30/3/65
29/3/65
เหรียญอาร์มหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น 2 หน้า หลวงพ่อแดง หลวงพ่อเจริญ ออกที่วัดพลับพลาชัย พ.ศ.2514
เหรียญอาร์มหลวงพ่อแดง
วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น 2 หน้า หลวงพ่อแดง หลวงพ่อเจริญ ออกที่วัดพลับพลาชัย
จัดสร้างขึ้นใน
ปี พ.ศ.2514 สร้างโดย “หลวงพ่อเชื่อม วัดพลับพลาชัย” อ.เมือง จ.เพชรบุรี
ซึ่งเป็นพระหลานชายของ “หลวงพ่อแดง” ได้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญนี้ขึ้นมา
อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวโดย "หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ"
ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม
หูในตัว
ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแดงครึ่งองค์ ข้างล่างมีข้อความภาษาไทยว่า “พระครูญาณวิลาศ (แดง)” และมีอักขระยันต์
ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเจริญครึ่งองค์ ข้างล่างมีข้อความภาษาไทยว่า “พระครูปัญญาโชติวัฒน (เจริญ)” และมีอักขระยันต์
การจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ มีด้วยกัน 2 แบบ เหรียญรูปไข่ และ เหรียญอาร์ม
จำนวนการสร้าง
1.เนื้อทองคำ
( ตามสั่งจอง )
2.เนื้อเงิน
( ตามสั่งจอง )
3.เนื้อทองแดง
หลวงพ่อแดง
รัตโต ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 17 กันยายน ปี พ.ศ.2422 ท่านเกิดที่ ต.บางจาก
อ.เมือง จ.เพชรบุรี
เมื่ออายุ
22 ปี จึงได้อุปสมบทที่ วัดเขาบันไดอิฐ โดยมี พระอาจารย์เปลี่ยน เจ้าอาวาส
เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “รัตโต”หลวงพ่อแดงท่านได้
ศึกษาร่ำเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน และกฤตยาคมต่างๆ
จากพระอาจารย์เปลี่ยนจนแตกฉาน จากนั้นได้ขออนุญาตพระอาจารย์ไปฝากตัวเป็นศิษย์
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ เพิ่มเติม
หลวงพ่อแดงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายที่ “พระครูญาณวิลาศ” ท่านมรณภาพใน ปี พ.ศ. 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74โดยก่อนมรณภาพได้สั่งเสียกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้น ว่า“เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”สรีระของท่านจึงได้รับการบรรจุในโลง ณ หอสวดมนต์ วัดเขาบันไดอิฐ จนปัจจุบัน
พระครูปัญญาโชติวัฒน์
หรือ หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ นามเดิม เจริญ นามสกุล อ้นแสง
เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2427 ชาติภูมิเดิมอยู่ที่บ้านสามเรือน
ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ท่านเป็นบุตรคนที่ 6
ซึ่งเป็นน้องชายร่วมสายเลือดกับหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ (บุตรคนที่ 5 )
เมื่ออายุได้
22 ปีเศษ หลังพ้นจากรับราชการทหารแล้ว โดยเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ
พัทธสีมาวัดทองนพคุณ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2451 มีพระอาจารย์เปลี่ยน
วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูญาณวิสุทธิ (พ่วง) วัดแก่นเหล็ก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่ออ่ำ วัดทองนพคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาทางธรรมว่า “ธมฺมโชติ”
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้หมั่นศึกษาวิชานวกรรมต่าง ๆ การแพทย์แผนโบราณ
ตลอดจนพระธรรมวินัยก็ศึกษาและปฏิบัติอย่างมิได้ลดละ
จนเป็นผู้มีประสบการณ์มากเป็นที่รักใคร่และได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่ออ่ำ
เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณให้เป็นผู้ดูแลศาสนกิจภายในวัด จนถึง พ.ศ. 2466
จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณแทนพระอธิการอ่ำซึ่งมรณภาพลง
