25/3/53

ประวัติหลวงพ่อหว่าง อุตตฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ


หลวงพ่อหว่าง อุตตฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ
หลวงพ่อหว่าง อุตตะโม เกิดปี พ.ศ.2395 ที่หมู่บ้านหนองไม้แดง ต.หนองข้าวเหนียว อ. กุยบรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ บิดาชื่อ นายยิ้ม มารดาชื่อนางแดง นามสกุลเครือมาก มีพี่น้องท้องเดียวกัน 3 คน เป็นชาย 1 หญิง 2 คือ
1. นางดำ เครือมาก
2. หลวงพ่อหว่างอุตะโม
3. นางสุก เครือมาก
เนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนเดียว บิดามารดามีฐานะดีในสมัยนั้นท่านจึงได้รับการตามใจมาก นิสัยของท่านจึงติดไปทางนักเลงไม่กลัวใคร พอเย็นใกล้ค่ำท่านจะสะพายดาบพร้อมปืนคาบศิลาออกเที่ยวกลับจนสว่าง ท่านปฏิบัติตนเช่นนี้ หนังสือก็ไม่ได้เรียน ท่านจึงไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือๆได้ แต่ท่านมีความสามารถพิเศษ คือ การเขียนตัวหนังตลุงที่สวยงามมาก จนท่านอายุได้ 35 ปี จึงคิดเข้าอุปสมบทในปี พ.ศ.2430 ที่วัดนาห้วย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพระอธิการจู เจ้าอาวาสวัดนาห้วย เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่ำ วัดนาห้วยเป็นคู่กรรมวาจา ท่านเป็นคนฉลาดจำแม่นทั้งที่อ่านหนังสือไม่ออก ท่านก็พยายามท่องจำตามคำบอกเล่าของพระจนสามารถท่องจำการขานนาคและบวชได้ในพรรษานั้นเมื่อบวชเป็นพระแล้วเริ่มศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนหนังสือไทยขอม (หนังสือใหญ่) สวดมนต์ต่างๆได้อย่างคล่องแคล่วและแตกฉาน
หลวงพ่อหว่างท่านได้ย้ายออกจากวัดนาห้วยมาอยู่วัดบ้านคอยเดิม ต.ปากน้ำปราณและต่อมาได้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ที่วัดปากน้ำปราณ แต่ชาวบ้านเรียกว่าวัดปากคลองปราณ มีชาวลบ้านถิ่นนั้นได้ยกที่ดินให้ท่านสรน้างวัดขึ้น โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านได้สร้าง
สร้างวัดปากคลองปราณ
ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ หอฉัน หอสวดมนต์
สร้างหอระฆัง
สร้างอุโบสถ (ไม่ใช่หลังปัจจุบัน)
สร้างรูปหล่อตัวท่าน และอาจารย์ของท่านไว้ให้ศิษย์บูชา
ปัจจุบันถาวรวัตถุดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมตามสภาพของกาลเวลาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นของที่บูรณะซ่อมแซมจากเจ้าอาวาสองค์ตอมาทั้งสิ้น ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านนับเป็นยอดหนึ่งในสามยอดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะมีหลวงพ่อนาค วัดหัวหิน หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก และหลวงพ่อหว่าง วัดปากคลองปราณซึ่งทั้ง 3 องค์เป็นศิษย์สำนักวัดนาห้วย อำเภอปราณบุรี ทั้งสิ้น ในสมัยนั้นนับเป็นตักศิลาของผู้ชอบพุทธาคมและไสยศาสตร์มาก เกจิอาจารย์ทั้งหลายองค์ที่สำเร็จพุทธาคมไสยศาสตร์และวิปัสสนาธุระ จากวัดนาห้วย เป็นวัดที่โด่งดังมากจนมีคำพังเพยเรียกกันว่า "เสื้อยันต์วัดนาห้วย ผ้าประเจียดวัดหัวหิน"
ได้มีข้อกล่าวหาท่านให้ต้องอธิกรณ์ในทางเสื่อมเสีย สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณโวรส ได้เสด็จมาสอบสวนท่านในเรื่องนี้และได้สร้างกุฏิแดง (ขณะนี้รื้อถอนแล้วไว้เป็นที่ประทับ 1 หลัง ที่วัดอัมพาราม อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสมัยนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส สอบสวนแล้วท่านไม่มีความผิดจึงพ้นข้อหาไป หลวงพ่อหว่างได้ร่วมกับขุนอารีประชากร (ยา) ซึ่งเป็นกำนันปากน้ำปราณสมัยนั้น ย้ายวัดเดิมจากวัดบ้านคอยมาสร้างใหม่ โดยยกกุฏิเสนาสนะในวัดบ้านคอยเดิมมาปลูกที่ใหม่ซึ่งอยูติดถนนทางเข้าปากน้ำปราณบุรี ประมาณปี พ.ศ.2440 และตั้งชื่อวัดใหม่ว่าวัดปากคลองปราณ
หลวงพ่อหว่าง ได้มีวิชาพุทธาคมมากโดยเรียนกับหลวงพ่อมาก (หลวงพ่อในกุฏิ)วัดกุยบุรี และหลวงพ่อสุข วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านได้เรียนวิชาเก่งกล้าแตกฉานโดยเรียนวิชาแพทย์ มหาประสานตงกระพันชาตรี แคล้วคลาดมหาอทุตยดและมายาศาสตร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังเรียนวิชาเสื้อยันตืจากหลวงพ่อจู วัดนาห้วย วิชาจินดามนต์ จากหลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัยที่แม่กลอง ท่านได้ใช้วิชาพุทธาคมช่วยเหลือชาวบ้านมากมายในราวสมัยรัชกาลที่ 4 มื่อคราวมีกองทัพพม่าลงมากวาดต้อนครอบครัวคนไทยทางด่านสิงขร จ. ปทระจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันก็โปรดให้เข้าเฝ้า และเยี่ยมเยียนเฝ้า และเยี่ยมเยียนท่านเป็นประจำพร้อมทั้งนำลาภผลถวายท่านเสมอ หลวงพ่อหว่างจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองปราณบุรีและประจวบคีรีขันธ์อย่างมากแทบทุกบ้านที่ปากน้ำปราณจะมีรูปท่านไว้สักการะบูชาเสมอท่านได้มรณพภาพในปี พ.ศ.2460 รวมอายุได้ 65 ปี 30 พรรษา นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวปากน้ำปราณและอำเภอปราณบุรี

 หลวงพ่อหว่างวัดเขากะโหลกเป็นพระรูปเดียวกันกับหลวงพ่อหว่างวัดปากคลองปราณต.ปากน้ำปราณอ.ปราณบุรีจ.ปขหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมอดีตเจ้าอาวาสรูปแรกวัดปากคลองปราณท่านเกิดพ.ศ. 2395 มรณภาพ พ.ศ. 2460 สิริอายุประมาณ 65 ปีเป็นพระยุคเก่ารุ่นหลวงพ่อเงินวัดบางคลานจ.พิจิตรก็ว่าได้เป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดประจวบฯมานานแล้วพอๆกับหลวงพ่อในกุฎิอ.กุยบุรีแต่นักนิยมสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่รู้จักหลวงพ่อเปี่ยมวัดเกาะหลักและหลวงพ่อนาควัดหัวหินมากกว่าเพราะเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อทั้งสองดังมากมูลค่าการสะสมหลักแสนส่วนเหรียญหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมออกที่วัดปากคลองปราณเป็นเหรียญดอกจิกรุ่นแรกปี 2496 ไม่ทันหลวงพ่อแต่ได้หลวงพ่อหรุ่น(อรุณ)ศิษย์หลวงพ่อหว่างปลุกเสกท่านเก่งมากหลวงพ่อหรุ่นท่านมีวาจาสิทธิ์พูดคำไหนคำนั้นดุพระเณรลูกวัดและญาติโยมรู้ว่าท่านใจดีกล้าขอท่านก็กล้าให้ไม่เคยขัดเรื่องผูกดวงทำนายนักษัตรราศีปีเกิดดังตาเห็นเลขเบอร์หรือวันที่มรณภาพท่านรู้ล่วงหน้าได้มีเรื่องราวปาฏิหาริย์เกี่ยวกับหลวงพ่อหรุ่นมากมายสมัยท่านยังอยู่หลวงพ่อหรุ่นไม่สนใจสร้างเหรียญและวัตถุมงคลเท่าไรนักท่านเน้นเคร่งวัตรปฏิบัติมากปัจจุบันศพท่านไม่เน่าเปื่อยหลวงพ่อหรุ่นเป็นพระดีและเก่งมากแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ทำให้ผู้นิยมสะสมพระเครื่องไม่ค่อยรู้จักอัตโนประวัติของท่านมากนักเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกจึงมีประสบการณ์มากมายคนพื้นที่ตามเก็บมานานจนในระยะไม่กี่ปีมานี้มูลค่าการสะสมเหรียญหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมรุ่นแรกเนื้อทองแดงทะยานเข้าสู่หลักหมื่นและหลายหมื่นในเนื้อเงินและใกล้แสนในเนื้อทองคำ(เนื้อทองคำมีคนในพื้นที่ครอบครองอยู่)มี3เนื้อแต่จำนวนทั้ง 3 เนื้อหลวงพ่อหรุ่นสร้างไว้ปริมาณไม่มากเพราะเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกค่อนข้างหายากมากมีเท่าไรคนพื้นที่รับซื้อไม่อั้น     มาในปีพ.ศ. 2530 วัดเขากะโหลก(วัดสุมนาวาส) ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ออกเหรียญเสมาหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมรุ่นแรกของวัดขึ้นปรากฏว่ารุ่นนี้เจ้าอาวาสวัดเขากะโหลกปลุกเสกเองแล้วยังนำไปเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกในสมัยปี 2530 หลายพิธีมากพระดังอย่างหลวงพ่อยิดวัดหนองจอกก็ปลุกเสกด้วยจนทำให้เหรียญมีประสบการณ์ด้านมหาอุตม์คงกระพันแคล้วคลาดโชคลาภครบเครื่องปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกหายากจึงใช้รุ่นนี้แทนคุ้มครองป้องภัยได้เช่นกันมี 2 เนื้อๆ ทองแดงรมดำ(นิยม) และทองแดงรมน้ำตาลทั้งหมดรวมสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ หลวงพ่อหว่างชื่อท่านเป็นมงคลนามมากท่านชื่อสว่างชาวบ้านคนพื้นที่เรียกสั้นๆตามภาษาถิ่นว่าหลวงพ่อหว่างๆถือเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวประมงแถบอ่าวไทยมาช้านานศักดิ์สิทธิ์มากๆสมัยท่านมีชีวิตอยู่มีเรื่องเล่ายืนยันจากคนรุ่นเก่าได้เป็นอย่างดีว่าหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมสามารถแสดงทฤธิ์ปาฏิหาริย์กลายร่างเป็นเสือสมิงและพญาจระเข้การได้บนบานศาลกล่าวขอบารมีหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมเป็นไปตามตั้งจิตอธิษฐานสมประสงค์ทุกเรื่องเพียงแค่เป็นรูปภาพของท่านก็ยังศักดิ์สิทธิ์

24/3/53

ประวัติ หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกระสัง) อำเภอกุยบุรี

ประวัติหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์





หลวง พ่อพาน เกิด วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2454 ในสกุล พุ่มอำภา เป็นชาวบ้านกล้วย ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี อุปสมบท ณ.พัทสีมา วัดหนองไม้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หลวงพ่อพานเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีโดยกำเนิด เป็นพี่น้องกับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลืองและได้บวชเรียนที่วัดหนองไม้เหลืองเพชรบุรี หลวงพ่อพานได้มาจำพรรษาที่วัดโป่งกะสังและเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ยังเป็นสำนักสงฆ์ หลวงพ่อพานท่านเป็นพระปฏิบัติมีความมุ่งมั่นในการก่อร่างสร้างวัดโป่งกะสัง ที่ยังไม่มีอะไรเลย ให้เป็นวัดที่มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมายจากบารมีของท่าน ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2539รวมอายุ 84 ปี
หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง ท่านเป็นพระที่เก็บตัว วัดของท่านแทบจะเรียกว่าอยู่ในป่าก็ว่าได้ ทำให้ท่านไม่เป็นที่รู้จักของคนต่างถิ่นมากนัก แต่ในท้องที่กุยบุรีแล้วท่านเป็นอันดับหนึ่งเรื่องคงกระพันชาตรี เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างในปี พ.ศ. 2519 สุดยอดมหาอุตม์ตลอดกาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
2490 ต้องยกให้หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2520 ต้องยกให้ หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ หลังจากหลวงพ่อท้วม ก็จะเป็น หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย และ หลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ เจ้าแห่งปลัดขิก หลวงพ่อพาน ท่านเป็นพระที่อยู่ในยุคเดียวกันกับ หลวงพ่อนิ่ม และหลวงพ่อฟัก แต่ท่านจะอ่อนอาวุโสกว่าทั้งสองท่าน ท่านจะมีอาวุโสมากกว่า หลวงพ่อยิด วัตถุมงคลของ หลวงพ่อพาน นอกจากเหรียญรุ่นแรก แล้ว สิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความต้องการของบรรดาลูกศิษย์ ก็คือ ตะกรุดโทน ท่านค่อนข้างพิจารณาแจก

หลวงพ่อพานนี้นะครับ หลวงพ่อยิดยกย่อง เรียกพี่ตลอด หลวงพ่อยิดท่านว่า ของฉันเก่งก็เก่งจริง แต่ถ้าทำไม่ดี เดี๋ยวคุ้มไม่ได้ ของหายบ้าง เสื่อมบ้าง อะไรบ้างแต่ของหลวงพ่อพาน คุ้มได้หมด ได้ขนาดไหน(ท่านอาจจะถาม) ขนาดยิงกรอกปากไม่ออกก็แล้วกันครับ
อันตะกรุดท่านนั้น ท่านจะลงจารเองทุกดอก และจะลงในพรรษาเท่านั้น แม้หลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว ศิษย์ หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ก็บอกว่า หลวงพี่พาน ท่านลงน้อยเกินเนอะ ทำแค่ในพรรษาและทำแค่ 108 ดอกเอง อันตะกรุดท่านนั้น แม้ดอกเล็กๆ ก็มีประสบการณ์มาก ขนาดที่ มีผู้ถูกยิง ยิงเท่าไรก็ไม่ออก โดนจับยิงกรอกปาก ปรากฏว่า กระสุนเข้าปาก ฟันหัก แต่กระสุนไปกลิ้งอยู่ในปาก ปกติยิงเบิกทวาร ไม่มีเหลือ หลวงพ่อยิดจึงยกย่องมากๆๆๆๆๆ สำหรับตะกรุดโทน มีตำรวจ ที่เมืองเพชร เอาไปใส่ในกระป๋องนม แล้วล้อมยิงสิบกว่กรบอก ยิงไม่ถูกเลย

