17/11/64

เหรียญรุ่น3 หลวงพ่อพาน หรือเหรียญกนกข้าง ปี2535 วัดโป่งกะสัง


เหรียญกนกข้าง รุ่น 3 หลวงพ่อพาน วัดโป่งกระสัง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 6 พันเหรียญ ซึ่งถือเป็นเหรียญที่หลวงพ่อพานท่านได้ทำการออกแบบด้วยตนเอง รูปทรงของเหรียญมีความสวยงามคมชัด ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อพานนั่งเต็มองค์ อายุ 82 ปี ในอิริยาบถนั่งสมาธิ ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ พร้อมชื่อวัดและปีที่สร้าง พ.ศ.2535 เหรียญรุ่นนี้ เป็นอีกรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อพานที่ได้รับความนิยมในการบูชามาก เพราะด้วยพุทธคุณที่มีความโดดเด่นด้านคงกระพัน และป้องกันภัยเป็นเลิศ สานุศิษย์ต่างอาราธนาขึ้นคอเพราะเชื่อในบารมีของหลวงพ่อพานและอานุภาพที่จะทำให้เกิดประสบการณ์

เหรียญตะกรุดคู่มหาอำนาจ (บล็อกธรรมดา) หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง



#เหรียญหลวงพ่อพานตะกรุดไขว้ วัดหนองตาแต้ม ปลุกเสกในฤกษ์ 'สุริยคราสเต็มดวง' วัดหนองตาแต้ม หมู่ ๑ ต.หนองตาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในพื้นที่ของผู้มีจิตศรัทธาถวายให้ก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ เพื่อบรรเทาความยากลำบากในการเดินทางไปบำเพ็ญกุศลยังวัดใกล้เคียงของหมู่บ้านที่อยู่ห่างกว่า ๑๐ กิโลเมตร และเส้นทางคมนาคมยากลำบาก โดยมีพระเฉลิม ปิยวาที เป็นผู้ปกครองสำนักสงฆ์ ต่อมาที่พักสงฆ์ได้ถูกปล่อยร้างและทรุดโทรม ชาวบ้านจึงนิมนต์พระจากวัดนาห้วยมาจำพรรษา และเป็นผู้ปกครองสำนักสงฆ์ แล้วมีการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย และอุโบสถขึ้น และยกฐานะเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ โดยใช้ชื่อว่า "วัดเฉลิมประดิษฐาราม" แต่ไม่มีผู้นิยมเรียกและไม่เป็นที่รู้จัก จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดหนองตาแต้ม" เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านเช่นเดิม
โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ และได้มีการก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ และพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ แก่ชุมชน ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถที่ทรุดโทรม ซึ่งได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ พร้อมประทานพระอนุญาตให้เชิญอักษรพระนาม "สล." ประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถ ปัจจุบันมีพระครูวิริยาธิการี เป็นเจ้าอาวาส
สำหรับภาพพระองค์ครูฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพาน ตะกรุดไขว้ออกวัดหนองตาแต้ม" สร้างโดยพระครูวิริยาธิการี เจ้าอาวาสวัดหนองตาแต้ม องค์ปัจจุบัน เนื้อทองคำ ๔๔ เหรียญ เงิน ๙๙๙ เหรียญ และเนื้อทองแดง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ในวันสุริยคราสเต็มดวง โดยในวันเดียวกันนี้วัดต่างๆ มีการปลุกเสกพระมากเป็นประวัติการณ์ ด้านหลังเขียนไว้ว่า "ตะกุดคู่ มหาอำนาจ" หลังจากปลุกเสกวัตถุมงคลจนเสร็จพิธี หลวงพ่อพานเดินออกมาบอกเจ้าอาวาสวัดหนองตาแต้มว่า "คุณจำไว้นะพระรุ่นนี้จะไม่เหมือนใคร และจะไม่มีใครเหมือน"
คนไทยในสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเกิด "คราส" หรือ "สุริยคราส" (คราส แปลว่า กิน) ก็มีความเชื่อที่เกิดจากเทพองค์หนึ่งชื่อ "ราหู" เกิดความโกรธที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ฟ้องร้องพระอิศวรว่า พระราหูกระทำผิดกฎของสวรรค์ คือแอบไปดื่มน้ำอมฤตที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ พระอิศวรจึงลงโทษโดยตัดลำตัวราหูออกเป็น ๒ ท่อน พระราหูจึงแก้แค้นโดยการไล่ "อม" พระอาทิตย์และพระจันทร์ ดังนั้นเมื่อเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาครั้งใดผู้คนก็จะช่วยกันตีเกราะเคาะไม้ ตีปี๊บ หรือส่งเสียงดังๆ เพื่อขับไล่พระราหูให้ปล่อยดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสีย
"เหรียญหลวงพ่อพาน ตะกรุดไขว้ออกวัด หนองตาแต้ม" เป็นเหรียญที่ขึ้นชื่อว่ามากด้วยประสบการณ์ เป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง โดยเฉพาะเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน ไม่มีการซื้อขายในท้องตลาดเลย ส่วนเหรียญเนื้อทองแดงที่สร้างมากถึง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญนั้น ตอนที่ออกจากวัดราคาเพียง ๒๐ บาทเท่านั้น แต่ตอนนี้ขึ้นหลักพันแล้วครับ
เครดิต:คมชัดลึก