ต่อมาใหน พ.ศ. 2510 ด้วยปฏิปทาและศิลาจาวัตรอันงดงาม
จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูปัญญาโชติวัฒน์” จนถึง
พ.ศ. 2517 ท่านจึงได้มรณภาพลง สิริอายุได้ 90 ปี พรรษา 66
2/2/65
17/11/64
เหรียญรุ่น3 หลวงพ่อพาน หรือเหรียญกนกข้าง ปี2535 วัดโป่งกะสัง
เหรียญตะกรุดคู่มหาอำนาจ (บล็อกธรรมดา) หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง
โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ และได้มีการก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ และพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ แก่ชุมชน ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถที่ทรุดโทรม ซึ่งได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ พร้อมประทานพระอนุญาตให้เชิญอักษรพระนาม "สล." ประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถ ปัจจุบันมีพระครูวิริยาธิการี เป็นเจ้าอาวาส
สำหรับภาพพระองค์ครูฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพาน ตะกรุดไขว้ออกวัดหนองตาแต้ม" สร้างโดยพระครูวิริยาธิการี เจ้าอาวาสวัดหนองตาแต้ม องค์ปัจจุบัน เนื้อทองคำ ๔๔ เหรียญ เงิน ๙๙๙ เหรียญ และเนื้อทองแดง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ในวันสุริยคราสเต็มดวง โดยในวันเดียวกันนี้วัดต่างๆ มีการปลุกเสกพระมากเป็นประวัติการณ์ ด้านหลังเขียนไว้ว่า "ตะกุดคู่ มหาอำนาจ" หลังจากปลุกเสกวัตถุมงคลจนเสร็จพิธี หลวงพ่อพานเดินออกมาบอกเจ้าอาวาสวัดหนองตาแต้มว่า "คุณจำไว้นะพระรุ่นนี้จะไม่เหมือนใคร และจะไม่มีใครเหมือน"
คนไทยในสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเกิด "คราส" หรือ "สุริยคราส" (คราส แปลว่า กิน) ก็มีความเชื่อที่เกิดจากเทพองค์หนึ่งชื่อ "ราหู" เกิดความโกรธที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ฟ้องร้องพระอิศวรว่า พระราหูกระทำผิดกฎของสวรรค์ คือแอบไปดื่มน้ำอมฤตที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ พระอิศวรจึงลงโทษโดยตัดลำตัวราหูออกเป็น ๒ ท่อน พระราหูจึงแก้แค้นโดยการไล่ "อม" พระอาทิตย์และพระจันทร์ ดังนั้นเมื่อเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาครั้งใดผู้คนก็จะช่วยกันตีเกราะเคาะไม้ ตีปี๊บ หรือส่งเสียงดังๆ เพื่อขับไล่พระราหูให้ปล่อยดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสีย
"เหรียญหลวงพ่อพาน ตะกรุดไขว้ออกวัด หนองตาแต้ม" เป็นเหรียญที่ขึ้นชื่อว่ามากด้วยประสบการณ์ เป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง โดยเฉพาะเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน ไม่มีการซื้อขายในท้องตลาดเลย ส่วนเหรียญเนื้อทองแดงที่สร้างมากถึง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญนั้น ตอนที่ออกจากวัดราคาเพียง ๒๐ บาทเท่านั้น แต่ตอนนี้ขึ้นหลักพันแล้วครับ
16/11/64
เหรียญรุ่น 2 (อิลอย) พ.ศ.2498 หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี
รูปหล่อรุ่น๒ อุดครั่งฝังตะกรุดเงิน หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง
รูปหล่อ รุ่น ๒ อุดครั่งฝังตะกรุดเงิน หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง ขออนุญาตจัดสร้างโดย หลวงพ่อไพโรจน์
เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นสร้างโรงเรียน ปี ๒๕๒๐
เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นสร้างโรงเรียน ปี ๒๕๒๐ จัดสร้างและปลุกเสกเดียวโดยพระครูภวานาวัชโรภาส (หลวงพ่อแผ่ว ปัณฑิโต) หลวงพ่อแผ่ว เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ณ บ้านท่าไทร ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี อุปสมบทเมื่อพ.ศ.๒๔๙๔ ณ วัดโตนดหลวง โดยมีหลวงพ่อทองสุข อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแผ่วได้รับการยกย่องว่าเป็นพระผู้เสียสละไม่ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ และเปี่ยมไปด้วยความเมตตา สำเร็จฌาณชั้นสูง หลับตาภาวนาเสมือนอุปัชฌาอาจารย์ ทำให้วัตถุมงคลของท่านปรากฏประสบการณ์มาก สามารถใช้ทดแทนของผู้เป็นอาจารย์ได้ ท่านเป็นศิษย์สายตรงของหลวงทองศุข วัดโตนดหลวง