ประสบการณ์พระเครื่องหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง
-เรื่องนี้เกิดขึ้นในราวปี 2549 น.ส.วิไลวรรณ อายุ 19 ปี ป่วยเป็นโรคประจำตัวคือ ปวดหัวบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มาวันหนึ่งเกิดป่วยขึ้นมา ผู้เป็นแม่ พาส่ง ร.พ.ประจวบฯ โดยแพทย์ได้ฉีดยาให้ผลปรากฎ เกิดอาการช็อกต้องหามส่งห้อง ไอ.ซี.ยู.แพทย์ ช่วยกันปั๊มหัวใจ ผลปรากฎว่า "เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ" สงบนิ่ง แพทย์ พยาบาล จึงออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.เหลืออยู่ คนเดียว ผู้เป็นแม่จึงโทรศัพท์ หาสามี บอกลูก ตายแล้ว สามีตกใจ ใส่เสื้อผ้า และ หยิบเหรียญหลวงพ่อพาน ขึ้นเหนือหัว "หลวงพ่อครับ ขอให้ลูกผม ฟื้นชีวิตมาเถิดครับหลวงพ่อ" ผมจะบวชให้หลวงพ่อ และความเจ็บที่ลูกเคยเป็น ผมขอเป็นแทน เชื่อหรือไม่ ไม่ถึง 2 นาที ลูกฟื้นครับ และตอนนี้พ่อบวชแก้บนอยู่ที่วัด โป่งกระสัง ส่วนความเจ็บปวดลูกหายเด็ดขาด พ่อกลับเป็นแทน ขอขอบคุณ พระบุณเลิศ
-เรื่องเกิดที่โป่งกะสังคำสารภาพของจำเลย เรื่องมีอยู่ว่า นายตุ๋น เป็นสามีของนางอี๊ด ต่อมานางอี๊ดแอบมีชู้ จึงให้ชู้เอาปืนมายิงสามีตนเองที่บ้าน ครั้งแรกยิงด้วยขนาด 11 มม. ผลปรากฎยิงไม่ออก ชู้จึงให้นางอี๊ด หลอกนายตุ๋ยถอดหลวงพ่อพาน รุ่น 1 ออก จึงยิงด้วยปืน เอ็ม 16 อีกครั้งหนึ่ง ตาย ต่อมาตำรวจตามจับกุมชู้ได้ จึงให้การรับสารภาพ
-นายเทียน ปัจจุบันอายุ 55 ปี เล่าว่า ตอนนั้นประมาณปี 2522 ตนเองทำงานอยู่ รวมไท (เลยวัดไป) ตอนนั้นเป็นทางลูกรัง ตกเย็นตอนกลับจากไร่ ผ่านหน้าวัดฯ เห็นหลวงพ่อพานยืนอยู่หน้าวัด แต่ไม่ได้จอดรับเพราะรถเต็ม จึงขับผ่านไป พอมาถึง 4 แยก เจอหลวงพ่อพาน ยืนอยู่ นายเทียนตกใจ ขนลุกซู่ไปทั้งตัว หลวงพ่อฯ มาก่อนเราได้อย่างไร เพราะไม่มีรถแซงเราเลย เป็นทางเลนเดียว คิดอยู่หลายวันก็คิดไม่ออก พี่เทียนที่ให้ข้อมูล
-นายสน คนขับรถนายอำเภอกุยบุรี คนปัจจุบัน ดื่มเหล้าแล้วคุยกันเรื่องพุทธคุณของวัตถุมงคลหลวงพ่อพาน จึงนึกอยากลอง จึงนำเหรียญเงิน 7 รอบ ไปผูกไว้กับต้นมะพร้าว ยิงด้วยปืนขนาด .22 แม็กนั่ม 2 นัด(ยิงไปที่เหรียญ) ยิงไม่ออก พอยิงขึ้นฟ้ากลับยิงออกทั้ง 2 นัด
-ด.ช.จุก พ่อแม่ฝากลุงเลี้ยงไว้ ตอนเกิดเหตุอยู่คนละฝั่งถนนกับลุง ผู้เป็นลุงเห็นรถปิคอัพ จึงตะโกนบอกหลาน "ระวังรถนะไอ้จุก" ไอ้จุกไม่ได้ดูรถวิ่งข้ามถนนมาทันที จึงถูกรถชน จากด้านหน้า เข้าไปใต้ท้อง ลากไปยาวประมาณ 1 เสาไฟฟ้า ด.ช.จุก หลุดออกมาทางด้านหลังรถ แล้วลุกขึ้นวิ่งไปหาลุง ร้องไห้เสียใจเพราะเสื้อขาด กลัวแม่ตี แต่ตามเนื้อตัวกลับ ไม่เป็นอะไรเลย ในคอมีเหรียญ หลวงพ่อพาน
-มีลุงคนหนึ่งบ้านอยู่ปลายน้ำ ต้องขับรถ จยย.ไปทำไร่ ที่อยู่เลย วัดโป่งกระสังไป เห็นหลวงพ่อพานเดินอยู่ข้างถนน จึงสอบถามหลวงพ่อพาน ว่าไปกับผมไหมครับ หลวงพ่อตอบไม่ไป เป็นอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้ง พอครั้งนี้ลุงก็ถามเหมือนเดิม แต่หลวงพ่อกลับพูดว่า "ก่อนไปไร่แวะที่วัดก่อนนะ" ลุงตอบตกลง ลุงก็ขับรถจยย. ไปเรื่อย พอมาถึงวัด เดินเข้าไปในกุฏิ พบหลวงพ่อพาน นั่งรออยู่แล้ว ลุงตกใจมาก่อนเราได้อย่างไร หลวงพ่อจึงมอบตะกรุดให้ลุงมา
-หลวงพ่อพาน บอกกับพี่ใบและศิษย์ใกล้ชิดเสมอว่า " ของท่าดีจริงต้องลองได้ " หลวงพ่อพานออกมากี่รุ่น จะมีต้นมะขามเทศข้างวัด เอาไว้แขวนวัตถุมงคลแล้วจอยิงในระยะใกล้ (ยังไงก็โดน) ต้นมะขามเทศยังไม่ถูกเลย



ประสบการณ์กำนันเนี้ยวถูกถล่มด้วยอาก้า โดน17เม็ดแต่ไม่เป็นอะไรเลยนอกจากรอยจ้ำๆสีแดง แกเคยถอดเสื้อให้ดู แกแขวนตะกรุดกับเหรียญหลวงพ่อพานติดตัวเสมอ -คนข้างวัดถูกยิงแต่ยิงไม่ออก คู่อริจึงจับยิงกรออกปากเปิดทวาร คนถูกยิงกรออกปากฟันหักแต่กระสุนกลับหล่นอยู่ในปาก และปืนก็เสียใช้งานไม่ได้ ปกติยิงเบิกทวาร ไม่มีเหลือ -เหรียญหล่อนั่งพานรุ่นแรก หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง รุ่นนี้หลวงพ่อตั้งใจทำ ท่านนำแผ่นตะกรุดโทนไปหล่อเป็นมัดเลย

ประวัติหลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์


"หลวงปู่คำ สุวัณณโชโต" วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ยอดพระสงฆ์ 5 แผ่นดิน เป็นศิษย์สายตรงอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงปู่นาค" วัดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งท่านได้รับถ่ายทอดวิทยาคมวัตถุมงคลของท่าน ปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญหล่อเจ้าทรัพย์ เหรียญหล่อปรกโพธิ์ พระกริ่งหนองแกหน้าอินเดีย พระกริ่งหนองแกหน้าจีน พระคงเนื้อผง รูปหล่อเหมือนขนาดบูชา เป็นต้นอัต โนประวัติ พระครูประสิทธิวรการ หรือ หลวงปู่คำ มีนามเดิมว่า คำ สุขศรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2436 ตรงกับ ร.ศ.122 ที่ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอิ่ม และนางแจ้ง สุขศรีหลังคลอดบุตรชายใหม่ๆ โยมบิดา-มารดา ได้นำบุตรชายยกให้เป็นบุตรบุญธรรมหลวงปู่นาค วัดหัวหิน ยอดพระเกจิชื่อดังที่เป็นที่เคารพจากชาวหัวหิน โดยหลวงปู่นาค ได้ตั้งชื่อเด็กชายว่า "ทองคำ" แต่คนทั่วไปมักเรียกชื่อท่านสั้นๆ ว่า "คำ"ครั้น ย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม อายุครบ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหัวหิน โดยมี หลวงปู่นาค เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่เปี่ยม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ละม้าย อมรธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ภาย หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ วัดหัวหิน ได้อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่นาค พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมควบคู่กับการฝึกสมาธิวิปัสสนาต่อ มา ท่านได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ใน ช่วงที่หลวงปู่คำ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองแกใหม่ๆ ท่านใช้วิชาแพทย์แผนโบราณช่วยบำบัดรักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งท่านได้ศึกษาด้วยตัวเองจากสมุดข่อยที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ รวมถึงตำราโหราศาสตร์ไทย การลงอักขระเลขยันต์ การอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลให้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ด้วยท่านเป็น พระที่มากเมตตา กิจนิมนต์พิธีพุทธาภิเษกจึงมีบ่อยครั้ง หลวงปู่คำได้เคยร่วมนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลกับอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลายรูป อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ เป็นต้น

พระเครื่องหลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
สำหรับ หลวงปู่คำ ถือว่าท่านเป็นยอดพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทแห่งยุครัตนโกสินทร์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไสยเวทวิทยาคมครบถ้วน ชื่อเสียงด้านการสักยันต์ก็เป็นเลิศ ว่ากันว่าผู้ใดที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชาหรือครอบครูสักยันต์ตำรับ ใหญ่ เมื่อตายแล้วจะเผาไม่ไหม้ท่านจะสักด้วยยันต์ประจำตัวที่เรียก ว่า ยันต์ตรีนิสิงเห ตามตำรับตำราเก่าแก่ของโยมปู่ 3 ท่าน คือ หลวงปู่สุข หลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่อาจ กำกับด้วยคาถาอาคมที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง และหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลักสิ่งที่ลูกศิษย์เห็นบ่อยครั้ง คือหลวงปู่คำท่านจะเขียนยันต์ลงบนกระดานชนวนวางไว้ในกุฏิข้างๆ ตัวท่านตลอด โดยท่านบอกว่า "เขียนไว้ดักขโมย วัดนี้ขโมยชุมเผลอเป็นไม่ได้ ชอบมาลักขโมยหยิบฉวยของที่วางบนกุฏิโดยไม่ได้รับอนุญาต ใครเอามากหัวล้านมาก ใครเอาไปน้อยหัวล้านน้อย ที่เห็นๆ หัวล้านไปแล้วสามคน"

พระเครื่องหลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
การลงยันต์ ตรีนิสิงเห ต้องบริกรรมภาวนาเรียกสูตรตามลำดับรวมทั้งหมด 12 ครั้ง เป็นยันต์สำคัญมาก พระเกจิอาจารย์รู้จักกันเป็นอย่างดียันต์นี้รวม มงคลนามศักดิ์สิทธิ์ไว้ในตัวเอง เช่น คำว่า ตรีนิสิงเห ท่านกล่าวว่า หมายถึงพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ราชสีห์ทั้งสามได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สัตตนาเค แปลว่า พญานาคผู้ประเสริฐทั้ง 7 อันได้แก่ พระพุทธเจ้า 7 พระองค์คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระสมณโคดมความภาคภูมิใจของหลวงปู่คำ ซึ่งท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ด้วยความจงรักภักดี และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่สุด ท่านตั้งใจจัดทำตะกรุดโทน ด้วยเนื้อทองคำหนัก 4 บาท และอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลวาระพิเศษ เรียกว่า ตะกรุดคุมคนหรือตะกรุดมหาอำนาจ ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิตอุโบสถวัดหนองแก เมื่อปี 2509หลวง ปู่คำ ได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2540

22/3/53

ประวัติหลวงพ่อนาค ปุญญนาโค พระครูวิริยาธิการี วัดหัวหิน


หลวงพ่อนาค ปุญญนาโค พระครูวิริยาธิการี วัดหัวหิน ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อทางไสยเวทแลพุทธเวทในยุคกระนั้น เป็นผู้ดำเนินการสร้างและปลุกเสกโดยนิมนต์พระคณาจารย์ระบือนามแห่งยุค เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอย่างคับคั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2466 เพื่อพระราชทานให้กับข้าราชบริพารและชาวบ้าน ในวโรกาสเสด็จประทับแรม ณ พระราชนิเวศน์มฤทายวัย ที่ตำบลห้วยทรายเหนืออำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยพระองค์ท่านกำหนดให้ “พระมฤคทายวัน” แห่งนี้ เป็นเขตอภัยทานคืองดเว้นจาการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อถวายเป็นพุทธาบูชา ในการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสรู้ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพราณสี ประเทศอินเดีย เมื่อ 2580 กว่าปีล่วงมาแล้ว เนื่องจากคำว่า “มฤค” นั้น มีความหมายว่า เนื้อ, ทราย ซึ่งมีอยู่ชุกชุมในสถานที่แห่งนี้ คล้ายคลึงกับสถานที่ในพุทธประวัติ หลวงพ่อนาค วัดหัวหิน ท่านมีพื้นเพเป็นชาวเพชรบุรี โดยกำเนินเมื่อปี 2400 และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 19 ปี จนอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหลังป้อม ซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วหลวงพ่อเป็นผู้ที่ใฝ่ในการศึกษา ได้พยายามศึกษาพระเวรวิทยาคมต่างๆ โดยไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในแถบนั้น อาทิเช่น หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง, หลวงพ่อเอี่ยม วัดสันด่าน, หลวงพ่อภู วัดบางกระพร้อมและหลวงพ่อสุก วัดหลังป้อม เป็นต้น
ต่อมาท่านได้สาสิขาออกมาเป็นฆราวาส มีครอบครัว และเกิดการเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสจึงได้หวนกลับไปอุสมบทอีกครั้ง ที่วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ต่อมาได้รับนิมนต์จากญาติโยมชาวบ้าน ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวหิน เนื่อวจากเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ขมังเวททรงคุณวิทยา และเป็นนักพัฒนา ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2477 สิริรวมอายุได้ 77 ปีวัตถุมงคลต่างๆ ของหลวงพ่อ ที่ขึ้นชื่อลืมชาเป็นที่แสงหาต้องการชนิดแรกก็คือเหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ ทรงเสมา บอกสมณศักดิ์พระครูวิริยาธิการี ซึ่งมีความเชื่อกันว่า พระครูประสิทธิสมนการ (ต้าน เมนะจินดา) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กทม. ผู้เป็นศิษย์สร้างถลาย เพื่อเป็นที่ระลึก ในการที่หลวงพ่อมีอายุครบ 6 รอบ คือ 72 ปี เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของวงการ เสนอราคาอยู่ที่หลักหมื่น ปัจจุบันหาของแท้ชมยาก
วัตถุมงคลในชุดต่อมาที่ลือลั่นตลอดกาลคือวัตถุมงคลในชุดผลน้ำมัน ที่กำลังกล่าวขวัญถึงคือ ชุดมฤคทายวัน ซึ่งหลวงพ่อเป็นผู้ดำเนินการ และได้รับพระราชทานมาส่วนหนึ่ง จึงแจกจ่ายให้กับผู้เลื่อมใส
ภายหลังจากหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว ยังมีหลงเหลืออยู่พอสมควรบรรดาศิษยานุศิษย์จึงพากันขนไปจนหมดสิ้น พระมฤคทายวัน ที่จะนำมาเสนอต่อไปนี้มีอยู่ด้วยกันหลายสิบพิมพ์ทรง เป็นเนื้อผงปูนปั้น ผสมน้ำมันทั้งหมด มีหลากสีคือ ขาว, ดำ, แดง, เหลือง, ส้ม แต่ทุกพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จะเป็นกรอบกระจก เช่นเดียวกันเกศไชโยและมีการตัดของสำเร็จในพิมพ์ ไม่มีการตัดนอกพิมพ์ เนื่องจากการสร้างแบบแม่พิมพ์ที่มารตฐาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เป็นการสร้างแบบแม่พิมพ์ของช่างผู้มีความรู้ในเชิงช่างชั้นครู อย่างแท้จริง เลอเลิศทั้งอักขระเลขยันต์ประทับด้านหลัง ดังได้นำภาพมาเสนอ ให้ท่านผู้ท่าน น.ส.พ. พระคณาจารย์ ได้ทีศนาพอเป็นแนวทางในการศึกษา นอกจากนั้นยังมีแบบหลังเรียบอีกด้วย แต่เนื้อหาจะอยู่ในประเภทแก่น้ำมันทั้งสิ้น
ดังกล่าวว่า พระมฤคทายวัน มีหลายพิมพ์เท่าที่วงการยอมรับไม่ต่ำกว่า 20 พิมพ์ หากนำมาเสนอทั้งหมด หน้ากระดาษคงไม่เอื้ออำนวย โอกาสหน้าค่อยว่ากันชนิดเต็มรูปแบบฉบับนี้ว่ากันพอสังเขปก่อนคือ แบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ดังนี้
1. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ มี 2 ขนาด คือ ใหญ่, เล็ก พิมพ์ใหญ่แยกเป็นพิมพ์ลึก, ตื้น
2. พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
3. พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษอกร่อง, พิมพ์อกร่อง, อกตัน
4. พิมพ์นางวัก เป็นพิมพ์ที่มีมากที่สุดแบ่งได้ 4 ขนาดใหญ่พิเศษ (จับโบ้) ใหญ่, กลาง, เล็ก, จิ๋ว
5. พิมพ์ชินราช แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือใหญ่, กลาง, เล็ก
6. พิมพ์ 3 เหลี่ยม แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
7. พิมพ์พระศรีอาริย์ มีพิมพ์เดียว
8. พิมพ์ป่าเลไลยก์ มีพิมพ์เดียว
ตามที่กล่าวแล้วว่า พระมฤคทายวัน มีหลายพิมพ์หลายสี แต่สีขาวที่เรียกกันทั่วไปว่าเนื้อกระดูด เป็นเนื้อนิยมสูงสุด เนื่องจากมีความเชื่อว่ายากต่อการปลอมแปลง แต่ปัจจุบันเล่นรุ่นหลัง สามารถแยกเก๊-แท้ได้แล้ โดยอาคัญเอกลักษณ์ จากพิมพ์ทรงการตัดขอบและเนื้อหาที่ละเอียด หนึกนุ่ม ปกคลุมด้วยน้ำมันที่แห้งผาก ยากต่อการปลอมแปลง เนื้อสีอื่นจึงได้รับความนิยมตามมา โดยลำดับ
ด้วยพระมฤคทายวัยมีอายุการสร้างเกือบ 80 ปี และใช้น้ำมันเป็นตัวประสานระหว่างปูนเปลือกหอยกับผงวิเศษ 5 ประการจึงทำให้เกิดความแกร่งและเปราะ ซึ่งเป็นจุดบกพร่องของพระชุดนี้ทำให้ขาดความสนใจจากนักเล่นในอดีตเท่าที่ควรทั้งๆ ที่เลอเลิศทั้งแบบ พิมพ์แลพุทธคุณ ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา มหานิยมโชคลาภ แคล้วคลาด ตามแบบฉบับของพระเนื้อผงทุกประการ

ประวัติหลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น เพชรบุรี


หลวงพ่อหินวัดป่าแป้นเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีมีผู้ขุดพบใกล้วัดป่าแป้น เพชรบุรี จึงนำมาถวายวัดชาวบ้านมาบนบานศาลกล่าวประสบผลตามที่บนบานจึงตั้งชื่อว่าหลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์นฤมิตรมหามงคล ทางวัดจึงสร้างเหรียญรุ่นแรกในปี 2516 โดยหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐหลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง ฯเป็นผู้ปลุกเสกก่ออภินิหารตั้งแต่เมื่อปลุกเสกแล้วครับจนหลวงพ่อแดงและหลวงพ่อจ้วนถึงกับพูดว่าเหรียญนี้แรงดีจริงๆหลวงพ่อจ้วนถึงกับขอกลับไปแจกลูกศิษย์ที่วัด
"หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น" ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าอุโบสถ วัดป่าแป้น ต.บ้านลาด อ.เมือง จ.เพชรบุรี ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองเพชรบุรี ให้ความเลื่อมใสศรัทธา หลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแกรนิต สีเขียวอมเทา พุทธลักษณะแบบปางห้ามสมุทร สูงประมาณ 145 เซนติเมตร ฐานกว้าง 58 เซนติเมตร ปัจจุบันประชาชนได้นำทองคำเปลวมาปิดจนทึบ ทำให้รูปทรงหลวงพ่อหินหนาขึ้นจากเดิม ศิลปะในการแกะสลัก เป็นพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างเสมอพระอุระ รูปทรงเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แต่ที่สำคัญองค์พระพุทธรูปยังสร้างไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่โกลนรูปทรงไว้เบื้องต้นเท่านั้น สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้าง อาจมีการเคลื่อนย้ายไปตกแต่งให้สมบูรณ์ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน เพียงแต่พิจารณาตามลักษณะของพระพุทธรูปใช้หินแกรนิต ซึ่งใน จ.เพชรบุรี ไม่มีแหล่งวัตถุดิบดังกล่าว หรือหินที่จะนำมาสร้างพระพุทธรูปได้ มีแต่หินจากภูเขาลูกรังและภูเขาหินเป็นส่วนใหญ่ จึงสันนิษฐานว่า องค์หลวงพ่อหินจะต้องถูกเคลื่อนย้ายมาจากทิศตะวันตก แถบเทือกเขาตะนาวศรี โดยล่องมาทางแม่น้ำเพชรบุรี สอดคล้องกับสถานที่พบ โดยหลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น ได้ถูกขุดค้นพบ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2515 โดยชาวบ้านหมู่ 3 ต.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ถูกฝังกลบอยู่ในดินภายในสวนละมุดใกล้กับแม่น้ำเพชรบุรี ภายหลังชาวบ้านได้นำพระพุทธรูปดังกล่าว ไปถวายวัดป่าแป้น ซึ่งเป็นวัดภายในหมู่บ้าน เจ้าอาวาสจึงได้นำไปประดิษฐานไว้บริเวณด้านหน้าอุโบสถ และได้แจ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ ได้มีข้อสรุปว่า พระหินขุดพบเป็นพระหินที่สร้างยังไม่เสร็จ ศิลปะแบบทวารวดี พระเกตุมาลาเป็นมุ่นมวยผม การแกะสลักทำแต่เพียงโกลนแบบไว้เท่านั้น จึงไม่ได้จดทะเบียนเป็นวัตถุโบราณ และให้ตั้งประดิษฐานไว้ที่วัดป่าแป้น สืบต่อจนถึงปัจจุบันภายหลังการนำ พระพุทธรูปหินประดิษฐานไว้ที่หน้าอุโบสถวัดป่าแป้น ได้มีชาวบ้านพบเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นบริเวณหน้าอุโบสถเป็นประจำ ที่สำคัญหลังข่าวการขุดพบพระหินสมัยโบราณแพร่กระจาย ได้มีประชาชนทั้งในจังหวัดเพชรบุรีและต่างจังหวัด เดินทางมากราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่น ทำให้ทางวัดได้สร้างแท่นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้นใหม่ ให้ดูสวยงาม และมีมติจากคณะกรรมการวัดและชาวบ้าน ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปว่า "หลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ นฤมิตมหามงคล" มีชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ ป่วยมาอธิษฐานกับ หลวงพ่อหินให้ช่วยปัดเป่ารักษาให้หาย โดยนำน้ำมนต์ไปดื่มกิน ต่อมาอาการป่วยก็หายเป็นปลิดทิ้ง ทำให้ข่าวความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อหิน แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว พระมหาประสงค์ มหาวีโร เจ้าอาวาสวัดป่าแป้น เผยว่า วัดป่าแป้นได้จัดงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อหินเป็นประจำทุกปี โดยจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน แต่ละปีจะมีประชา ชนมากราบไหว้นมัสการหลวงพ่อหินจำนวนมาก จากการสอบถามพุทธศาสนิกชน ที่มากราบไหว้ หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น นอกจากมากราบไหว้ปกติแล้ว มีจำนวนมากที่มาแก้บนโดยการทำบุญกับหลวงพ่อหิน สิ่งที่มีการบนบานกันมาก คือ ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตราย หรือแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน งานที่จัดขึ้นแต่ละปี จะมีประชาชนจากทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้นมัสการ ปิดทองขอพรหลวงพ่อหินเป็นจำนวนมาก แต่พื้นที่บริเวณหน้าอุโบสถคับแคบ เมื่อประชาชนมากันจำนวนมาก จะเกิดความแออัด ทางวัดจึงเตรียมสร้างมณฑป เพื่อประดิษฐาน หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้นขึ้นใหม่ โดยใช้บริเวณใกล้กับอุโบสถ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง สำหรับวัดป่าแป้น เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่โบราณสถานเกือบทั้งหมด ได้ถูกบูรณะก่อสร้างขึ้นใหม่ สิ่งที่ยังบอกถึงความเก่าแก่ คือ อุโบสถ ที่มีประตูเข้าออกเพียงทางเดียว หรือที่เรียกว่าโบสถ์มหาอุด แต่มีการสร้างตกแต่งใหม่ภายหลัง ส่วนเส้นทางที่จะเดินทางไปยัง วัดป่าแป้น อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมประมาณ 5 ก.ม. เริ่มจาก 4 แยกทาง หลวง ไปตามถนนสาย อ.บ้านลาด ปัจจุ บันมีการก่อสร้างขยายถนนเพชรเกษม ช่วง 4 แยกทางหลวง มีการยกระดับ โดยรถยนต์ที่วิ่งมาบนถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ เมื่อมาถึง 4 แยกทางหลวง ต้องเลี้ยวขวาลงใต้สะพาน ข้ามถนนไปสู่ถนนสาย อ.บ้านลาด จากนั้นก็วิ่งไปตามถนน ตรงไปไม่นานก็จะถึงทางเข้าวัด ที่อยู่ทางซ้ายของถนน มีป้ายบอกชัดเจน

ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก


พระครูนิยุตธรรมสุนทร แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง ท่านถวายตัวเป็นถตาคตสืบทอดและเผยแพร่พุทธศาสนาตามแนวทางของพระศาสดาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน ย้อนกลับไปประมาณซัก 10 ปี ผู้ที่นิยมพระเครื่องน้อยคนที่ไม่รู้จักชื่อ หลวงพ่อยิดแห่งวัดหนองจอก ด้วยที่ว่างานสรงน้ำปีละครั้งเดียว (หมายถึงว่า ใน 1 ปีหลวงพ่อท่านอาบน้ำเพียง 1 ครั้งคือในงานสรงน้ำนั่นเอง) และจะอนุญาติให้ลูกศิษย์ที่มาสรงน้ำท่านใช้แปรงทองเหลือง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำความสะอาดพื้นปูนซีเมนต์) ขัดทำความสะอาดตัวท่าน โดยที่แปรงทองเหลืองที่แสนคมหาได้ระคายผิวหนังของหลวงพ่อแม้ซักนิด เป็นข่าวขจรขจายไปทั่วในเวลานั้น ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อติดตัว ชื่อเสียงของหลวงพ่อจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นในด้านเมตตาแคล้วคลาด เล่นหาบูชากันในวงกว้าง
ประวัติโดยย่อชาติภูมิ หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 อุปสมบท เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อเริ่มมีชื่อเสียงจากการสักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อสักให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น)
เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้วกลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้
จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรีจ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน มรณภาพ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษาวัตถุมงคล หลวงพ่อได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบทดลองสร้างดูพุทธคุณตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ยิด โดยสร้างเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่ดอก ได้มาเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนสร้างวัดหนองจอกนี่เอง โดยสร้างเป็นเหรียญรูปหล่อ และปลัดขิก และสร้างเรื่อยมา เพราะลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณของวัตถุมงคลที่หลวงพ่อจัดสร้างขึ้น ปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดได้รับความนิยมมาก แต่ราคายังถูกอยู่คือ จะอยู่ประมาณ หลักร้อยถึงหลักพันต้น ถ้าสนใจอยากบูชาไว้คุ้มครองตัว ให้จดจำลักษณะให้ดีแล้วจะได้ของดีไว้บูชา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เสก “ปลัดขิก” จนกระดิกได้
เมื่อพูดถึง “ปลัดขิก” นับเป็นเครื่องรางของขลังที่พระเกจิอาจารย์ดังในอดีตหลายองค์นิยมสร้างกันอาทิ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา,หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี,หลวงพ่อโสก วัดปากคลองบางครก เพชรบุรี, ฯลฯ ปลัดขิกของแต่ละท่าน ล้วนโด่งดัง-เข้มขลังด้วยประสบการณ์ เล่าขานสืบมาจนทุกวันนี้ หนึ่งในเกจิอาจารย์ที่สร้างตำนาน “ปลัดขิก” จนดังสะท้านประเทศก็คือ “หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณฺโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ วิทยาคมของท่านนั้นแก่กล้าขนาดที่ว่า สามารถเสกปลัดขิกบินรอบวัด ก่อนจะแจกจ่ายให้ญาติโยม นี่คือเรื่องจริงที่หลายๆ คนได้ประจักษ์กับสายตามาแล้ว
หลวงพ่อเกิดในสกุล “สีดอกบวบ” เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 2467 ณ บ้านหัวหรวด ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายแก้ว และ นางพร้อย สมัยเด็กไปอยู่กับหลวงพ่อหวล (มีศักดิ์เป็นน้า) ที่วัดประดิษฐนาราม (วัดนาพรม) จนกระทั่งบวชเป็นเณรเมื่ออายุ 9 ขวบ และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ภาษาขอม เลขยันต์ พร้อมกับเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง อายุ 14 ปีลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัว ซึ่งย้ายไปประกอบอาชีพ ที่อ.กุยบุรี จนอายุ 20 ปีก็กลับมาอุปสมบทที่วัดนาพรม มีหลวงพ่ออินทร์ (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “จนฺทสุวณฺโณ” มีความหมายว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์” ต่อมาบิดาเสียชีวิต ท่านจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดา และได้มีครอบครัว อยู่กินกับนางธิติจนมีบุตรหนึ่งคน ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งในปี พ.ศ.2517 ณ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาซึ่งเลื่อมใสในตัวท่านได้มอบที่ดิน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์” เมื่อปี พ.ศ.2518 ก่อนจะขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2527 ตั้งชื่อว่า “วัดหนองจอก” ปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพัดยศแก่ท่าน เป็น “พระครูนิยุตธรรมสุนทร” หลวงพ่อยิดนั้นได้ชื่อนักพัฒนาที่มีฝีมือรูปหนึ่ง เห็นได้จากการสร้างสรรค์พัฒนาให้วัดหนองจอก จนเป็นวัดที่สมบูรณ์มีถาวรวัตถุทางศาสนาครบ ยากที่จะหาวัดใดๆ สร้างได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาจิตใจและการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างเต็มที่ โดยสนับสนุนด้านทุนการศึกษา,ทุนอาหารกลางวันแก่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.ประจวบฯ รวมทั้งร่วมสร้างสาธารณประโยชน์แก่สถานที่ราชการและหน่วยราชการมากมาย สมัยยังชีวิต ท่านมีกิจนิมนต์ในการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังทั่วประเทศจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ในวันเสาร์ 5 ท่านปลุกเสกวัดแรกที่ จ.นครสวรรค์ วัดสุดท้ายที่วัดหนองจอก แต่ละวัดจะปลุกเสกวัดละ 30 นาที รวมทั้งหมดวันเดียวปลุกเสก 9 วัด การรับแขกของหลวงพ่อยิดแต่ละวันนั้น บางวันแทบไม่ได้ลุกไปห้องน้ำเลย นอกจากฉันอาหารเพลเท่านั้น แม้แต่ยามอาพาธ ก็ยังแสดงความอดทน ออกมาต้อนรับญาติโยมเหมือนไม่เป็นอะไรเลย ยิ่งเรื่องการเขียน การจารวัตถุมงคลด้วยแล้ว บางวันถึงขนาดไม่ได้ฉันข้าวก็มี เมื่อเขียน,จารเสร็จแล้ว ท่านจะเอานิ้วที่ซีดแนบเนื้อติดกระดูกให้ผู้อยู่ใกล้ชิดดู จนต้องช่วยกันบีบนวดให้เพราะสงสารท่าน