16/11/64

เหรียญรุ่น 2 (อิลอย) พ.ศ.2498 หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี

 


เหรียญหลวงพ่อทองสุข อินทโชโต รุ่น 2 พ.ศ.2498 วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี

“พระครูพินิจสุตคุณ” หรือ “หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต” วัดโตนดหลวง ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มิใช่เฉพาะคนเมืองเพชร ตลอดถึงชาวจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่มากด้วยพุทธคุณและประสบการณ์ กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง รุ่น 2 ถือได้ว่าเป็นเหรียญที่มีความยอดนิยมอย่างสูงในวงการพระเครื่อง
เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 เพื่อแจกในงานฉลองกุฏิ จัดสร้างด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน และทองแดง จำนวนสร้างไม่มีการบันทึกไว้แต่อย่างใด เหตุที่เหรียญรุ่น 2 ได้รับความนิยมมากกว่าเหรียญรุ่นแรก เนื่องมาจากเหรียญรุ่น 2 มีใบหน้าคล้ายมากกว่าเหรียญรุ่นแรก ซึ่งแม้แต่หลวงพ่อทองสุขก็ชอบเหรียญรุ่น 2 มาก ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งตัว ด้านบนเขียนคำว่า “พระครูทองศุข อินทโชโต” ด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์ประจำตัว ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานฉลองกุฏิ” ด้านล่างสุดเขียนคำว่า “วัดโตนดหลวง ๒๔๙๘” เหรียญทั้งหมดนี้ได้ปั๊มเนื้อทองแดงก่อน หลังจากได้ปั๊มเหรียญเป็นจำนวนมาก แม่พิมพ์เคลื่อน ทำให้ด้านหน้าตรงอักษร “อินทโชโต” สระอิมีเนื้อเกินขึ้นมาชิดติดขอบเหรียญ หลังจากปั๊มเนื้อทองแดงครบตามจำนวน จึงปั๊มเนื้อเงินกับเนื้อทองคำ ทำให้ทั้ง 2 เนื้อ สระอิมีเนื้อเกินทั้งหมด ปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอิลอย และพิมพ์สระอิติดขอบ

รูปหล่อรุ่น๒ อุดครั่งฝังตะกรุดเงิน หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง

รูปหล่อ รุ่น ๒ อุดครั่งฝังตะกรุดเงิน หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง ขออนุญาตจัดสร้างโดย หลวงพ่อไพโรจน์ 

เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นสร้างโรงเรียน ปี ๒๕๒๐



เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นสร้างโรงเรียน ปี ๒๕๒๐ จัดสร้างและปลุกเสกเดียวโดยพระครูภวานาวัชโรภาส (หลวงพ่อแผ่ว ปัณฑิโต) หลวงพ่อแผ่ว เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ณ บ้านท่าไทร ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี อุปสมบทเมื่อพ.ศ.๒๔๙๔ ณ วัดโตนดหลวง โดยมีหลวงพ่อทองสุข อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแผ่วได้รับการยกย่องว่าเป็นพระผู้เสียสละไม่ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ และเปี่ยมไปด้วยความเมตตา สำเร็จฌาณชั้นสูง หลับตาภาวนาเสมือนอุปัชฌาอาจารย์ ทำให้วัตถุมงคลของท่านปรากฏประสบการณ์มาก สามารถใช้ทดแทนของผู้เป็นอาจารย์ได้ ท่านเป็นศิษย์สายตรงของหลวงทองศุข วัดโตนดหลวง

30/6/64

เหรียญเสมา “รุ่นแรก” หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก บล็อกมีกระเดือก เนื้อทองแดง


เหรียญเสมา “รุ่นแรก” หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
บล็อกมีกระเดือก เนื้อทองแดง
จัดสร้างเนื่องในโอกาสงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อพ.ศ. 2530 โดย คุณลาวัณย์ ใบหยก และกลุ่มลูกศิษย์สายกรุงเทพฯ ซึ่งมีความเคารพและมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ได้เรียนขออนุญาตต่อหลวงพ่อเพื่อจัดสร้างเหรียญรุ่นแรก สำหรับแจกในงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถ จำนวนประมาณ 10,000 เหรียญ เมื่อได้ปั๊มเหรียญทองแดง จำนวนประมาณ 3,000 เหรียญ (เหรียญเงินอีกประมาณ 50 เหรียญ) ปรากฏว่าแม่พิมพ์ด้านหน้าชำรุดเสียหาย จึงได้นำมาเรียนให้หลวงพ่อรับทราบ ท่านจึงได้แนะนำให้ไปแกะแม่พิมพ์ด้านหน้าขึ้นมาใหม่ ส่วนด้านหลังเป็นแม่พิมพ์ตัวเดิม จนสามารถปั๊มเหรียญขึ้นมาได้อีกจำนวน 7,000 เหรียญ บล็อกแม่พิมพ์ก็ชำรุด (จากคำบอกเล่าของอดีตกรรมการวัดท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เมื่อปั๊มบล็อกมีกระเดือกไปได้ไม่เกิน 7,000 เหรียญ บล็อกก็แตก จึงได้เดินทางไปบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อกล่าวว่า “ก็สมควรตามกำหนดแล้วโยม” เมื่อกรรมการท่านนั้นได้ฟังก็แปลกใจ ซึ่งเหมือนหลวงพ่อได้ทราบมาก่อนแล้ว) ตามที่ได้เรียนขออนุญาตไว้ในเบื้องต้น และตอกโค้ดที่สังฆาฏิทุกเหรียญ ซึ่งมีตัวตัดพิมพ์เพียงตัวเดียวเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อยิด จัดสร้างประมาณดังนี้
เนื้อเงิน สร้างจำนวนประมาณ 50 เหรียญ
เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 10,000 เหรียญ แบ่งเป็น
- บล็อกไม่มีกระเดือก สร้างจำนวน 3,000 เหรียญ
- บล็อกมีกระเดือก สร้างจำนวน 7,000 เหรียญ
สำหรับเหรียญเนื้อโลหะอื่นๆ ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจัดสร้าง ในความเป็นจริงแล้วเหรียญรุ่นนี้ ได้จัดสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2529 โดยหลวงพ่อยิดท่านได้ปลุกเสกให้นานถึง 1 ไตรมาส แล้วจึงได้นำออกมาแจกจ่ายใน พ.ศ. 2530
***หมายเหตุ สำหรับเหรียญกะไหล่ทองที่ตอกโค้ดใต้อาสนะเหนือชื่อหลวงพ่อ เป็นการขออนุญาตนำเหรียญที่เหลือจากการแจกของหลวงพ่อจำนวนหนึ่งมาทำชุบทองในภายหลัง โดยกลุ่มศิษย์เพื่อไว้แจกจ่ายให้แก่กรรมการงานทอดผ้าป่าประมาณพ.ศ. 2531 - 2532 ซึ่งมีจำนวน 39 เหรียญ จากข้อมูลที่ได้รับการบอกเล่าจากกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรู้เห็นการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรก จำนวน 3 ท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นโยมอุปถัมภ์อาวุโสที่ได้สร้างคุณูปการต่อวัดและใกล้ชิดกับหลวงพ่อยิดมาตั้งแต่ยังเป็นสำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์ (เมื่อพ.ศ. 2520 กว่าๆ) ปัจจุบันท่านผู้อาวุโสทั้งหมดยังมีชีวิตอยู่ บางท่านอยู่ในพื้นที่กุยบุรี และบางท่านอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่ประสงค์ที่จะให้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ และต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อาวุโสตลอดจนศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อยิด บางท่านที่ได้ให้ข้อมูลอันสอดคล้องและชัดเจน เพื่อเปิดเผยสู่ผู้มีจิตศรัทธาต่อหลวงพ่อยิดได้ใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการเก็บสะสมพระหลวงพ่อยิดต่อไปอย่างถูกต้อง ประสบการณ์มากมายเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนโดยเฉพาะในพื้นที่สำหรับเหรียญรุ่นแรก นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้สร้างชื่อให้แก่ “หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก” เพราะเหรียญรุ่นนี้ได้สร้างปาฏิหาริย์ แคล้วคลาด โชคลาภ และประสบการณ์ต่างๆ อันเหลือเชื่อมากมายแก่ผู้ที่นำไปใช้บูชาจนเป็นที่กล่าวขานและมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่ในปีนั้น จนถึงปัจจุบันนี้ ทุกวันนี้มีผู้คนมากมายเริ่มเข้ามาสะสมเก็บพระเครื่องของ “หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก” กันมากขึ้น ดังนั้นลูกศิษย์ลูกหาของท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีความบริสุทธิ์ใจในหลวงพ่อยิด ก็ควรที่จะช่วยกันสนับสนุนให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการเก็บสะสมวัตถุมงคลต่างๆ ของหลวงพ่อยิด แก่คนรุ่นหลังๆ ที่กำลังจะก้าวเข้ามาสืบทอด การเผยแพร่บารมี คุณงามความดีที่หลวงพ่อท่านได้สร้างไว้ ให้สืบต่อไปตราบนานเท่านาน