30/6/64
เหรียญเสมา “รุ่นแรก” หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก บล็อกมีกระเดือก เนื้อทองแดง
19/5/64
เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ด้านหน้าตอกโค๊ตแจกแม่ครัว ด้านหลังฝั่งปลาตะเพียน ประวัติเหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ปี 2537 (ออกวัดมฤคทายวัน ปี 2539)
ประวัติเหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ปี 2537 (ออกวัดมฤคทายวัน ปี 2539)
-ประมาณปี 2537 หลวงพ่อไพโรจน์ วัดห้วยมงคล ได้จัดทำเหรียญหลวงพ่อทองศุข (ย้อนยุค ปี2498) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระอุปัชฌาย์ของท่านคือ (หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง) วัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้บูรณะวัดและก่อสร้างเสนาสนะ ในวัดโตนดหลวง และวัดมฤคทายวัน เหรียญมีเนื้อทองคำ, เงิน, ทองแดง, กะไหล่เงิน, กะไหล่ทอง, ทองแดงผิวไฟ
-โดยด้านหน้า เหรียญเป็นรูปหลวงพ่อทองศุข (ตอกโค๊ดนะ ที่สังฆาฏิ)
-โดยด้านหลัง เหรียญเป็นรูปยันต์, หลังติดครั่ง และชันนะรง, ผงพระกรุเก่า, ผงแร่, ผงว่านต่างๆ
-เมื่อสร้างเสร็จ ได้นำไปให้พระเกจิอาจารย์ดังๆในขณะนั้น อฐิฐานจิตปลุกเสกมากมาย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเต็ม และได้นำถวายให้แก่วัดมฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
-รายนามพระเกจิอาจารย์ อธิฐานจิตปลุกเสก เช่น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ,หลวงพ่อพุต วัดกลางบางพระ ,หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ,หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า ,หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กับเจ้า ,หลวงพ่อพิม วัดวังตะโก ,หลวงพ่อรวย วัดวังตะโก ,หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ,หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก ,หลวงพ่อหวล วัดนิคม ,หลวงพ่อเฮง(ห่วย) วัดห้วยทรายใต้ ,หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง(วัดบ้านหม้อ) ,หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ,หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ,หลวงพ่อเบิ้ม วัดวังยาว ,หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ ,หลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว ,หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด ,หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ,หลวงพ่อพาน วัดโปร่งกะสัง ฯลฯ พระเกจิอาจารย์สายหลวงพ่อทองศุขวัดโตนดหลวง, สายเพชรบุรี
-ในปี พ.ศ.2539 เพื่อฉลองปีมหามงคล ในวโรกาสครบรอบ 50ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙ ทางวัดมฤคทายวัน โดยหลวงพ่อสุข เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันในสมัยนั้น หลวงพ่อแก้ว(มณี) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันองค์ปัจจุบัน (ในปี2539 ท่านยังดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาส) และคณะกรรมการวัดมฤคทายวัน ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ พระผงมฤคทายวัน และเหรียญหลวงพ่อทองศุข ปี2537 (หลวงพ่อไพโรจน์ สร้างถวาย) "ปลุกเสกภายในพระอุโบสถ วัดมฤคทายวัน"...ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2539... ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายเพชรบุรี
....................................