ประวัติหลวงพ่อชิต พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า





พระราชญาณดิลกเกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๔๐ ที่หมู่บ้านทำเลไทย ต.บ้านขนอนหลวง อ.บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบิดามารดามีอาชีพทำนา เมื่อ ท่านอายุได้ ๕ ปี บิดาก็ส่งเข้าเรียนภาษาไทยแบบโบราณ ที่วัดทำเลไทย จนอายุได้ ๑๐ ปีบิดาได้ให้ไปเรียนที่โรงเรียน วัดทองบ่อ อายุ ๑๓ ปี ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ วัดนิเวศธรรมประวัติจนจบชั้นประถมปีที่๔ จากนั้นได้บวช เป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระมหาสมณ เจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และ พระญาณวรากรณ์ คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง วชิรญาณวงศ์ เป็นพระสรณคมณาจารย์ ท่านเจ้าคุณได้ตั้ง
ใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เมื่อบวชเป็นสามเณร ได้ ๑ พรรษาก็สอบนักธรรมตรีได้ พรรษาที่ ๒ สอบบาลี ประโยค ๓ ปีต่อมาสอบบาลีประโยค ๔ ได้ที่วัดพระศรี รัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วนับว่าชีวิตในวัยเด็กของ ท่านเจ้าคุณเป็นวัยที่เริ่มต้นที่ดีพร้อม คือ ความคิดดี ความประพฤติดี และการปฏิบัติตนที่ดีทำให้บิดา มารดา ญาติพี่น้องมีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่ออายุ
ครบปีที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ เสด็จในกรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์ของเสด็จในกรม ได้ อุปสมบทเป็น พระภิกษุที่พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับฉายานามว่า "กนฺตสีโล" มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม พระ ธรรมาโรดมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๖๐ เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ๑ พรรษา ก็สอบบาลีประโยค ๕ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ใช้เวลาส่วนใหญ่สอนพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมแก พระภิกษุสามเณรด้วยผลงานของท่านเจ้าคุณฯ พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ ด้วยพระองค์เองให้เป็นที่ "พระภัทรมุขมุณี" เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในคณะสงฆ์ ๒ นิกายซึ่งมีการปกครองรวม ๗ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด นครนายก ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ กรมการศาสนานิมนต์ท่าน ไปช่วยงานด้านศาสนาที่วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ ๙ เดือน ก็กลับมาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ตามเดิมรวมเวลาที่จำพรรษานานถึง ๒๐ปี ต่อมาทางคณะ สงฆ์เห็นสมควรที่จะส่งภิกษุจากส่วนกลาง ที่มีความรู้ทาง พิธีการสงฆ์และพิธีหลวง ตลอดจนมีความรู้ทางบาลีและ วินัยสงฆ์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่วัดพระมหาธาตุ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางศาสนาที่เก่าแก่ ของประเทศ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสอันมีท่านเจ้า คุณใหญ่พระรัตนมุณี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคุณอยู่ที่ วัดพระมหาธาตุนานถึง ๒๐ ปี ได้ทำประโยชน์ให้อย่างมาก ต่อมาทางวัดเขาเต่าขาดเจ้าอาวาส เพราะเจ้าอาวาสเดิมได้
มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่ พระราชวังไกลกังวล ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเป็นประจำ พระองค์ เสด็จไปที่หมู่บ้านเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหินทรงมีพระราช ดำริว่าวัดเขาเต่าขณะนั้นไม่มีเจ้าอาวาสที่จะเป็นหลักให้แก่ วัดและเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวบ้านไดจึงทรงพระราชปรารภ กับท่านเจ้าคุณธรรมปัญญาจารย์ เจ้าอาวาส วัดราช
ประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งท่านเจ้าคุณได้ถวายพระพร ว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่เหมาะสมที่จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน เขาเต่าได้ ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ จึงโปรด เกล้าฯ ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาเต่าเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดที่ทรุดโทรมและได้อบรมพระธรรม
วินัยแก่ภิกษุสามเณร ตลอดจนเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้านด้วย ทั้งยังเป็นพระภิกษุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้วาง พระราชหฤทัย และทรงโปรดที่จะมีพระราชปฏิสันถาร เกี่ยวกับข้อธรรมะ
ในโอกาสที่ทรงพบเพราะท่านเป็นนัก ศึกษาเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้อย่างกว้าง ขวางในพระธรรมวินัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ "พระราชญาณ ดิลก" เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาประทับ ที่หัวหิน ท่านเจ้าคุณยังเป็นที่พึ่งของบรรดาพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ ชาวบ้าน ตลอดจนทหารตำรวอาสาสมัคร ตลอดเวลาที่จำพรรษา อยู่ที่นครศรีธรรมราชก็ดี ที่ประจวบคีรีขันธ์ก็ดี ดินแดนใดที่ใคร ๆ พากันหวั่นเกรง อันตรายจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ท่านก็ไปไม่กลัว อันตรายทั้งสิ้นไปเยี่ยมทหารตำรวจชายแดนเสมอต่อมา เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มรณภาพ ทางคณะ สงฆ์ผู้ใหญ่ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบฯ
ท่านมีกระแสจิต คือจิตที่แน่วแน่ไม่มุ่งลาภ ยศ ไม่มุ่งผล อันเกิดแต่สิ่งนั้น เป็นจิตที่พร้อมด้วยความเมตตากรุณา จิตนี้ช่วยให้ขลัง ท่านได้สร้างพระผงเป็นดินเผาหลาย ชนิดด้วยกัน เช่น สมเด็จดำ สมเด็จแดง สามภพพ่าย ผ้ายันต์สี่เหล่า สมเด็จยอดกัญญานี และกริ่งขี่เต่า เหรียญรุ่นพัดยศ เป็นต้นเป็นสิ่งที่ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เสาะหากันมานาน นับได้ว่าท่านเจ้าคุณพระราชญาณดิลก ได้สร้าง สมคุณงามความดีมาถึง ๙๑ ปี ท่านได้มรณภาพเมื่อ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๐ ท่านได้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่พระศาสนาและประเทศชาติ ยอมสละประโยขน์ สุขส่วนตน เพื่อประโยขน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ชาวหมู่บ้านเขาเต่าก็ยังให้ ความเคารพนับถือไปตลอดกาล

ประวัติหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม พระครูวินัยวัชรกิจ วัดตาลกง