19/5/64

เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ด้านหน้าตอกโค๊ตแจกแม่ครัว ด้านหลังฝั่งปลาตะเพียน ประวัติเหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ปี 2537 (ออกวัดมฤคทายวัน ปี 2539)


เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ด้านหน้าตอกโค๊ตแจกแม่ครัว ด้านหลังฝั่งปลาตะเพียน  

ประวัติเหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ปี 2537 (ออกวัดมฤคทายวัน ปี 2539)

-ประมาณปี 2537 หลวงพ่อไพโรจน์ วัดห้วยมงคล ได้จัดทำเหรียญหลวงพ่อทองศุข (ย้อนยุค ปี2498) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระอุปัชฌาย์ของท่านคือ (หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง) วัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้บูรณะวัดและก่อสร้างเสนาสนะ ในวัดโตนดหลวง และวัดมฤคทายวัน เหรียญมีเนื้อทองคำ, เงิน, ทองแดง, กะไหล่เงิน, กะไหล่ทอง, ทองแดงผิวไฟ

-โดยด้านหน้า เหรียญเป็นรูปหลวงพ่อทองศุข (ตอกโค๊ดนะ ที่สังฆาฏิ)

-โดยด้านหลัง เหรียญเป็นรูปยันต์, หลังติดครั่ง และชันนะรง, ผงพระกรุเก่า, ผงแร่, ผงว่านต่างๆ

-เมื่อสร้างเสร็จ ได้นำไปให้พระเกจิอาจารย์ดังๆในขณะนั้น อฐิฐานจิตปลุกเสกมากมาย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเต็ม และได้นำถวายให้แก่วัดมฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

