที่มีความเคารพและผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่ออีกเป็นจำนวนมาก ศิษย์ของหลวงพ่อได้เป็นผู้มีชื่อเสียงในวงราชการและธุรกิจหลายคน



ทำบุญอายุครบ 5 รอบ
ปฏิปทา-จริยาวัตร
หลวงพ่อเป็นพระเถระที่ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติโดยมัชฌิมาปฏิปทามีความสังวรอยู่เป็นนิจ วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเป็นตัวอย่างอันดีของสิทธิวิหารริกและอันเตวาสิกโดยทั่วไป ดังจะเห็นได้จาก คณะศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไป ดังจะเห็นได้จากคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันหล่อรูปขนาดเท่าองค์จริง ของหลวงพ่อ ในขณะที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่เพื่อกราบไหว้บูชา ซึ่งการสร้างรูปหล่อไว้ก่อนตายนี้ จะมีน้อยรายมาก ทั้งบุคคลธรรมดาและสมณะ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันสร้างอิทธิวัตถุต่าง ให้หลวงพ่อปลุกเสก เพื่อแจกจ่ายไว้เคารพสักการะบูชาและคุ้มครองป้องกันตัวด้วย

จริยาวัตรอันส่งเสริมกิตติคุณของหลวงพ่อนั้นประมวลได้ดังนี้

1. ความเป็นธรรม หลวงพ่อเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเกรงขาม แต่เปี่ยมด้วยเมตตาปกครองพระภิกษุและศิษย์อย่างเป็นธรรม ไม่เลือกว่าลูกใครหลานใคร ถ้าทำผิดต้องได้รับการตำหนิติเตียนหรือได้รับการลงโทษโดยเสมอหน้ากัน เป็นประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไปและศิษย์โดยทั่วหน้า ความเป็นธรรมของหลวงพ่อนี้เป็นเหตุให้เกิดตบะความเกรงในหลวงพ่อ อย่างประหลาด และได้กลายเป็นความนับถืออย่างลึกซึ้ง
2. สมถะและจาคะ หลวงพ่อเป็นพระสมถะไม่ชอบความโอ่อ่า แม้จะมีกุฏิใหญ่โตเป็นที่พำนักแต่หลวงพ่อก็อยู่อย่างสงบเงียบ ไม่ค่อยได้เปิดสถานทีโอ่โถงไว้คอยต้อนรับแขก แต่ตรงกันข้ามหลวงพ่ออยู่เสมอที่บริเวณด้านข้างของกุฏิ ซึ่งมีชานกว้างเพียงสองตารางวาเท่านั้น
หลวงพ่อชอบอยู่อย่างพระ ไม่ฟุ่มเฟือยของประดับที่มีผู้มาถวายก็ไม่เอาออกประดับหมอนอิงงาม ๆ ก็เอาผ้าอาบห่อไว้ ไตรจีวรมากมาย นอกจากนี้ยังมีตะลุ่ม เครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ อีกมาก ล้วนถูกเก็บซุกเอาไว้ วันดีคืนดีหลวงพ่อจะเอาออกมาทำบุญ ของดี ๆ ที่มีคนนำมาถวาย ผลไม้ทั้งแห้งและกระป๋อง บางทีหลวงพ่อจะเก็บไว้จนเสีย หรือไม่ก็แจกจ่ายไปที่อื่น พฤติการณ์นี้ว่าจะหลวงพ่อเป็นพระสะสมก็ไม่เชิง เพราะการแจกและการให้เป็นจาคะสมบัติของหลวงพ่อที่มีอยู่ประจำเสมอมา
3. การศึกษา ในด้านการศึกษานั้นหลวงพ่อให้ความสนใจเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากการตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาธรรม และปฏิบัติธรรมตามพุทธศาสนา อันจะเป็นการช่วยกล่อมเกลาเยาวชนเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป และการจัดตั้งมูลนิธิศีลวัตรวิมล เมื่อ พ.ศ. 2521 ก็มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อการส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เช่นกัน นอกจากนี้การศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุและสามเณร ก็ยังปรากฏว่าหลวงพ่อได้ให้ความสนใจและส่งเสริมเป็นอย่างมาก หลวงพ่อจะหมั่นออกตรวจตราและควบคุมดูแลการศึกษาของพระภิภิกษุและสามเณรด้วยตนเองเสมอ