พระครูวินัยวัชรกิจ (หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม) วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ชีวประวัติ กิตติคุณ บารมีธรรม เพชรบุรี เมืองเก่าประวัติศาสตร์ ที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมโบราณสถานโบราณวัตถุ วัดวาอารามเจริญรุ่งเรือง สืบทอดอารยธรรมกันมาหลายยุคสมัย จนได้รับสมญาว่า"อยุธยาที่ยังมีชีวิต" นอกจากความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมแล้ว เพชรบุรียังเป็นเมืองคนเก่ง คนจริง คนดี เมืองธรรมะพระเกจิอาจารย์ดังที่สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์อย่างไม่ขาดสาย ในยุคปัจจุบัน พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องสือกิตติคุณ เป็นที่เลื่อมใสนับถือของพุทธศาสนิกชนอีกรูปหนึ่ง คือหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม ซึ่งอยู่ในความนิยมศรัทธาระดับแนวหน้าของเมืองไทย หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม หรือพระครูวินัยวัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปัจจุบันเจริญอายุ ๙๑ ปี ๗๑ พรรษา (๒๕๕๐) เป็นพระนักพัฒนา พระนักปฏิบัติ เคร่งครัดพระธรรมวินัย มีบุคลิกลักษณะผิวพรรณผ่องใส อัธยาศัยเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ใครไปหากราบไหว้ ท่านต้อนรับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะด้วยไมตรีจิต สมเป็นสมณพุทธบุตรธรรมทายาท เนื้อนาบุญอย่างแท้จริง
หลวงพ่ออุ้น นามเดิม อุ้น อินพรหม ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โยมพ่อบุญ อินพรหม โยมแม่เล็ก อินพรหม ณ บ้านหนองหินถ่วง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๘ คน คือ ๑. หลวงพ่ออุ้น ๒. นายอิ่น ๓. นายเอื่อน ๔. นายพวง ๕. นายแดง ๖. นางพุด ๗. นางเพี้ยน ๘. นางพ้วน
เริ่มการศึกษาเบื้องต้น หนังสือไทย ขอม ที่วัดไสค้าน จนกระทั้งจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วมาช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรม สู่ร่มเงากาสาวพัสตร์ เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดตาลกง ตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยมีพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการผิว วัดตาลกง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการขาว วัดอินจำปา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า “สุขกาโม”
ครั้นอุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดตาลกง ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อผิว และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติเรื่อยมา การศึกษาพุทธาคม การศึกษาพุทธาคมของหลวงพ่ออุ้น เริ่มจากการอยู่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อผิว วัดตาลกง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาอาคม รุ่นราวคราวเดียว (สหธรรมิก) กับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง ทั้งยังเก่งทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เมตตา อยู่ยงคงกระพัน ซึ่งใกล้ชิดกับ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน ทั้งเคยเดินทางไปขอศึกษาวิชาความรู้จากหลวงปู่นาคอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อผิว ธมมสิริ เป็นพระเกจิทรงคุณวิเศษของเมืองเพชรบุรี ในยุคนั้น แต่อุปนิสัยของท่านชอบอยู่อย่างสันโดษ เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีดีนาน ๆ จะลง นะ ที่กระหม่อมให้ผู้ไปหาท่านสักครั้ง ชาวบ้านวัยชราอายุ ๘๐ กว่า เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อผิวลงนะ หัวให้ตัวเดียว มีคุณสารพัด อยู่ยงคงกระพันจนวันตาย คนเก่า ๆ แถบท่ายางต่างประจักษ์ในความคงกระพันชาตรีมาแล้วหลายราย ก่อนนี้มีหนุ่มวัยรุ่นจากประจวบคีรีขันธ์มาติดพันสาวมาบปลาเค้า เข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อผิว ขอให้ท่านลงนะที่กระหม่อมให้ ครั้นต่อมาไม่นานเขากลับมามาบปลาเค้าอีกครั้ง ถูกนักเลงท้องถิ่นแทงด้วยมีด ตีหัวด้วยท่อนไม้แต่ไม่ยักเป็นไร เลยฮึดสู่หนึ่งต่อสาม เล่นเอานักเลงเจ้าถิ่นต้องเปิดหนีกันจ้าละหวั่นไปเลย หลวงพ่ออุ้น เป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อผิวมาก ๆ ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาให้จนหมดสิ้น
พรรษาต่อมา หลวงพ่ออุ้นเดินทางไปกราบมนัสการ หลวงพ่อทองศุข วัดโหนดหลวง ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนฝึกปฏิบัติกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคมโดยเรียนฝึกวิชากสิณจนชำนาญในกสิณ ๑๐ รวมทั้งตำรับตำราการทำผงเมตตาชั้นสูงด้วย หลวงพ่อทองศุข เห็นความมานะพยายามของหลวงพ่ออุ้น ประจวบกับหลวงพ่อผิว ก็มีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อทองศุข มาก่อนแล้ว ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างเต็มกำลัง อันที่จริงศิษย์ของหลวงพ่อทองศุข มีหลายรูปล้วนแต่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น เช่น หลวงปู่คำ วัดหนองแก่ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลวงปู่นิ่ม วัดเขาน้อย หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง หลวงพ่อแล วัดพระทรง เป็นต้น ก่อนที่จะศึกษาเล่าเรียนวิชา หลวงพ่อทองศุข ได้ฤกษ์ยามก่อนแล้วนักกำหนดวันให้หลวงพ่ออุ้นเดินทางไปทำพิธีขึ้นครู หรือการยกครูมีขันธ์ ๕ ดอกไม้ ธูปเทียน บายศรี ทำพิธีขึ้นครู กล่าวได้ว่า หลวงพ่ออุ้น เป็นศิษย์ผู้สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อทองศุข โดยตรงอีกรูปหนึ่งอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการกล่าวอ้างครูบาอาจารย์อย่างเลื่อนลอย การเรียนวิชาอาคมของหลวงพ่ออุ้น ต้องเดินทางจากวัดตาลกง ไปเรียนที่วัดโตนดหลวง ครั้งหนึ่งพักอยู่ถึง ๑๕ วัน ไปกลับอย่างนี้เป็นประจำ ทั้งยังออกปริวาสกรรมร่วมกับหลวงพ่อทองศุข ขึ้นเขาไปบำเพ็ญเพียรในป่าช้าก็บ่อยครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งได้พบกับ หลวงพ่อจัน วัดมฤคทายวัน ซึ่งเป็นญาติกับหลวงพ่อทองศุข หลวงพ่อจันเก่งวิชาสะกดชาตรี คือวิชาสะกดให้สัตว์ร้ายอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เรียนมาจากพระภิกษุธุดงค์ชาวเขมร หลวงพ่อจัน ได้ถ่ายทอดวิชาสะกดชาตรีให้หลวงพ่ออุ้นเช่นกัน สำหรับวิชาที่โดดเด่นมากของหลวงพ่อทองศุข ยากที่ศิษย์ผู้ใดจะได้รับการถ่ายทอด คือ วิชาทำผลพระจันทร์ครึ่งซีก,วิชาทำผงพระจันทร์ครึ่งซีกเป็นอย่างไร,ผงพระจันทร์ครึ่งซีก เป็นผงเมตตามหานิยม มีพุทธคุณอมตะล้ำลึกแต่ท่านยังไม่เคยนำเอาวิชามาทำผงเลย เพราะสัจจะกฎสำคัญมาก นอกจากนั้นยังได้รับการถ่ายทอดการทำผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงหน้าพระภักษ์ อันเป็นตำรับสุดยอดของพระผงวัดนก จังหวัดอ่างทอง สำหรับตำราผงพระภักษ์ รู้ว่าปัจจุบันได้สูญหายไปจากวงการไสยศาสตร์นานแล้ว หากมีอยู่หรือเป็นมรดกแก่ผู้ใดบ้างก็คงน้อยเต็มทีที่จะรู้ได้อีกวิชาหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อทองศุข คือ การสักยันต์คงกระพันชาตรี หลวงพ่ออุ้น เคยสักยันต์ให้ลูกศิษย์ไปหลายคน ล้วนแล้วแต่อยู่ยงคงกระพันชาตรี ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน (บางคน) มีนิสัยเกเรสร้างความเดือดร้อนใจให้ผู้อื่น ท่านมาพิจารณาดูแล้วเห็นเป็นการส่งเสริมให้คนประกอบมิจฉาชีพผิดคดีโลก คดีธรรม ตั้งแต่นั้นท่านเลิกสักยันต์โดยเด็ดขาด ส่วนใครที่อยากได้รับประสิทธิ์ประสาทอักขระเลขยันต์จากท่าน ก็เมตตาทำให้เพียงเป่ากระหม่อมหรือเจิมหน้าผากด้วยผงพุทธคุณเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับวิชา นะ ปัดตลอด นั้น หลวงพ่ออุ้น ได้รับการถ่ายทอดเช่นเดียวกัน วิชานี้จะสังเกตได้ถึงวัตถุมงคลของสำนักวัดโตนดหลวง มียันต์นะปัดตลอด และ นะ ปถมังปรากฏอย่างชัดเจน รวมทั้งวัตถุมงคลศิษย์สายหลวงพ่อทองศุขทุกรูป
หลังจากนั้น หลวงพ่ออุ้นได้ไปกราบนมัสการพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เพื่อขอศึกษาวิชาไสยศาสตร์ ด้านอยู่ยงคงกระพัน เสกลิงลม ขับคุณไสย วิชาทำตะกรุด ครูบาอาจารย์ของท่าน มิใช่จะมีแต่บรรพชิตเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ผู้เชี่ยวชาญวิชาอาคม ท่านก็ยังขอเล่าเรียนเช่นกัน อย่างเช่น อาจารย์โม หมอสักชาวเพชรบุรี มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น หลวงพ่ออุ้น ได้ไปขอเรียนวิชาจากอาจารย์โม แม้หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม (มรณภาพแล้ว) ก็เคยไปเรียนวิชาการสักยันต์มาเหมือนกัน จากนั้นหลวงอุ้นไปเรียนวิชาทำสีผึ้งเมตตามหานิยม วิชาลงเลขยันต์ ลงสมุนไพร ตำราสมุนไพรจากหมอฉ่ำ หมอไสยศาสตร์ ชาวท่ายาง อันที่จริงโยมพ่อบุญ อินพรหม บิดาของหลวงพ่ออุ้นก็เชี่ยวชาญเป็นหมอไสยศาสตร์ มีความรู้เรื่องยาโบราณ ทั้งตำรายาโบราณที่ตกทอดมาแต่ยุคก่อนจำนวนมาก โดยเฉพาะตำราทำผงยาเพชรบุรี ซึ่งหลวงพ่ออุ้นได้รับสืบทอดมาด้วยเช่นกัน ว่ากันว่า ผงยาเพชรมณีหรือเพชรจินดา เป็นตำรายาหัวใจ ยาลม ยาอายุวัฒนะที่ดีมาก มีคุณสมบัติพิเศษไม่แตกต่างกับผงยาจินดามณี ของหลวงปู่บุญมากนักหรืออาจเป็นตำราสูตรเดียวกันมาแต่โบราณก็เป็นได้ ปฏิปทาศีลวัตร หลวงพ่ออุ้น เป็นพระที่มีอัธยาศัยไมตรีเปี่ยมด้วยเมตตาถือสัจบารมีเป็นที่ตั้ง ปฏิปทาศีลวัตรงดงามบริสุทธิ์ เสมือนทองทั้งแท่ง ท่านใฝ่ใจในเรื่องที่เป็นวัฎสงสาร การเกิดแก่เจ็บตาย บุญกรรมและสิ่งลี้ลับ ธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องเวทมนต์คาถาอาคมอักขระเลขยันต์เป็นพิเศษ ซึ่งมีอุปนิสัยใจคอชอบมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นแรงจูงใจให้ใฝ่รู้ศึกษาเล่าเรียน เรียนรู้แล้วปฏิบัติให้เข้าถึงรุ้แจ้งเป็นจง ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่ออุ้น ต่างรู้กันดีว่าท่านไม่ใช่พระธรรมดา หรือเป็นพระธรรมดาที่ยิ่งกว่าธรรมดา มีญาณสมาบัติสูง มีสมาธิจิตแก่กล้า หยั่งรู้อนาคต แม้กรวดหินแร่ธาตุต่าง ๆ ท่านหยิบผ่านมือแล้วมอบให้แก่ใครก็มีอานุภาพพุทธคุณอย่างน่าอัศจรรย์ พระนักพัฒนา เมื่อพูดถึงงานด้านการพัฒนา หลวงพ่ออุ้นได้อยู่ช่วยเหลือ หลวงพ่อผิด (ผู้เป็นหลวงลุง) สร้างวัดตาลกงมาตั้งแต่แรก ๆ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก่อนนี้ท่านได้เดินทางเข้าป่าละอูไปช่วยหลวงพ่อผิวตัดไม้ไปกลางเดือนอ้ายกลับถึงวัดกลางเดือนห้า ใช้เวลาไปกลับครั้งละ ๔ เดือน เป็นอย่างนี้ประจำถึง ๕ ปี ไปกับหมู่สงฆ์ไปปลูกโรงอาศัยในป่าไม้ที่ตัด ใช้เกวียณลากมาแสนจะลำบากหลวงพ่ออุ้น ออกธุดงควัตรไปทั่วทุกภูมิภาคที่ ๆ อยู่ในความทรงจำของท่านมากที่สุดก็คือ ป่าตะนาวศรี ป่าละอู และป่าปราณบุรี เดินธุดงค์จนไปพบกับผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ถวายที่ดินให้ท่านสร้างวัดและโรงเรียนจำนวนเนื้อที่ถึง ๑,๐๐๐ กว่าไร่ หลวงพ่อถามโยมผู้ถวายที่ดินว่า เมื่อโยมถวายที่ให้อาตมาแล้ว จะให้มีอะไรบนที่ดินผืนนี้บ้าง โยมผู้นั้นบอกว่าต้องการมีวัด โรงเรียน และสถานีอนามัย เมื่อรับปากว่าจะดำเนินการให้โยมนั้นตามความประสงค์ ต่อมาหลวงพ่ออุ้นก็เริ่มพัฒนาดำเนินการจัดสร้างสำนักงสงฆ์ท่าไม้ลายขึ้น ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ต.เขาเจ้า อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยจัดส่งพระอาจารย์รุ่ง ปิยธโร ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อไปควบคุมดูแลปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์ ได้รับผ้าป่ากฐินพอเลี้ยงตัวเองได้ ต่อมาได้สร้างโรงเรียนขึ้นเมื่อ ๗ ปีที่แล้ว จนบัดนี้ก็มีเด็กนักเรียนประมาณ ๒๐๐ คน พร้อมกับสถานีอนามัยอยู่บนพื้อนที่แห่งนี้สมเจตนารมณ์ของผู้ถวายทุกประการแล้ว หลวงพ่ออุ้น นอกจากจะเป็นพระนักปฏิบัติแล้ว ก็เป็นพระนักพัฒนาผู้นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่สำนักสงฆ์ท่าไม้ลาย จากที่ว่างเปล่าให้กลายเป็นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยการพัฒนาสถานที่พัฒนาบุคคล ไปพร้อม ๆ กัน แม้ทุกวันนี้หลวงพ่ออุ้นยังไปมาสำนักสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ได้นำเอาผ้าห่ม เครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกให้เด็กนักเรียนอยู่เป็นประจำ อุโบสถหลังเก่า ของวัดตาลกงมีอายุถึง ๑๖๐ กว่าปี มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม จึงได้ดำเนินการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ภายในอุโบสถหลังเก่านี้ อดีตเจ้าอาวาสวัดตาลกงได้นิมนต์ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์มาทำผลอิทธิเจ บรรจุได้ ๑ โอ่ง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๗ และหลวงพ่ออุ้นได้มาเก็บรักษาไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงพ่ออุ้นจึงได้นำเอาผงพุทธคุณเก่ามาผสมกับผงที่ท่านได้ทำขึ้น แล้วบดผสมข้าวปากบาตรและข้าวก้นบาตร กดพิมพ์ทำเป็นพระผงสมเด็จคะแนนขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อเอาพระสมเด็จคะแนนที่สร้างขึ้นส่วนหนึ่งไปบรรจุในอุโบสถหลังใหม่ และส่วนหนึ่งแจกกับพุทธศาสนิกชนและศิษย์ให้เป็นสิริมงคลพระสมเด็จคะแนนนี้สร้างขึ้นจำนวนหลายหมื่นองค์โดยได้ดำเนินการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 ติดต่อกันถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๗ รวม ๓ ปี ในระหว่างนั้นหลวงพ่อผิว เป็นเจ้าอาวาสวัดตาลกงอยู่ ซึ่งอยู่ในวัยชราภาพแล้ว ได้ดำริควรจะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นพร้อมทั้งงานด้านพัฒนาเสนาสนะสงฆ์ที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมอบให้หลวงพ่ออุ้นเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ ในด้านพัฒนาก่อสร้าง ดูแล ติดตามสิ่งก่อสร้างซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ ภายในวัดโดยตลอด แล้วหลวงพ่ออุ้นได้ปรึกษากับท่านาถึงเรื่องการสร้างพระสมเด็จเหม็น เพื่อนำปัจจัยมาสร้างอุโบสถหลังใหม่ แล้วได้นำมารวมกันทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๘ ปีเต็ม หลังจากนั้นก็ได้จัดส่วนต่าง ๆ ไว้ เช่น ไว้บนเพดานศาลา ใต้พระบูชาบนศาลา ส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ในอุโบสถหลังใหม่พระสมเด็จคะแนน หลวงพ่อได้เริ่มนำออกมาแจกให้พุทธศาสนิกชน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๑ ท่านก็หยุดจะมีบ้างก็ให้ประปราย เช่นคนที่มาจากต่างจังหวัดและประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านก็เก็บเงียบไม่แจกเลย และมาแจกอีกครั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ระสมเด็จคะแนนตามที่ชาวบ้านตาลกงเรียกมาแต่แรกเป็นพระผงที่มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและเสน่ห์สูงมาก กิตติคุณบารมีธรรมและผลงาน หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสรูปหนึ่งของเมืองไทยแม้จะเพิ่งเปิดเผยชีวประวัติเพียงไม่กี่ปีก็ตาม สำหรับสาธุชนในท้องถิ่นต่างรู้จักกิตติคุณของท่านมานานนับกว่า ๓๐ ปีแล้ว หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นแบบอย่างของพระภิกษุสงฆ์ที่เคร่งครัดธรรมวินัย มีศีลบริสุทธิ์ ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทางในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นพระที่ไม่สะสม ไม่ปรุงแต่ง ไม่เคยยึดติดลุ่มหลวงในยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ยึดติดในลาภสักการะ ท่านมีแต่สงเคราะห์ช่วยเหลือใฝ่เมตตาบารมี ผลงานการสร้างเสนาสนะสงฆ์ ตลอดทั้งถาวรวัตถุต่าง ๆ ปรากฏเป็นรูปธรรมมากมาย เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ฌาปนสถาน สำนักสงฆ์ โรงเรียน ถนนหนทาง กำแพงวัด ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์ของหลวงพ่ออุ้นทั้งสิ้น เคยมีพระเถระผู้ใหญ่มาขอร้องให้ท่านรับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบล ท่านปฏิเสธทั้งหมด
เท่าที่ทราบพอลำดับประวัติตำแหน่งที่หน้าที่และสมณศักดิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจารย์พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอธิการอุ้น สุขกาโม เจ้าอาวาสวัดตาลกงพ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรมที่พระครูสังฆรักษ์อุ้น สุขกาโมพ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับพระราชทานสมนศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวินัยวัชรกิจพ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่พระราชทินนามเดิมเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม คือการพูดตรงไปตรงมา เป็นวาจาเสมือนเนื้อของหัวใจ คือปากกับใจตรงกัน ไม่ปิดบังอำพราง ใครอยากรู้อะไรไปถามท่าน ท่านก็ตอบตรง ๆ ถ้ารู้ท่านก็จะบอกจะอธิยาย ถ้าไม่รู้ท่านก็จะบอกว่าไม่รู้ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ไม่มีความโลภ โกรธ หลง แต่ประการใด ไม่เคยเห็นหลวงพ่ออุ้น โกรธใคร ดุด่าว่ากล่าวหรือตำหนิติเตียนผู้ใด ท่านเป็นพระอริยสงฆ์สำรวมในศีลาจารวัตรและมีเมตตาธรรม สนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน โดยจัดมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ๙ โรงเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน เป็นประจำทุก ๆ ปี หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นพระสุปฎิปันโน ผู้บริสุทธิ์ด้วยไตรสิกขาเป็นพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทระดับแนวหน้า ยุคปัจจุบันของเมืองไทยแม้จะเพิ่งเปิดตัวเพียงไม่กี่ปี เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใสของญาติโยมสาธุชนอย่างกว้างขวาง ใครไปหาท่าน ท่านเมตตาต่อทุกคน จะกราบไหว้ก็กราบด้วยความสนิทใจ สมเป็นสมณพุทธบุตรธรรมทายาทอย่างแท้จริง เกียรติคุณของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เป็นที่ยอมรับกันอย่างแท้จริง ดังนั้นท่านได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชนใน แวดวงพระเครื่องจัดลำดับพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมเมืองไทยให้เป็นหนึ่งในสิบพระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบัน

ประวัติหลวงพ่อแดง พระครูญาณวิลาศ วัดเขาบันไดอิฐ


"หลวงพ่อแดง" แห่งวัดเขาบันไดอิฐ ท่านเป็นพระเกจิที่มีญาณสมาธิแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูงพอที่จะเพ่งเครื่องรางให้ขลังได้ ผ้ายันต์และเหรียญลงยันต์ของหลวงพ่อแดงจึงมีผู้นิยมเ สาะหาไปบูชากันมาก แม้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 แต่ความนิยมเลื่อมใสศรัทธา ความเชื่อมั่นในกฤตยาคม อภินิหาร และอาคมขลังในวัตถุมงคลของท่านก็ยังไม่เสื่อมคลาย หลวงพ่อรูปนี้ท่านมีอะไรดี ทำไมใครๆ ทั่วสารทิศจึงพากันมาวัดเขาบันไดอิฐกันไม่ขาดสาย... "หลวงพ่อแดง" หรือ "พระครูญาณวิลาศ" เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม นามสกุล อ้นแสง เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2422 ในวัยเด็กท่านก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสืออย่างเด็กสมัยนี้จนกระทั่ง อายุ 20 ปี พ่อแม่ก็หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับท่านอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อจะได้เล่าเรียนและบวชเป็นพระภิกษุต่อไป พระภิกษุแดงเมื่อได้บวชก็ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินั ยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เปลี่ยนเป็นอย่างดี อาจารย์เปลี่ยนจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่นๆ และยังไดสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิชากฤตยาคมให้อย่างไม่ปิดบังหวงแหน เหตุนี้จึงทำให้พระภิกษุแดงเพลิดเพลินในการศึกษาวิชา ความรู้ จนลืมสึก ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึก ในรสพระธรรม ก็เลยไม่คิดสึกเลย จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีอาวุโสสูงสุด จนกระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง พระภิกษุแดงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน กลายเป็น "หลวงพ่อแดง" ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา และแม้ท่านจะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้า จิตนิ่ง บริสุทธิ์ จนว่ากันว่าท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์ หลวงพ่อแดงไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิของท่าน แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ของท่านก ็ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้แ น่ๆ โดยมีเรื่องเล่ากัน นระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็น โรครินเดรอ์เปรส ซึ่งเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตายเป็นเบือ สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระ บาดสัตว์ให้ด้วย หลวงพ่อแดง จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ท ี่คอกสัตว์ของตน ปรากฏผลว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตายเลย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวั นมิได้ขาด กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือมหาสงครามเอเชียบูรพา มีทหารญี่ปุ่นมาขึ้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็เกิดการต่อสู้กับทหารอากาศของไทยที่นั่น ชาวเพชรบุรีก็ตระหนกตกใจ แล้วชักชวนกันหาหลวงพ่อแดง ท่านก็ลงผ้าประเจียดยันต์แจก ให้คุ้มครองป้องกันตัว
เมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2487 เกิดภัยสงครามชนิดร้ายแรง มีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือห้อยเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย หลวงพ่อแดงจึงดังใหญ่ จนสิ้น สงครามโลกครั้งที่ 2 กิตติคุณของหลวงพ่อในทางกฤตยาคมจึงปรากฏความศักดิ์สิ ทธิ์แพร่หลายยิ่งขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแดง ปรากฏอีกครั้ง เมื่อเกิดคอมมิวนิสต์ญวนเหนือบุกญวนใต้ ประเทศไทยต้องส่งกองพันเสือดำ ออกไปช่วยพันธมิตรรบในญวนใต้ ก็ปรากฏว่าทหารไทยที่ไปปฏิบัติหน้าที่รบในเวียดนาม คนที่มีเหรียญหลวงพ่อแดงห้อยคออยู่ ไม่ถูกอาวุธเป็นอันตรายแก่ชีวิตสักคน ทั้งๆ ที่เข้าประจัญบานอย่างหนัก เป็นที่สงสัยของเพื่อนทหารต่างชาติว่าทหารไทยมีของดี อะไร ได้รับคำตอบจากทหารไทยว่ามี "เหรียญหลวงพ่อแดง" ท่านเป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด ท่านว่าทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระพระท่านก็ไม่คุ้มครอง
หลวงพ่อแดง มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่ออายุ 96 ปี พรรษาที่ 74 ก่อนตายท่านเคยพูดกับพระปลัดบุญส่ง ธมัมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้นว่า "เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ" พระบุญส่งจึงรับปาก และได้ทำตามที่หลวงพ่อประสงค์ทุกอย่างและหลังจากที่หลวงพ่อแดงมรณภาพแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจ รรย์ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อภินิหารของหลวงพ่อแดงมีจริง กับผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรีท่านหนึ่ง ซึ่งจู่ๆ ท่านก็มีนิมิตฝันเห็นบ่อน้ำโบราณที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ต้ นก้ามปูใหญ่ พอขุดก็พบบ่อน้ำนั้นจริงๆ บ่อน้ำแห่งนี้หลวงพ่อแดงเคยพูดไว้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็น "บ่อน้ำวิเศษ" และขณะที่ขุดยังพบ "หัวพญานาคสีขาว" แบบปูนปั้นอยู่ที่ก้นบ่อด้วย 1 หัว เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันแห่มาเพื่อจะตักน้ำเอาไปใช้กันแต่ปรากฏว่าพบงูใหญ่ตัวหนึ่งนอนขดอยู่ใต้สังกะสีที่เอาไว้ปิดปากบ่อ ชาวบ้านที่เห็นบอกว่า ลักษณะงูที่เห็นนั้นมีหงอนที่หัวด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีชาวบ้านกล้าเข้าไปตักน้ำที่บ่อนี้อีกเลย ที่น่าแปลกอีกก็คือ นายตำรวจท่านหนึ่งซึ่งเคยมาช่วยงานในวัดก็ฝันเห็นหลว งพ่อแดง ท่านมาต่อว่า "ทำอะไรทำไมไม่บอก" นายตำรวจก็ไปเล่าให้พระปลัดบุญส่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบ ันฟัง ท่านก็ไม่เชื่อแล้วยังสั่งให้ย้ายศาลเก่า 2 ศาล บริเวณเชิงเขาบันไดอิฐเพื่อปรับปรุงบริเวณ โดยไม่ยอมทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพราะท่านเป็นคนไม่เชื่อไสยศาสตร์ ปรากฏว่าพอตกเย็นก็เกิดอาการผิดปกติ อยู่ๆ คอก็เริ่มบิดและตัวแข็งไปทั้งตัว ขยับไม่ได้ ชาวบ้านมาเยี่ยมเห็นว่าอาการหนักมากจึงช่วยกันพาส่งโ รงพยาบาลเปาโล แต่พอถึงโรงพยาบาล อาการที่เป็นกลับหายราวปลิดทิ้ง และเมื่อเอ็กซเรย์พร้อมตรวจอย่างละเอียดก็ไม่พบว่าเป ็นอะไรเลย และระหว่างที่นอนพักรักษาตัวอยู่ ท่านก็พูดออกมาคนเดียวโดยไม่รู้ตัวว่า
"ของดีมีอยู่ ผ่านไปผ่านมาไม่ใช้ต้นก้ามปูตรงนั้นเป็นบ่อน้ำ ให้ขุดลงไปแล้วจะเจอ มีของดีทำไมไม่รักษา" ในภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วพระปลัดบุญส่งก็ได้ฝ ันอีกครั้ง ในความฝันท่านเห็นคนนุ่งผ้าถกเขมรมาหา มาบอกว่าเขาเป็นคนมัดหลวงพ่อเอง พูดแล้วเขาก็เอามือรีดที่ตัวหลวงพ่อเหมือนรีดเอาไขมั นออก ทั้งขาและแขน จนหลวงพ่อพระปลัดบุญส่งสะดุ้งตื่นและพอตื่นขึ้นมาก็ย ังเห็นผู้ชายคนนั้นอยู่ในห้องพอถามชื่อ เขาก็ถอยออกไปแล้ว ตอบกลับมาว่า "เขาเป็นเปรต" จากนั้นก็หายวับกลายเป็นแสงไฟ พร้อมเสียง "วี๊ด" ดังมาก ซึ่งพระในวัดก็ได้ยินกันทั่ว เรื่องนี้ได้ทำให้ "พระปลัดบุญส่ง" เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐรูปปัจจุบัน ยังยอมรับว่าไสยศาสตร์และอภินิหารของหลวงพ่อแดงนั้นมีจริงเพราะเจอแล้วด้วยตัวท่านเอง

ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร พระพุทธวิริยากร วัดชายนา


ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร พระพุทธวิริยากร วัดชายนาพระพุทธวิริยากร หรือ หลวงพ่อตัด ปวโร เป็นเจ้าอาวาส วัดชายนา หมู่ที่ 2 บ้านใน ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อตัด วัดชายนา อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี อายุ 78 ปี พรรษา 58 ท่านโด่งดังมานานไม่ว่าจะเป็น ตะกรุดหลวงพ่อตัด หรือปลัดขิกหลวงพ่อตัด ท่านเป็นพระที่ชอบเรียนวิชาอาคมมาก สนใจตั้งแต่ยังหนุ่ม ท่านบอกว่า "สมัยก่อน ปี 2496 เอาหมด เอาทุกอย่างที่ไหนเขาว่าดีไปหมด ในกระจิวนี้ไปขอเรียนมาหมด..." พูดง่ายๆว่าตำราเก่าๆในจังหวัดเพชรบุรีนี้ท่านเรียนมาหมดหลวงพ่อตัด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะวัตถุมงคล ตะกรุดเนื้อตะกั่ว ที่มากด้วยพุทธคุณและประสบการณ์ หลวงพ่อตัด ปวโร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดเพชรบุรี มีประชาชนให้ความเคารพนับถือมาก แต่ด้วยความที่ท่านไม่เคยอวดตัว ไม่ยอมให้สัมภาษณ์หรือนำเสนอเรื่องราวประวัติของท่านหรือวัตถุมงคลไปลง หนังสือหรือรายการโทรทัศน์ใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ไม่สามารถสืบค้นประวัติในช่วงวัยเยาว์ได้อย่างละเอียด ทราบแต่เพียงว่าตาม ประวัติหลวงพ่อตัด ท่านบวชมาตั้งแต่เป็นสามเณร จนกระทั่งอุปสมบทหลังอุปสมบทได้ฝึกปฏิบัติธรรม และได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคม กล่าวได้ว่าตำราเก่าๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ท่านศึกษาผ่านตาทั้งสิ้น เช่น เรียนวิชาการทำตะกรุด จากหลวงพ่อทอง วัดเขากระจิว และเรียนตำราของหลวงพ่อกริช ที่ตกทอดมาซึ่งเป็นพระยุคเก่าเป็นอาจารย์สายหลวงพ่อกุน วัดพระนอน เรียนทำปลัดขิก ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง จากหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม ซึ่งมีเคล็ดลับว่า "ให้ใช้ไม้ผูกคอตาย ทำถึงจะดี" และท่านยังได้เดินทางไปต่อวิชากับหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง รวมทั้งอีกหลายอาจารย์ ท่านเป็นพระที่ใฝ่หาความรู้วิชาอาคมต่างๆ อย่างจริงจังหลวงพ่อตัด เป็นคนพูดตรงๆ เหมือนคนไทยสมัยก่อน ผู้ที่เคยเข้าไปหาหลวงพ่อครั้งแรกจะตกใจ เนื่องจากหลวงพ่อเป็นคนพูดตรง ทำให้มองภาพลักษณ์ท่านเป็นคนดุ แต่ใจดี พูดคำไหนคำนั้น ไม่ชอบคนเซ้าซี้วกวน อยากได้อะไรบอกท่านไปตรงๆ ได้ คือได้ ไม่ได้ คือ ไม่ได้ หลวงพ่อตัด ท่านไม่ใช่พระพูดหวานหู แต่ค่อนข้างโผงผาง ออกจะเหมือนเล่นตัว แต่ถ้าคุ้นเคยจะทราบดีว่าท่านใจดี คุยได้ทุกเรื่อง แต่อย่าคุยเรื่องของที่ท่านทำว่าวิเศษอย่างไร ดีอย่างไร ท่านไม่ตอบ หลวงพ่อตัด ท่านมักจะพูดแต่ว่า "มาทำไม กูไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร พระบ้านนอก ไม่มีอะไร" ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์จากกรุงเทพฯ เดินทางไปหาท่าน เข้าไปกราบ ท่านถามว่า "มาจากไหน" ลูกศิษย์ บอกว่า "มาจากกรุงเทพฯ จะมากราบท่าน" หลวงพ่อตัดท่านตอบไปว่า "ที่กรุงเทพฯ ไม่มีพระหรือวะ ถึงมาถึงนี่ กราบทำไม กูไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร"บางครั้งก็มีลูกศิษย์ให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ "หลวงพ่อช่วยรดน้ำมนต์ให้หน่อย" หลวงพ่อตัด บอกทันทีว่า "รดทำไม พื้นเปียกหมด" แต่สุดท้าย ท่านก็รดน้ำมนต์ให้ ดังมีแม่ค้าจำนวนมากมาหาหลวงพ่อตัด เพื่อขอ วัตถุมงคลหลวงพ่อตัด วัดชายนาไปเก็บไว้เพื่อให้ค้าขายดี หลวงพ่อตัด กลับบอกว่า "กูไม่มี ถ้าต้องการขายดี ก็ต้องขายให้ราคาถูก" ท่านจะพูดในทำนองนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะโดนหลวงพ่อดุ แต่คนเหล่านั้น ล้วนต้องกลับมาหาหลวงพ่ออีก เพราะหลวงพ่อใจดี ถึงบางครั้งจะพูดจาดุด่าบ้าง แต่ก็เป็นการพูดตักเตือนตามความเป็นจริง
หลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี สำหรับวัตถุมงคล พระเครื่องหลวงพ่อตัด วัดชายนา มีชื่อเสียงด้านเมตตามหานิยม วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตะกรุดและปลัดขิกผูกคอตาย โดยเฉพาะ ตะกรุดหลวงพ่อตัด วัดชายนา จะโด่งดังมากในทางคงกระพันชาตรี ส่วนปลัดขิกหลวงพ่อตัด ก็ไม่ธรรมดาเมตามหาเสน่ห์ดีเยี่ยม ทำให้หลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เคยมีลูกศิษย์เรียนถามท่านว่า "ตะกรุดหลวงพ่อตัด มีข้อห้ามอะไรบ้าง"ท่านบอกว่า "พ่อแม่ คือ พระ อย่าด่าว่าพ่อแม่ ทั้งของเราแล้วของคนอื่นเค้า ถือศีล 5 ไว้ ของจะดีเพราะคนมันดี"ลูกศิษย์เรียนถามท่านว่าแขวน ตะกรุดหลวงพ่อตัด "ลอดราวผ้า เสื่อมหรือเปล่า" ท่านบอกว่า "ตะกั่วมันก็เป็นตะกั่ว ตะกรุดก็คือตะกรุด ไม่มีเสื่อม ไม่ได้ห้าม ของดีอยู่ที่ใจคนใช้มันดี ใจมันไม่ดี ของก็ไม่ดี" ผู้ที่เลื่อมใสท่าน เข้าไปหาท่านที่วัดชายนา ท่านจะนำตะกรุดมาแจกทั้งสิ้น ถ้าท่านไม่อยู่ จะมีลูกศิษย์คอยนั่งแจกทั้งวัน ในส่วนวัตถุมงคลที่อยู่ในตู้ให้ทำบุญ หลวงพ่อจะสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยที่ได้มาซ่อมแซมบูรณะโบสถ์ ซึ่งมีพระกริ่ง พระผง รูปเหมือนและเหรียญ มีประชาชนไปบูชาทำบุญกับท่านไม่ได้ขาด แต่พอปัจจัยที่ได้ในการบูรณะโบสถ์เพียงพอแล้ว หลวงพ่อท่านจะสั่งปิดตู้งดบูชาทันที
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2551 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา หลวงพ่อตัด ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระครูบวรกิจโกศล เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพุทธวิริยากร แม้ด้วยวัยใกล้ 80 ปีแล้ว แต่หลวงพ่อตัด มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ทว่าในช่วงเช้าวันที่ 3 พฤษภาคม 2552 หลวงพ่อได้ออกเดินตรวจความเรียบร้อยรอบวัดเหมือนปกติ กระทั่งช่วงเวลาประมาณ 07.00 น. พระในวัดได้ยินหลวงพ่อบอกว่าแน่นหน้าอก จุกแน่นตั้งแต่ช่วงท้องไปจนถึงหน้าอก หายใจไม่ออก คณะลูกศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อตัดไปโรงพยาบาลท่ายาง อ.ท่ายาง แต่ไม่ทันการณ์ ด้วยหลวงพ่อตัด สิ้นลมหายใจและมรณภาพลง ในเวลา 07.37 น. คณะแพทย์ระบุเบื้องต้นเกิดจากอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหลวงพ่อตัด วัดชายนา มรณภาพแล้ว วงการพระเครื่องวัตถุมงคลและพุทธศาสนิกชนเมืองเพชรบุรี ได้ถึงวาระกาลสูญเสียพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป ด้วย "หลวงพ่อตัด ปวโร" แห่งวัดชายนา จ.เพชรบุรี มรณภาพลง ในวัย 78 ปี พรรษา 58 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2552 หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกอย่างกะทันหัน พระลูกวัดและคณะศิษย์ รีบนำเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลท่ายาง แต่ไม่ทันการณ์ หลวงพ่อตัดได้มรณภาพลงระหว่างทาง คณะแพทย์ลงความเห็นว่า หลวงพ่อตัด วัดชายนา มรณภาพแล้ว ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว และได้นำศพหลวงพ่อตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดชายนา สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.00 น. คณะกรรมการวัด ได้เคลื่อนย้ายศพ พระพุทธวิริยากร หรือหลวงพ่อตัด ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญของวัด เพื่อประกอบพิธีรดน้ำศพหลวงพ่อ โดยมีพระเถรานุเถระและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัด เดินทางมาร่วมรดน้ำศพเป็นจำนวนมาก ส่วนเวลา 17.00 น. นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพนอกจากนี้ หลวงพ่อตัด วัดชายนา ได้เขียนห้ามมิให้นำร่างออกหาทุน มีข้อความว่า "ศพของเรา ห้ามฎีกา ออกหาทุน เกณฑ์ชาวบ้าน มารวมหุ้น ให้วุ่นวาย มีเท่าไร ทำเท่านั้น ตามสบาย ไม่มีข้อควรละอายอย่างไร"สำหรับศพหลวงพ่อตัด ตั้งสวดพระอภิธรรมศพเพียงแค่ 7 วัน ตามความประสงค์ของหลวงพ่อตัด ที่ได้สั่งเสียไว้ก่อนมรณภาพ ทั้งนี้ จะมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพไปจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2552 และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เวลา 16.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2552