หมายเหตุ: เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดมฤคทายวัน ปี 2537 (ปลุกเสก2ปีเต็ม) แล้วจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ พระอุโบสถวัดมฤคทายวัน ปี 2539 แล้วจึงนำออกให้บูชา และแจกแก่ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
....................................
7/5/64
3/5/64
25/10/63
20/9/63
วัดธรรมิการามวรวิหาร
วัดธรรมิการามวรวิหาร
สถานะและที่ตั้งวัดธรรมิการามวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร เมื่อ พ.ศ.2503 ตั้งอยู่เลขที่ 86/2 ถนนประจวบฯ ต.ประจวบฯ อ.เมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขต ดังนี้
19/9/63
ประวัติโดยละเอียดอดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ และอดีตเจ้าคณะอำเภอปราณบุรี ขอบคุณข้อมูลจาก พระครูพิทักษ์ปราณเขต(หลวงพ่อลำยง)
อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ และอดีตเจ้าคณะอำเภอปราณบุรี
ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สถานะเดิม ชื่อ นายอรุณ นามสกุล ตั้งแสนวสุเวสน์ เกิดเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก บิดาชื่อ นายพลอย มารดาชื่อนางขวัญเรือน ตั้งแสนวสุเวสน์ เกิดที่บ้านปากคลองเกลียว ตำบลปากคลองเกลียว อำเภอเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
18/9/63
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2519 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2519 เนื้ออัลปาก้า
28/6/63
16/9/62
28/6/62
5/5/62
หลวงพ่อพาน สุขกาโม จอมขมังเวท ตะกรุดหนังเหนียว ตอนที่ 2
เร็วๆนี้ทางชมรมหลวงพ่อพาน วัดโป่งกระสัง จะดำเนินการจัดงานประกวดพระเครื่องที่วัดหนองตาแต้ม
9/4/62
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ปี2506 ห่วงเชื่อมเดิม สภาพสวยเดิมๆ
22/11/61
หลวงพ่อพาน สุขกาโม จอมขมังเวท ตะกรุดหนังเหนียว ตอนที่ 1
นายมั่น หนองไม้เหลือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านโป่งกะสังเล่าว่าเมื่อหลายปีมาแล้ว เด็กชาย พัน เนื้อสุวรรณ ตอนนั้นอายุประมาณ 6 ขวบ วิ่งเล่นอยู่หน้าบ้านที่หมู่บ้านโป่งกะสัง ขณะนั้นเห็นแม่อยู่ฝั่งตรงข้ามของถนน จึงวิ่งข้ามโดยไม่ได้มองดูรถ ปรากฏว่ารถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงพุ่งชน เด็กชาย พัน เนื้อสุวรรณ แล้วลากครูดติดหน้ารถไปประมาณ 20 วา รถจึงจอดสนิท ปรากฏว่า เด็กชาย พัน เนื้อสุวรรณ ได้ลุกขึ้นมาปัดฝุ่นตามเนื้อตามตัว โดยไม่ได้รับอันตรายแขนขาหักแต่อย่างใด ภายในตัวของเด็กชาย พัน เนื้อสุวรรณ มีเหรียญหลวงพ่อพาน รุ่น 1 แขวนอยู่ในสร้อยคล้องคอ
ที่มา: หนังสือฤทธิ์อำนาจ ฉบับที่ 31 ปีที่ 3 กรกฎาคม 2539
4/7/61
27/9/60
26/8/60
เหรียญหลวงพ่อพาน ปี 38 ความแตกต่างระหว่างบล็อกทองคำกับบล๊อกหลังทองคำ
สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆและน้องๆทุกท่านที่เขามาชมบล๊อกพระเครื่องหัวหินและเพชรบุรี วันนี้ก็ได้แรงบันดาลใจจากพี่คนหนึ่ง