4. บวชกุลบุตร หลวงพ่อเป็นพระเถระที่มีผู้เคารพเลื่อมใสมาก จะเห็นได้จากการมีผู้จองตัวหลวงพ่อ เป็นพระอุปัชฌาย์แแต่ละพรรษาไม่น้อยกว่า 100 คน ทั้งกุลบุตรในอำเภอหัวหินและกุลบุตรในท้องที่อื่น หลวงพ่อต้องรับภาระหน้าที่นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 จนมรณภาพเป็นเวลานานถึง 33 ปี
5. นักพัฒนา หลวงพ่อเป็นคนมีมานะพากเพียร เมื่อได้ตั้งใจทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ หลวงพ่อมีความรู้ทางด้านวิชาช่างยอดเยี่ยม ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อได้เคยศึกษาวิชาช่างมาจากที่ใด แต่ด้วยความสนใจประกอบกับการเป็นคนช่างคิด คิดอะไรไม่ได้เป็นไม่ยอมหยุดคิดจนออกจนเข้าใจ การก่อสร้างถาวรวัตถุทุกชนิด หลวงพ่อจะทำอย่างประณีตบรรจง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำหลวงพ่อจะเป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตกแต่งและควบคุมงานด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถที่จะให้คำแนะนำแก่เพื่อทำงานก่อสร้างให้แก่วัดอย่างได้ผลดี ฉะนั้นในสมัยของหลวงพ่อ จึงปรากฏว่าได้มีการบูรณะปฏิสังขรและก่อสร้างถาวรวัตถุอย่างมากมาย
อนึ่ง สมควรบันทึกไว้เป็นเกียรติประวัติของวัดหัวหินด้วยว่าการสร้างปูชณียวัตถุและถาวรวัตถุของหลวงพ่อนั้น หลวงพ่อได้สร้างขึ้นโดยไม่เคยออกเรี่ยไรนอกวัด เมื่อผู้ใดทราบว่าหลวงพ่อจะสร้างอะไร ก็จะมีคนมาร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ออกค่าปูน ค่าทราย ค่าหิน ค่ากระเบื้อง และจับจองเป็นเจ้าภาพสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ตลอดจนบริจาคเงินทองจนงานของหลวงพ่อสำเร็จลุล่วงไปทุกอย่าง
6. ความละเอียดรอบคอบ หลวงพ่อเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนมีความเป็นระเบียบเรียบเรียบร้อยตลอดเวลาไม่ว่างานก่อสร้าง การเก็บรักษาเครื่องไม่เครื่องมือหรือการเก็บเข้าของต่างๆหลวงพ่อจะเก็บไว้เป็นที่เป็นทาง แม้จะซุกซ่อนอยู่ที่ใดหลวงพ่อจะจดจำได้ทั้งหมด หากใครมาโยกย้ายไปไว้ที่อื่น หลวงพ่อจะรู้ทันที ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ลูกศิษย์ลูกหาระมัดระวังกันมาก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่สมควรจะได้นำมาบอกเล่ากันไว้ด้วยว่า การเก็บรักษาไตรจีวรและหนังสือทุกชนิดนั้น ไม่ว่าจะเก็บไว้ในตู้หรือซุกอยู่ที่ใดก็ตาม หลวงพ่อจะเอาเทียนทั้งเล่มสอดใส่ไว้ด้วยเสมอ เพราะการเอาเทียนสอดไว้จะทำให้แมลง มด และปลวกไม่กัดกินผ้าและหนังสืออย่างเด็ดขาด จึงสามารถเก็บรักษาผ้าไตรจีวรและหนังสือไว้ได้เป็นเวลานาน แม้แต่ชุดเครื่องแต่งตัวที่หลวงพ่อเตรียมไว้สวมใส่เวลาลาสิกขา ตามความตั้งใจในระยะที่บวชได้ไม่นานนั้น เมื่อหลวงพ่อมรณภาพแล้วได้มีการค้นพบกันขึ้น ปรากฏว่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกประการ
หน้าที่การงาน
หลวงพ่อได้รับภาระหน้าที่กิจการงานบริหารคณะสงฆ์และพระศาสนา สร้างสรรความเจริญแก่วงการคณะสงฆ์ ตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

พ.ศ. 2477 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวหิน
พ.ศ. 2479 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสหัวหิน
พ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2498 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหัวหิน
พ.ศ. 2520 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนอำเภอหัวหิน(อปอ.)
และประธานหน่วยอบรมประชาชนตำบลหัวหิน (อปต.)




หลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2463 เป็นพระปลัดฯ ฐานานุกรมในพระครูวิริยาธิการี
พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูศิลาสมานคุณ
พ.ศ. 2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระศีลวัตรวิมล

การก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัด
ถวารวัตถุต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระครูวิริยาธิการเป็นเจ้าอาวาสนั้นได้ชำรุดเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา เมื่อหลวงพ่อเข้ารับหน้าที่เจ้าอาวาสปกครองวัด สิ่งใดที่จำเป็นต้องรีบทำด้วนหลวงพ่อก็รีบดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซม สิ่งใดที่ไม่รีบร้อนก่อสร้างซ่อมแซมก็ทำภายหลัง ฉะนั้นในสมัยของ หลวงพ่อจึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย

ต่อไปนี้ เป็นรายการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหัวหินในสมัยของหลวงพ่อ

พ.ศ. 2477 สร้างกุฏิประดิษฐ์สถานรูปหล่อพระครูวิริยาธิการี 1 หลัง
พ.ศ. 2479-2495 บูรณะปรับปรุงสระ "อมรธมโม" 2 ครั้ง เพื่อให้สามารถจัดเก็บน้ำสำหรับพระภิกษุไว้ใช้ได้ตลอดปี
พ.ศ. 2492-2493 สร้างกำแพง ก่อด้วยหินถือปูนล้อมรอบเขตอุปาจารของวัดทั้ง 4 ด้าน
ด้านเหนือ ตามแนวเขตโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินยาว 180 เมตร
ด้านใต้ ตามแนวเขตถนนกำเนิดวิถี ยาว 180 เมตรมีซุ้มประตู 1 ซุ้ม
ด้านตะวันออก ตามแนวเขตถนนพูลสุขยาว 200 เมตร มีซุ้มประตู 2 ซุ้ม
ด้านตะวันตก ตามแนวเขตถนนเพชรเกษม ยาว 200 เมตร มีซุ้มประตู 2 ซุ้ม ต่อมาได้อุดซุ้มประตูทั้งสองซุ้มเสียเพราะหมดความจำเป็นต้องใช้ และได้สร้างซุ้มประตูขึ้นใหม่อีก 1 ซุ้ม ตรงกับซุ้มประตูข้างประตูขึ้นใหม่อีก 1ซุ้ม ตรงกับซุ้มประตูข้างอุโบสถด้านตะวันออก เพื่อตัดถนนให้เป็นเส้นทางตรงจากซุ้มประตูด้านตะวันออกสู่ซุ้มประตูด้านตะวันตก

พ.ศ. 2500 สร้างศาลาฌาปณกิจสถาน 1 หลัง และปรับปรุงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้ศาลาฌาปณกิจสถานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2510
พ.ศ. 2505 สร้างกุฏิ 1 หลัง บริเวณใกล้ตำนักแดงและสร้างหอระฆัง 1 หลัง (นายห้อย นางพร้อม ชยางกูล ถวาย)
พ.ศ. 2511 สร้างกุฏิประดิษฐานรูปหล่อพระปลัดอิว วราโภ 1 หลัง ติดกับกุฏิพระครูวิริยาธิการีด้านใต้ (ตระกูลแนวบรรทัด อุทิศให้พระปลัดอิว วราโภ)
พ.ศ. 2514 ปฏิสังขรณ์ อุโบสถทั้งหลังพร้องทั้งสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถ
พ.ศ. 2515-2518 เป็นการพัฒนาวัดครั้งสำคัญที่สุดของหลวงพ่อ โดยดำเนินการแยกเขตวัดออกเป็น เขตพุทธาวาส และสังฆาวาส มีกำแพงกั้นตลอดแนว จากกำแพงด้านตะวันออกจดกำแพงด้านตะวันตก บูรณะกุฏิอมรธมโมใหม่ รื้อกุฏิและเสนาสนะเก่า ที่มีมาแต่เดิมทั้งหมด และอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยคัดเลือกนำเอาไม้ในส่วนที่ยังอยู่ในสภาพดีพอใช้ได้ มาสร้างเป็นหมูกุฏิขึ้นใหม่ในเขตพุทธาวาสอีกหลายหลัง ส่วนตรงกลางเขตพุทธาวาสได้สร้างเป็นหอสวดมนต์ ขนาดใหญ่ และใช้เป็นหอฉันสำหรับพระภิกษุและสามเณร ด้วยการก่อสร้างทั้งหมดนี้เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 2,000,000.- บาท