21/3/53

รายชื่อวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

รายชื่อวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

วัดเกาะหลัก ตำบลประจวบคีรีขันธ์ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดธรรมิการาม ตำบลประจวบคีรีขันธ์ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดหนองบัว ม. 4 ตำบลเกาะหลัก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดหนองปรือ ม.6 หนองปรือ ตำบลเกาะหลัก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดคลองวาฬ ม. 1 ตำบลคลองวาฬ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดด่านสิงขร ม. 5 ตำบลคลองวาฬ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดหนองหินประชาราม ม. 2 ตำบลคลองวาฬ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดเกตุชยาราม ม. 8 ตำบลห้วยทราย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดวังมะเดื่อ ม. 3 ตำบลห้วยทราย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดสองกะลอนประชาสรรค์ ม. 4 ตำบลห้วยทราย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดคั่นกระได ม. 3 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดทุ่งมะเม่า ม. 1 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดนิคมคณาราม ม. 9 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดนิคมประชาสรรค์ ม. 8 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดนิคมราษฎร์รังสรรค์ ม. 10 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดนิคมสามัคคี ม. 5 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดอ่าวน้อย ม. 2 ตำบลอ่าวน้อย เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77000
วัดบ่อนอก ม. 6 ตำบลบ่อนอก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77210
วัดปากคลองเกลียว ม. 1 ตำบลบ่อนอก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77210
วัดรอดประดิษฐ์ ม. 5 ตำบลบ่อนอก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77210
วัดสี่แยก ม. 10 ตำบลบ่อนอก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77210
วัดอู่ตะเภา ม. 3 ตำบลบ่อนอก เมือง ประจวบคีรีขันธ์ 77210

อำเภอกุยบุรี

วัดวังยาว ม. 1 ตำบลกุยบุรี กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดหนองตาเสือ ม. 5 ตำบลกุยบุรี กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดกุยเหนือ ม. 6 ตำบลกุยเหนือ กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดถ้ำเขาน้อย ม. 7 ตำบลกุยเหนือ กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดเขาแดง ม. 2 ตำบลเขาแดง กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดทุ่งน้อย ม. 3 ตำบลเขาแดง กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดดอนยายหนู ม. 1 ตำบลดอนยายหนู กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดหนองจอก ม. 3 ตำบลดอนยายหนู กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดทุ่งประดู่ ม. 2 ตำบลไร่ใหม่ กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดบ้านหนองแก ม. 3 ตำบลไร่ใหม่ กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดไร่ใหม่สามัคคี ม. 2 ตำบลไร่ใหม่ กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดเขาลั่นทม ม. 4 ตำบลสามกระทาย กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดธรรมรังสี ม. 2 ตำบลสามกระทาย กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดสำโหรง ม. 5 ตำบลสามกระทาย กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดเฉลิมราษฎร์ ม. 4 ตำบลหาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดยางชุม ม. 6 ตำบลหาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดหาดขาม ม. 3 ตำบลหาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150
วัดอุดมพลาราม ม. 2 ตำบลหาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77150

อำเภอทับสะแก

วัดทับสะแก ม. 3 ตำบลทับสะแก ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดทุ่งกลาง ม. 6 ตำบลทับสะแก ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดทุ่งประดู่ ม. 2 ตำบลทับสะแก ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดวิบูลธรรมาวาส ม. 7 ตำบลทับสะแก ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดทุ่งพุฒิ ม. 5 ตำบลอ่างทอง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดวังยาง ม. 4 ตำบลอ่างทอง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดสีดางาม ม. 3 ตำบลอ่างทอง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดอ่างทอง ม. 1 ตำบลอ่างทอง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดอ่างสุวรรณ ม. 6 ตำบลอ่างทอง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดเขาบ้านกลาง ม. 1 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดดอนทราย ม. 2 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดนันทาวราราม ม. 2 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดนาหนอง ม. 3 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดนาหูกวาง ม. 4 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดประชาราษฎร์ ม.11 ประชาราษฎร์ ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดห้วยลึก ม. 5 ตำบลนาหูกวาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดดอนใจดี ม. 8 ตำบลเขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดนาล้อม ม. 3 ตำบลเขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดมะเดื่อทอง ม. 5 ตำบลเขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดห้วยเจริญ ม. 4 ตำบลเขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดทุ่งยาว ม. 3 ตำบลห้วยยาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดเนินดินแดง ม. 6 ตำบลห้วยยาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดประชาสนธิ ม. 11 ตำบลห้วยยาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดสุมททาราม ม. 7 ตำบลห้วยยาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดห้วยยาง ม. 2 ตำบลห้วยยาง ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130
วัดไร่ใน ม. 1 ตำบลแสงอรุณ ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 77130

อำเภอบางสะพาน

วัดเขากะจิ ม. 6 ตำบลกำเนิดนพคุณ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดเขาน้อย ม. 3 ตำบลกำเนิดนพคุณ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดเขาโบสถ์ ม.1 ตำบลกำเนิดนพคุณ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดนาผักขวง ม. 2 ตำบลกำเนิดนพคุณ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดห้วยทรายขาว ม. 1 ตำบลกำเนิดนพคุณ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดเขาตะล่อม ม. 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดเขาถ้ำม้าร้อง ม. 1 ตำบลพงศ์ประศาสน์ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดชะม่วง ม. 3 ตำบลพงศ์ประศาสน์ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดทุ่งมะพร้าว ม. 7 ตำบลพงศ์ประศาสน์ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดหินกอง ม. 2 ตำบลพงศ์ประศาสน์ บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดเกาะยายฉิม ม. 5 ตำบลร่อนทอง บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77230
วัดสุวรรณาราม ม. 4 ตำบลร่อนทอง บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77230
วัดเขาถ้ำคีรีวง ม. 1 ตำบลธงชัย บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดชัยภูมิ ม. 5 ตำบลธงชัย บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดดอนยาง ม. 6 ตำบลธงชัย บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดทางสาย ม. 9 ตำบลธงชัย บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดธงชัยธรรมจักร ม. 2 ตำบลธงชัย บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดมรสวบ ม. 4 ตำบลชัยเกษม บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดรักดีคีรีวัน ม. 1 ตำบลชัยเกษม บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดหนองจันทร์ ม. 2 ตำบลชัยเกษม บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดหนองโปร่ง ม. 9 หนองโปร่ง ตำบลชัยเกษม บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77190
วัดทองมงคล ม.6 ตำบลทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77230
วัดธรรมรัตน์ ม. 5 ตำบลทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77230
วัดโป่งโก ม. 2 ตำบลทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77230
วัดดอนสำราญ ม. 1 ตำบลแม่รำพึง บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
วัดบ่อทองหลาง ม. 2 ตำบลแม่รำพึง บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140

อำเภอบางสะพานน้อย

วัดเขาราษฎร์บำรุง ม. 1 ตำบลปากแพรก บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดเขาลักจันทร์ ม.3 เขาลักจันทร์ ตำบลปากแพรก บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดสาเก ม. 1 ตำบลปากแพรก บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดคลองน้ำเค็ม ม. 2 ตำบลบางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดดอนตะเคียน ม. 9 ตำบลบางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดท่าม่วง ม. 5 ตำบลบางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดละหาน ม.4 ตำบลบางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดกำมะเสน ม. 2 ตำบลทรายทอง บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดดอนอารีย์ ม. 6 ตำบลทรายทอง บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดบางเบิด ม. 5 ตำบลทรายทอง บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดห้วยสัก ม. 7 ตำบลทรายทอง บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170
วัดดอนมะกอก ม. 3 ตำบลช้างแรก บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 77170

อำเภอปราณบุรี

วัดนาห้วย ม. 3 ตำบลปราณบุรี ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดปราณบุรี ม. 5 ตำบลปราณบุรี ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดสิทธิสังฆาราม ม. 8 ตำบลปราณบุรี ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดเขาน้อย ม. 2 ตำบลเขาน้อย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดธรรมวารีศรีรัตนาราม ม. 5 ตำบลเขาน้อย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดแหลมเจ้าสัว ม. 5 ตำบลเขาน้อย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดเกษตรกันทราราม ม. 2 ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดหนองแก ม.6 หนองแก ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดหนองหญ้าปล้อง ม. 5 ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดหน้าเขาโป่งเหนือ ม. 6 ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดใหม่ลาดวิถี ม. 2 ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดอรัญญิกาวาส ม. 3 ตำบลศิลาลอย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดเขาน้อย (ปากน้ำ) ม. 2 ตำบลปากน้ำปราณ ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77220
วัดปากคลองปราณ ม. 2 ตำบลปากน้ำปราณ ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77220
วัดสุมนาวาส ม. 4 ตำบลปากน้ำปราณ ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77220
วัดบางปู ม. 8 ตำบลสามร้อยยอด ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดบ้านใหม่ ม.1 ตำบลสามร้อยยอด ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดพุ ม.4 ตำบลสามร้อยยอด ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดหนองข้าวเหนียว ม. 2 ตำบลสามร้อยยอด ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดหุบตาโคตร ม.7 หุบตาโคตร ตำบลสามร้อยยอด ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดตรีสตกูฎ ม. 5 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดตาลเจ็ดยอด ม.4 ตาลเจ็ดยอด ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดนิโครธาราม ม. 7 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดเนินกรวด ม. 2 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดศรีทุ่งทอง ม. 2 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดศาลาลัย ม. 7 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดหนองเป่าปี่ ม. 3 ตำบลไร่เก่า ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77180
วัดเฉลิมประดิษฐาราม ม. 1 ตำบลหนองตาแต้ม ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดธรรมประชาราม ม. 3 ตำบลหนองตาแต้ม ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดศรีรัชดาราม ม. 6 ตำบลหนองตาแต้ม ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดหนองยิงหมี ม. 7 ตำบลหนองตาแต้ม ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดเขาดิน ม. 4 ตำบลวังก์พง ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดรังษีนิมิต ม. 3 ตำบลวังก์พง ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดวังก์พง ม. 2 ตำบลวังก์พง ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120
วัดวังยาว ม. 3 ตำบลวังก์พง ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 77120

อำเภอหัวหิน

วัดไกลกังวล ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาน้อย ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดคีรีวงศาราม บ้านบ่อพญานาค ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดบ่อฝ้าย ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดบุษยบรรพต ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดวิเวกสันติธรรม ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดสมอโพรง ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดสุขสำราญ ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหัวหิน ตำบลหัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาไกรลาศ ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาตะเกียบ ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาเต่า ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาลั่นทม เขาลั่นทม ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขาใหญ่อรุณบุญยราษฎร์ ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดพุทธไชโย ไร่ใหม่ ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองแก ตำบลหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเพชราวุช ม. 2 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองขอน ม.2 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองคล้า ม. 8 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองซอ ม. 6 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองตะเภา ม. 7 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเหียงปม ม. 2 ตำบลหินเหล็กไฟ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองพลับ ม. 2 ตำบลหนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองยายอ่วม ม.4 ตำบลหนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดห้วยไทรงาม ม. 3 ตำบลหนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดเขานกกระจิบ ม.6 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดทุ่งยาว ม. 5 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดมาลัยทับใต้ ม. 4 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองไผ่ ม. 11 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดหนองพรานพุก ม. 3 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110
วัดห้วยมงคล ม. 6 ตำบลทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110

20/3/53

รายชื่อวัดในจังหวัดเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรี


อำเภอเมืองเพชรบุรี

1. วัดกำแพงแลง ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

2. วัดเกาะ ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

3. วัดจันทราวาส ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

4. วัดชีว์ประเสริฐ ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

5. วัดไตรโลก ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

6. วัดธ่อเจริญธรรม ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

7. วัดป้อม ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

8. วัดพรหมวิหาร ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

9. วัดพระทรง ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

10. วัดเพชรพลี ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

11. วัดแรก ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

12. วัดลาด ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

13. วัดสนามพราหมณ์ ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

14. วัดใหญ่สุวรรณาราม ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

15. วัดอุทัยโพธาราม ตำบลท่าราบ เมือง เพชรบุรี 76000

16. วัดกุฎีดาว ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

17. วัดแก่นเหล็ก ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

18. วัดข่อย ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

19. วัดคงคาราม ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

20. วัดโคก ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

21. วัดช้าง ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

22. วัดชีสระอินทร์ ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

23. วัดไชยสุรินทร์ ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

24. วัดถ้ำแก้ว บ้านหม้อ ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

25. วัดพระพุทธไสยาสน์ ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

26. วัดพลับพลาชัย ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

27. วัดมหาธาตุ ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

28. วัดมหาสมณาราม ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

29. วัดยาง ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

30. วัดรัตนตรัย ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

31. วัดสระบัว ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

32. วัดอัมพวันปิยาราม ตำบลคลองกระแชง เมือง เพชรบุรี 76000

33. วัดปากน้ำ ม. 9 ตำบลบางจาน เมือง เพชรบุรี 76000

34. วัดโพธิ์ทัยมณี ม. 1 ตำบลบางจาน เมือง เพชรบุรี 76000

35. วัดใหม่เจริญธรรม ม. 1 ตำบลบางจาน เมือง เพชรบุรี 76000

36. วัดดอนมะขามช้าง ม. 5 ตำบลนาพันสาม เมือง เพชรบุรี 76000

37. วัดนาพรม ม. 8 ตำบลนาพันสาม เมือง เพชรบุรี 76000

38. วัดธงไชย ม. 1 ตำบลธงชัย เมือง เพชรบุรี 76000

39. วัดบุญทวี(ถ้ำแกลบ) ม. 8 ตำบลธงชัย เมือง เพชรบุรี 76000

40. วัดวิหารโบสถ์ ม. 8 ตำบลธงชัย เมือง เพชรบุรี 76000

41. วัดอินทาราม ม. 7 ตำบลธงชัย เมือง เพชรบุรี 76000

42. วัดขุนตรา ม. 2 ตำบลบ้านกุ่ม เมือง เพชรบุรี 76000

43. วัดบันไดทอง ม. 5 ตำบลบ้านกุ่ม เมือง เพชรบุรี 76000

44. วัดชมพูพน ม. 2 ตำบลหนองโสน เมือง เพชรบุรี

45. วัดสิงห์ ม. 6 ตำบลหนองโสน เมือง เพชรบุรี

46. วัดบันไดอิฐ ม. 9 ตำบลไร่ส้ม เมือง เพชรบุรี

47. วัดโรงเข้ ม. 7 ตำบลไร่ส้ม เมือง เพชรบุรี

48. วัดไร่ดอน ม. 1 ตำบลไร่ส้ม เมือง เพชรบุรี

49. วัดเวียงคอย ม. 1 ตำบลเวียงคอย เมือง เพชรบุรี

50. วัดเจริญศรีมณีผล ม. 5 ตำบลบางจาก เมือง เพชรบุรี

51. วัดทองนพคุณ ม. 4 ตำบลบางจาก เมือง เพชรบุรี

52. วัดประดิษฐวนาราม ม. 2 ตำบลบ้านหม้อ เมือง เพชรบุรี

53. วัดท่าศิริ ม. 2 ตำบลต้นมะม่วง เมือง เพชรบุรี 76000

54. วัดนาค ม. 1 ตำบลช่องสะแก เมือง เพชรบุรี 76000

55. วัดพระรูป ม. 6 ตำบลช่องสะแก เมือง เพชรบุรี 76000

56. วัดไสกระดาน ม. 3 ตำบลนาวุ้ง เมือง เพชรบุรี 76000

57. วัดลาดโพธิ์ ม. 6 ตำบลสำมะโรง เมือง เพชรบุรี 76000

58. วัดสำมะโรง ม. 3 ตำบลสำมะโรง เมือง เพชรบุรี 76000

59. วัดโพธิ์พระนอก ม. 4 ตำบลโพพระ เมือง เพชรบุรี 76000

60. วัดโพธิ์พระใน ม. 5 ตำบลโพพระ เมือง เพชรบุรี 76000

61. วัดบางทะลุ ม. 4 ตำบลหาดเจ้าสำราญ เมือง เพชรบุรี 76000

62. วัดหาดเจ้าสำราญ ม. 2 ตำบลหาดเจ้าสำราญ เมือง เพชรบุรี 76000

63. วัดเขมาภิรัตการาม ม. 10 ตำบลหัวสะพาน เมือง เพชรบุรี 76000

64. วัดบ่อหลวง ม.11 บ่อหลวง ตำบลหัวสะพาน เมือง เพชรบุรี 76000

65. วัดหนองควง ม. 1 ตำบลต้นมะพร้าว เมือง เพชรบุรี 76000

66. วัดเพรียง ม. 4 ตำบลโพไร่หวาน เมือง เพชรบุรี 76000

67. วัดถิ่นปุรา ม. 2 ตำบลดอนยาง เมือง เพชรบุรี 76000

68. วัดหนองไม้เหลือง ม. 11 ตำบลดอนยาง เมือง เพชรบุรี 76000

69. วัดลุ่มโพธิ์ทอง ม. 11 ตำบลหนองขนาน เมือง เพชรบุรี 76000

70. วัดหนองหว้า ม. 8 ตำบลหนองขนาน เมือง เพชรบุรี 76000

71. วัดธรรมรังษี ม. 7 ตำบลหนองพลับ เมือง เพชรบุรี 76000

อำเภอเขาย้อย

1. วัดเขาย้อย ม. 5 ตำบลเขาย้อย เขาย้อย เพชรบุรี 76140

2. วัดท้ายตลาด ม. 6 ตำบลเขาย้อย เขาย้อย เพชรบุรี 76140

3. วัดพระธาตุศิริชัย ม. 5 ตำบลเขาย้อย เขาย้อย เพชรบุรี 76140

4. วัดยาง ม. 3 ตำบลเขาย้อย เขาย้อย เพชรบุรี 76140

5. วัดห้วยหลวง ม. 6 ตำบลเขาย้อย เขาย้อย เพชรบุรี 76140

6. วัดเขานาควิวัฒน์ ม. 1 ตำบลสระพัง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