-รายนามพระเกจิอาจารย์ อธิฐานจิตปลุกเสก เช่น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ,หลวงพ่อพุต วัดกลางบางพระ ,หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ,หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า ,หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กับเจ้า ,หลวงพ่อพิม วัดวังตะโก ,หลวงพ่อรวย วัดวังตะโก ,หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ,หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก ,หลวงพ่อหวล วัดนิคม ,หลวงพ่อเฮง(ห่วย) วัดห้วยทรายใต้ ,หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง(วัดบ้านหม้อ) ,หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ,หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ,หลวงพ่อเบิ้ม วัดวังยาว ,หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ ,หลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว ,หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด ,หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ,หลวงพ่อพาน วัดโปร่งกะสัง ฯลฯ พระเกจิอาจารย์สายหลวงพ่อทองศุขวัดโตนดหลวง, สายเพชรบุรี

-ในปี พ.ศ.2539 เพื่อฉลองปีมหามงคล ในวโรกาสครบรอบ 50ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙ ทางวัดมฤคทายวัน โดยหลวงพ่อสุข เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันในสมัยนั้น  หลวงพ่อแก้ว(มณี) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันองค์ปัจจุบัน (ในปี2539 ท่านยังดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาส) และคณะกรรมการวัดมฤคทายวัน ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ พระผงมฤคทายวัน และเหรียญหลวงพ่อทองศุข ปี2537 (หลวงพ่อไพโรจน์ สร้างถวาย) "ปลุกเสกภายในพระอุโบสถ วัดมฤคทายวัน"...ในวันที่ 23 มีนาคม  พ.ศ. 2539... ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายเพชรบุรี

....................................

หมายเหตุ: เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดมฤคทายวัน ปี 2537 (ปลุกเสก2ปีเต็ม) แล้วจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ พระอุโบสถวัดมฤคทายวัน ปี 2539 แล้วจึงนำออกให้บูชา และแจกแก่ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป

....................................


ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน พระครูนิยุตธรรมสุนทร วัดหนองจอก


 

เหรียญหลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด รุ่นแรก บล็อคหน้าเอียง หันข้าง หูเดียว นิยม เนื้อทองแดง


 

เหรียญรุ่นแรกหน้าเอียง หันข้าง หูเดียว นิยม หลวงพ่อแถม สีลสังวโร วัดช้างแทงกระจาด #หลวงพ่อแถม


 

3/5/64

ภาพถ่ายในอดีตของพระครูธรรมโสภิต อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ หลวงพ่ออรุณ อรุณธมฺโม


 

รูปถ่ายหลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกระสัง


 

มาดูกันว่าเหรียญตะกุดคู่ มหาอำนาจ หลวงพ่อพาน เนื้อเงินกับเนื้อทองแดงบล็อกทองคำ ตัวตัดเดียวกันหรือไม่


 

เหรียญตะกรุดคู่มหาอำนาจ ปี 38 เนื้อเงิน หลวงพ่อพาน สุขกาโม


 

หลวงพ่อพาน สุขกาโม เหรียญตะกรุดคู่มหาอำนาจ ปี 38 เนื้อทองแดงทั้งหกบล็อก


 

เหรียญพระพุทธโคดม แบบเหรียญเสมา หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง


 

ศึกษาเพื่อเรียนรู้พระนาคปรกใบมะขามรุ่นแรกหลวงพ่อพาน


 

ประวัติหลวงพ่ออรุณ วัดปากคลองปราณ #ประวัติหลวงพ่อและพระเกจิจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


 

ประวัติหลวงพ่อหว่าง วัดปากคลองปราณ ตอนที่ 1 I ประวัติพระเกจิอาจารย์




 

ประวัติหลวงพ่อหว่าง วัดปากคลองปราณ ตอนที 2 I ประวัติพระเกจิอาจารย์


 

ประวัติ พระครูศีลวิมล หลวงพ่อท้วม ธมมสโร วัดเขาโบสถ์ I ประวัติพระเกจิอาจารย์


 

ประวัติหลวงพ่อชิต พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า อำเภอหัวหิน I ประวัติพระเกจิอาจารย์


 

ประวัติหลวงพ่อละม้าย พระศิลวัตรวิมล อมรธมฺโม วัดหัวหิน I ประวัติพระเกจิอาจารย์

 


ประวัติพระครูวิริยาธิการี หลวงพ่อนาค วัดหัวหิน I ประวัติพระเกจิอาจารย์


 

หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก I ประวัติพระเกจิอาจารย์