20/2/58

ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น ตระกุดคู่มหาอำนาจ หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง


ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น พุทธโคดม หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง


ประวัติการสร้างเหรียญรุ่นเสาร์ 5 หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง


ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น 4 หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง


ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น 3 หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง



ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น 2 หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง

ประวัติการสร้างเหรียญรุ่น 1 หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง


9/2/58

ประวัติการสร้างเหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี หลวงพ่อนาค วัดหัวหิน ที่หลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล หรือหลวงพ่อละม้ายได้สร้างไว้




เหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี ที่หลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล หรือหลวงพ่อละม้ายได้สร้างไว้


สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นเหรียญที่โด่งดังและได้รับความนิยมรองลงมาจากเหรียญรุ่น พ.ศ. 2499 ขณะที่สร้างเหรียญรุ่นนี้เป็นที่ฮือฮาในวงการมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาดำเนินการสร้างซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด เวลาในการสั่งจองของผู้มีความประสงค์ รวมตลอดถึงการแจกจ่ายจำนวนเหรียญ ล้วนสิ้นสุดด้วยความรวดเร็วทั้งสิ้น
ปฐมเหตุการสร้าง การสร้างเหรียญรุ่นนี้สืบเนื่องมาจากนับตั้งแต่พระครูวิริยาธิการีมรณภาพลงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเสมอมาทุกปี วันจัดงาน คือ วันที่ 24 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันมรณะภาพของท่าน แต่สำหรับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เป็นวันอาทิตย์ตรงกับวันที่ท่านมรณภาพพอดีจากวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2520 นับย้อนกลับไปถึงวันที่ท่านมรณภาพเป็นเวลา 43 ปี และเมื่อย้อนกลับไปถึงวันอุปสมบทของท่านกํปรากฏว่าท่านอุปสมบท พ.ศ. 2453 นับเวลาจากที่ได้อุปสมบทถึงมรณภาพรวม 43 พรรษา พอดีอีก ฉะนั้นเมื่อย้อนหลังจากปี พ.ศ. 2520 ไปถึงที่ท่านกำเนิดคือ พ.ศ. 2400 แล้ว ก็เป็นเวลายาวนานถึง 120 ปี กาลเวลาหมุนเวียนไปตามกฏธรรมชาติเช่นนี้ แต่บังเอิญไปสอดคล้องกับชนมายุสมัยของท่านเข้า คณะศิษยานุศิษย์จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษของท่านสมควรจัดงานบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษและสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เรียกว่าเหรียญที่ระลึก 120 ปี โดยกำหนดให้เหรียญที่จะสร้างมีเค้าลักษณะเหมือนเหรียญรุ่นแรกของท่านส่วนรายได้ที่ได้จาดการนำเหรียญออกให้เช่าบูชาก็จะได้มอบให้วัดหัวหินนำไปสร้างถาวรวัตถุของวัดต่อไป เหรียญรุ่นนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดทองแดงรมดำ จำนวน เหรียญและชนิดเงินสร้างตามจำนวนผู้สังจอง


ลักษณะของเหรียญ เรือนกรอบเป็นทรงเสมา ขนาดความสูงจากปลายสูงของดวงกุดั่นถึงยอดห่วงประมาณ 3.5 ซ.ม. ความกว้างประมาณ1.8 ซ.ม. ส่วนคอดประมาณ 2.1 ซ.ม. และส่วนผายประมาณ 2.3 ซ.ม.


ลักษณะด้านหน้า เรือนกรอบของเสมาเป็นลายพญานาคคู่ เศียรนาคผกหน้ากลับออกนอกขอบบนมีลักษณะเป็นเส้นกระหนาบคู่ขนานกัน มีลายบัวคว่ำซ้อนกัน 2 แถว ๆแรก 5 กลีบ แถวหลัง 5 กลีบ ส่วนล่างที่ลายพญานาคมาบรรจบกันเป็นลายกุดั่นครึ่งซีก กลีบบบนของลวดลายวาดขึ้นทะลุเลยเส้นกระหนาบกรอบพญานาคขึ้นไปเล็กน้อยตรงกลางของเหรียญเป็นรูปพระครูวิริยาธิการีแบบครึ่งองค์แสดงรายละเอียดของใบหน้า เส้นผม ริ้วจีวร สังฆาฏิ และอื่นๆ อย่างชัดเจน มีอักษรไทยตัวนูนเหนือเคียรขององค์พระ 2 แถว ๆแรกว่า ที่ระลึก แถวที่ 2 ว่า 120 ปี ส่วนล่างใต้องค์พระมีอักษรไทยตัวนูนเรียงตามแนวโค้งของกรอบลายพญานาคว่า พระครูวิริยาธิการี
ลักษณะด้านหลังของเหรียญมีข้อแตกต่างจากเหรียญรุ่นแรกตรงคำว่า 120 ปี กับ ส่วนเว้าใต้คางพญานาค ซึ่งช่างไม่สามารถแกะฉลุได้ทัน เพราะมีเวลาจำกัดและไม่อาจทำตัวตัดในบล็อกได้ จุดเด่นของเหรียญาอยู่ที่ตรงใบหน้าของพระครูวิริยาธิการี ที่ช่างผู้แกะบล๊อกสามารถแสดงรายละเอียดของใบหน้าได้เหมือนกับใบหน้าจริงของท่านอย่างดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากเปรียบกับความงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยยังสู้เหรียญรุ่นแรกไม่ได้


ความมหัศจรรย์ในการแจกจ่ายเหรียญ คณะกรรมการได้กำหนดแจกจ่ายเหรียญ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00น เป็นต้นไปสำหรับเหรียญบรรจุกล่องติดหมายเลขหน้ากล่องให้ตรงกับหมายเลขของเหรียญผู้จองมีหมายเลขใดก็รับเหรียญตามหมายเลขนั้น ส่วนเหรียญทองแดงปรากฏว่าพอเริ่มเวลา 18.00 น.ก็มีประชาชนหลั่งไหลมารับเหรียญกันมากมาย จนระดมพระในวัดช่วยกันระมัดระวังและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาทำบุญรับเหรียญจากการตรวจสอบยอดเหรียญทองแดงที่จ่ายออกไปถึงเวลา 23.00 น. เป็นจำนวนถึง 4282 เหรียญ คณะกรรมการจึงต้องตัดสินใจปิดการแจกจ่ายรอไว้วันรุ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากอำเภอใกล้เคียงได่มีโอกาสมารับเหรียญบ้าง ครั้นวันรุ่งขึ้นวันที่ 25 กรกรฎาคม พ.ศ. 2520 เวลา 7.00 น.ประชาชนได้ฮือฮากันเข้ามาขอเหรียญอีก ทางคณะกรรมการจำต้องอนุโลมตามความประสงค์ของผู้มีจิตศรัทธาจนเหรียญทองแดงส่วนที่เหลือหมดลงเมื่อเวลา 9.30 น. นับจากเริ่มเปิดให้เช่าทำบุญจนเหรียญหมด 7 ชั่วโมงครึ่งพอดี


เหรียญรุ่นนี้ จึงมียอดให้เช่าบูชาสูงสุดในระยะเวลาสั้นที่สุดในรอบปี พ.ศ. 2520 และจนบัดนี้ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีเหรียญของพระเกจิอาจารย์ใดทำลายสถิตินี้ได้ (ในตอนนั้น)
ที่มา หนังสือยอดเกจิ