7. วัดสระพัง ม. 1 ตำบลสระพัง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

8. วัดสวนโมก ม. 1 ตำบลสระพัง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

9. วัดหนองส้ม ม. 4 ตำบลสระพัง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

10. วัดกุฎิ ม. 4 ตำบลบางเค็ม เขาย้อย เพชรบุรี 76140

11. วัดบ้านกล้วย ม. 1 ตำบลบางเค็ม เขาย้อย เพชรบุรี 76140

12. วัดโพธิ์งาม ม. 2 ตำบลบางเค็ม เขาย้อย เพชรบุรี 76140

13. วัดเขาพระ ม. 1 ตำบลทับคาง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

14. วัดดอนทราย ม. 1 ตำบลทับคาง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

15. วัดเทพประชุมนิมิตร ม. 2 ตำบลทับคาง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

16. วัดบ้านบน ม. 4 ตำบลทับคาง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

17. วัดเขาสมอระบัง ม. 1 ตำบลหนองปลาไหล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

18. วัดเวฬุวนาราม (บ้านไผ่) ม. 3 ตำบลหนองปลาไหล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

19. วัดหนองปลาไหล ม. 2 ตำบลหนองปลาไหล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

20. วัดหนองปรง ม. 4 ตำบลหนองปรง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

21. วัดพวงมาลัย ม. 3 ตำบลหนองชุมพล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

22. วัดพุม่วง ม.5 หนองชุมพล ตำบลหนองชุมพล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

23. วัดหนองชุมพล ม. 5 ตำบลหนองชุมพล เขาย้อย เพชรบุรี 76140

24. วัดกาจับศรัทธาธรรม ม. 3 ตำบลห้วยโรง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

25. วัดห้วยโรง ม. 1 ตำบลห้วยโรง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

26. วัดกุญชรวชิราราม (ห้วยท่าช้าง) ม. 4 ตำบลห้วยท่าช้าง เขาย้อย เพชรบุรี 76140

27. วัดคีรีวงก์ ม. 4 ตำบลชุมพลเหนือ เขาย้อย เพชรบุรี 76140

28. วัดทรงธรรม ม. 2 ตำบลชุมพลเหนือ เขาย้อย เพชรบุรี 76140

29. วัดมณีเลื่อน ม. 3 ตำบลชุมพลเหนือ เขาย้อย เพชรบุรี 76140

30. วัดศีลคุณาราม ม. 2 ตำบลชุมพลเหนือ เขาย้อย เพชรบุรี 76140

อำเภอหนองหญ้าปล้อง

1. วัดจะโปรง ม. 5 ตำบลหนองหญ้าปล้อง หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

2. วัดวังพุไทร ม.6 พุไทร ตำบลหนองหญ้าปล้อง หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

3. วัดหนองหญ้าปล้อง ม. 4 ตำบลหนองหญ้าปล้อง หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

4. วัดลิ้นช้าง ม.3 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี

5. วัดพุพลู ม. 3 ตำบลยางน้ำกลัดใต้ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

6. วัดยางน้ำกลัดใต้ ม. 1 ตำบลยางน้ำกลัดใต้ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

7. วัดเขาชมพู ม. 2 ตำบลท่าตะคร้อ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 76160

อำเภอชะอำ

1. วัดชะอำ ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

2. วัดไทรย้อย ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

3. วัดเนรัญชราราม ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

4. วัดมฤคทายวัน ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

5. วัดราษฎร์เจริญธรรม ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

6. วัดหนองแจง ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี

7. วัดหนองตาพต ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 76120

8. วัดห้วยทรายใต้ ห้วยทรายใต้ ตำบลชะอำ ชะอำ เพชรบุรี

9. วัดโตนดหลวง ม. 9 ตำบลบางเก่า ชะอำ เพชรบุรี 76120

10. วัดสมุทรคาม ม. 4 ตำบลบางเก่า ชะอำ เพชรบุรี 76120

11. วัดคลองสายหนึ่ง ม. 5 ตำบลนายาง ชะอำ เพชรบุรี 76120

12. วัดเทพประสิทธิ์ ม. 2 ตำบลนายาง ชะอำ เพชรบุรี 76120

13. วัดนายาง ม. 2 ตำบลนายาง ชะอำ เพชรบุรี 76120

14. วัดนิคมวชิราราม ม. 2 ตำบลเขาใหญ่ ชะอำ เพชรบุรี 76120

15. วัดหุบกะพง ม. 8 ตำบลเขาใหญ่ ชะอำ เพชรบุรี 76120

16. วัดหนองศาลา ม. 1 ตำบลหนองศาลา ชะอำ เพชรบุรี 76120

17. วัดช้างแทงกระจาด ม. 2 ตำบลสามพระยา ชะอำ เพชรบุรี 76120

18. วัดอ่างหิน ม.6 อ่างหิน ตำบลสามพระยา ชะอำ เพชรบุรี 76120

19. วัดไตรรัตน์เจริญผล ม. 2 ตำบลดอนขุนห้วย ชะอำ เพชรบุรี 76120

20. วัดหนองเผาถ่าน ม. 3 ตำบลดอนขุนห้วย ชะอำ เพชรบุรี 76120

อำเภอท่ายาง

1. วัดบรรพตาวาส ม. 6 ตำบลท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

2. วัดราษฎร์บำรุง ม. 3 ตำบลท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

3. วัดวิบูลย์ประชาสรรค์ ม. 3 ตำบลท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

4. วัดสหธรรมิการาม ม. 8 ตำบลท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

5. วัดเกษมสุทธาราม ม. 1 ตำบลท่าคอย ท่ายาง เพชรบุรี 76130

6. วัดเขื่อนเพชร ม. 4 ตำบลท่าคอย ท่ายาง เพชรบุรี 76130

7. วัดชลธราราม ม. 6 ตำบลท่าคอย ท่ายาง เพชรบุรี 76130

8. วัดท่าคอย ม. 3 ตำบลท่าคอย ท่ายาง เพชรบุรี 76130

9. วัดธรรมาราม ม. 5 ตำบลยางหย่อง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

10. วัดหนองจอก ม. 6 ตำบลหนองจอก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

11. วัดหนองบัว ม. 3 ตำบลหนองจอก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

12. วัดชายนา ม. 8 ตำบลมาบปลาเค้า ท่ายาง เพชรบุรี 76130

13. วัดตาลกง ม. 5 ตำบลมาบปลาเค้า ท่ายาง เพชรบุรี 76130

14. วัดอรัญญาราม ม. 3 ตำบลมาบปลาเค้า ท่ายาง เพชรบุรี 76130

15. วัดท่าลาว ม. 5 ตำบลท่าไม้รวก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

16. วัดศรีชุมแสง ม. 4 ตำบลท่าไม้รวก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

17. วัดหนองเตียน ม. 2 ตำบลท่าไม้รวก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

18. วัดบางประจันต์ ม. 3 ตำบลวังไคร้ ท่ายาง เพชรบุรี 76130

19. วัดแม่ประจันต์ ม.1 ตำบลวังไคร้ ท่ายาง เพชรบุรี 76130

20. วัดสารหิตาวาส ม. 3 ตำบลกลัดหลวง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

21. วัดดอนเตาอิฐ ม. 3 ตำบลปึกเตียน ท่ายาง เพชรบุรี 76130

22. วัดเขาปากชอง ม. 7 ตำบลท่าแลง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

23. วัดราษฎร์นิมิต ม. 2 ตำบลท่าแลง ท่ายาง เพชรบุรี 76130

24. วัดหนองตาฉาว ม. 2 ตำบลเขากระปุก ท่ายาง เพชรบุรี 76130

อำเภอบ้านลาด

1. วัดเกาะแก้วสุทธาราม ม. 4 ตำบลบ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

2. วัดป่าแป้น ม. 3 ตำบลบ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

3. วัดไม้รวกสุขาราม ม. 1 ตำบลบ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

4. วัดลาดศรัทธาราม ม. 6 ตำบลบ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

5. วัดใหม่ประเสริฐ ม. 7 ตำบลบ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

6. วัดกุ่ม ม. 2 ตำบลบ้านหาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

7. วัดเขาน้อย ม. 5 ตำบลบ้านหาด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

8. วัดจันทาราม ม. 1 ตำบลบ้านทาน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

9. วัดโพธิ์เรียง ม.1 ตำบลบ้านทาน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

10. วัดตำหรุ ม. 4 ตำบลตำหรุ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

11. วัดระหารน้อย ม. 2 ตำบลตำหรุ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

12. วัดศาลาเขื่อน ม. 1 ตำบลตำหรุ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

13. วัดอินจำปา ม. 6 ตำบลตำหรุ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

14. วัดท่าไชยศิริ ม. 1 ตำบลสมอพลือ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

15. วัดโพธาวาส ม. 2 ตำบลสมอพลือ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

16. วัดห้วยเสือ ม. 5 ตำบลสมอพลือ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

17. วัดเขาทะโมน ม. 9 ตำบลท่าเสน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

18. วัดท่าศาลาราม ม. 2 ตำบลท่าเสน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

19. วัดหาดทราย ม. 6 ตำบลท่าเสน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

20. วัดช่อม่วง ม. 5 ตำบลหนองกระเจ็ด บ้านลาด เพชรบุรี 76150

21. วัดโพธิ์ลอย ม. 3 ตำบลหนองกะปุ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

22. วัดวังบัว ม. 1 ตำบลลาดโพธิ์ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

23. วัดดอนหว้า ม. 2 ตำบลสะพานไกร บ้านลาด เพชรบุรี 76150

24. วัดหัวนา ม. 5 ตำบลไร่โคก บ้านลาด เพชรบุรี 76150

25. วัดดอนกอก ม. 3 ตำบลโรงเข้ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

26. วัดหนองกาทอง ม. 1 ตำบลโรงเข้ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

27. วัดบ่อบุญ ม. 1 ตำบลไร่สะท้อน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

28. วัดหนองแก ม. 6 ตำบลไร่สะท้อน บ้านลาด เพชรบุรี 76150

29. วัดเนินหนองโสน ม.3 เนินหนองโสน ตำบลห้วยข้อง บ้านลาด เพชรบุรี 76150

30. วัดโพธิ์กรุ ม. 3 ตำบลท่าช้าง บ้านลาด เพชรบุรี 76150

31. วัดขลุบ ม. 1 ตำบลถ้ำรงค์ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

32. วัดถ้ำรงค์ ม. 3 ตำบลถ้ำรงค์ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

33. วัดม่วงงาม ม.2 ม่วงงาม ตำบลถ้ำรงค์ บ้านลาด เพชรบุรี 76150

34. วัดหนองจอก ม. 3 ตำบลห้วยลึก บ้านลาด เพชรบุรี 76150

อำเภอบ้านแหลม

1. วัดต้นสน ม. 2 ตำบลบ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

2. วัดในกลาง ม. 3 ตำบลบ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

3. วัดลักษณาราม ม. 7 ตำบลบ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

4. วัดศีรษะคาม ม. 4 ตำบลบ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

5. วัดอุตมิงคาวาส ม. 1 ตำบลบ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

6. วัดดอนผิงแดด ม. 6 ตำบลบางขุนไทร บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

7. วัดไทรทอง ม.1 ตำบลบางขุนไทร บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

8. วัดบางขุนไทร ม. 2 ตำบลบางขุนไทร บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

9. วัดนอกปากทะเล ม. 2 ตำบลปากทะเล บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

10. วัดในปากทะเล ม. 3 ตำบลปากทะเล บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

11. วัดพิกุลแก้ว ม. 4 ตำบลบางแก้ว บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

12. วัดราษฎร์ศรัทธา ม. 6 ตำบลบางแก้ว บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

13. วัดสมุทรโคดม ม.1 ตำบลแหลมผักเบี้ย บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

14. วัดสมุทรธาราม(สมุทธาราม) ม. 3 ตำบลแหลมผักเบี้ย บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

15. วัดคุ้งตำหนัก ม. 7 ตำบลบางตะบูน บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

16. วัดปากลัด ม. 3 ตำบลบางตะบูน บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

17. วัดเกาะแก้ว ม. 1 ตำบลบางตะบูนออก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

18. วัดปากอ่าว ม. 3 ตำบลบางตะบูนออก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

19. วัดเพชรสุวรรณ ม. 5 ตำบลบางตะบูนออก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

20. วัดเขาตะเครา ม. 5 ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

21. วัดบางลำภู ม. 3 ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

22. วัดบางหอ ม.11 บางหอ ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

23. วัดปากคลอง ม. 4 ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

24. วัดเฟื้อสุธรรม ม. 6 ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

25. วัดสุทธาวาส ม. 1 ตำบลบางครก บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

26. วัดกุฎิ ม. 5 ตำบลท่าแร้ง บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

อำเภอแก่งกระจาน

1. วัดสองพี่น้อง ม.1 สองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง แก่งกระจาน เพชรบุรี

2. วัดแก่งกระจาน ม. 1 ตำบลแก่งกระจาน แก่งกระจาน เพชรบุรี 76170

3. วัดเขากลิ้ง ม. 11 ตำบลแก่งกระจาน แก่งกระจาน เพชรบุรี 76170

4. วัดวังจันต์ ม. 1 ตำบลวังจันทร์ แก่งกระจาน เพชรบุรี 76170

5. วัดหนองมะกอก ม. 2 ตำบลวังจันทร์ แก่งกระจาน เพชรบุรี 76170

6. วัดร่วมใจพัฒนา ม.2 ร่วมใจพัฒนา ตำบลป่าเด็ง แก่งกระจาน เพชรบุรี