อนึ่ง เนื่องจากการก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวนี้ ต้องใช้ทุกทรัพย์เป็นจำนวนมาก หลวงพ่อได้ตัดสินใจขายที่ดินส่วนตัวของหลวงพ่อ ซึ่งมีอยู่ 1 แปลงให้แก่เอกชนเป็นเงิน 200,000.- บาท เพื่อเป็นทุนเริ่มแรก สมทบกับทุกทรัพย์ที่วัดมีอยู่แล้ว 400,000.- บาท รวมเป็นเงิน 600,000.- บาท ส่วนทุกทรัพย์ที่ได้มานอกเหนือจากนี้ ล้วนได้รับบริจาคจากผู้เคารพเลื่อมใสและศรัทธาหลวงพ่อทั้งสิ้น

พ.ศ. 2520 สร้างกุฏิตึก 1 หลัง (นางแย้ม กระแสสินธุ์ อุทิศให้นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์)
พ.ศ. 2521 สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง

การปฏิสังขรณ์วัดในสมัยปัจจุบัน
พระครูขันธคีรีวินัยคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดหัวหินสืบต่อจากหลวงพ่อดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2523 สร้างท่อระบายน้ำ เป็นเงิน 120,000.- บาท
พ.ศ. 2524 สร้างสุสาน โดยรื้อสุสานเก่าซึ่งเป็นที่ต่ำน้ำท่วมถึงออกทั้งหมด ถมพื้นที่ให้สูงขึ้นแล้วสร้างสุสานขึ้นใหม่ เป็นเงิน 120,000.- บาท
พ.ศ. 2525-2526 บูรณะปฏิวสังขรณ์มณฑปใหม่ทั้งหมด เพื่อตั้งเมรุในงานพระราชทานเพลิงศพพระศีลวัตรวิมล ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนแปลงเป็นห้องสมุดของวัด งบประมาณดำเนินงานจนแล้วเสร็จ 1,000,000.- บาทเศษ


มรณภาพ



พิธีถวายน้ำสรงศพ และอาบน้ำศพ ณ กุฏิอมรธมโม
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2523
ตามปรกติหลวงพ่อเป็นพระเถระที่มีพรรษายุกาลเจริญ มีพลานามัยและสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ มีจิตใจดีและเข้มแข็ง ไม่ค่อยปรากฏมีอาการอาพาธถึงล้มหมอนนอนเสื่อแต่มาตอนหลังหลวงพ่อเข้าสู่วัยชราแล้วหลวงพ่อเริ่มอาพาธ และต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลทั้งที่กรุงเทพฯ และที่หัวหินบ่อยๆ ก่อนหน้าที่หลวงพ่อจะมรณภาพเล็กน้อย ตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หลวงพ่อได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชราอีก ศิษยานุศิษย์ได้นำหลวงพ่อไปรับการดูแลรักษา ที่โรงพยาบาลหัวหินระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล อาการของหลวงพ่อเพียงทรงอยู่และมีอาการอ่อนกำลังลงทุกขณะ จนมรณภาพโดยสงบ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2523 เวลา 10.00 น. เศษ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 อายุได้ 87 ปี 3 เดือน 24 วัน พรรษา 65 เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหัวหิน 46 ปี



ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ กุฏิอมรธมโม
เมื่อมรณภาพแล้วบรรดาศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพที่กุฏิอมรธมโม สวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลถวาย 100 วัน และพระราชทานเพลิงศพ ในวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2526

โดย จามเทวี