6/7/55

พระเครื่อง

เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก  อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหรียญรุ่น ทองกระทะเนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ รุ่น พิชิตชัยเนื้อทองแดงหลังครั่ง

เหรียญหลวงพ่อสิน  พ.ศ.2459

เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง พ.ศ.2522


เหรียญหลวงพ่ออรุณหลวง พ่อหว่าง วัดปากคลองปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระเครื่องพระจวบ

เหรียญหลวงพ่อคูณ  เหรียญครบรอบ 73 ปี พ.ศ.2538

เหรียญหลวงพ่อแคล้ว รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำบุญครบรอบ 81 ปี

เหรียญหลวงพ่อทวด วัดประชาวงศาราม ต.กรูด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี รุ่นพิเศษ พ.ศ. 2537 

เหรียญหลวงพ่อทองเบิ้ม วัดวังยาว อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อเมี้ยน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อทองสุข วัดหนองข้าวเหนียว อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

เหรียนหลวงพ่อบัว พ.ศ.2519 วัดหลวงอ่างแก้ว จ.สมุทรสาคร

เหรียญพระครูพรหมวิหารธรรม หลวงพ่อบุศย์ วัดพรหมวิหาร

เหรียญพระอุปัชฌย์ หลวงพ่อประดิษย์ พ.ศ.2519 วัดนอกปากทะเล จ.เพชรบุรี

เหรียญหลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อเจริญ หลังหลวงพ่อโต วัดหนองยาง อ.นายาง จ.อุทัยธานี

เหรียญหลวงพ่อพาน พ.ศ.2538 วัดโปร่งกระสัง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญที่ระลึกในงานหล่อรูปหลวงพ่อผล

เหรียญหลวงพ่อปรอด พ.ศ. 2492 วัดในปากทะเล

พระเครื่องปราณบุรี

ตระกรุดหลวงพ่อตัด วัดชายนา จารด้่านนอกด้านใน จ.เพชรบุรี

พระเนื้อผงปิดตาหลวงพ่อทอง วัดเขากระจิว จ.เพชรบุรี 

เหรียญหลวงพ่อทองเบิ้ม รุ่นสร้างกุฏิ วัดวังยาว อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อแย้ม อินทโชติ ครบรอบ 50 ปี วัดบุญทวี จ.เพชรบุรี

เหรียญพระครูโสภณวชิรธรรม ครบรอบ อายุ 72 ปี  พ.ศ.2515 วัดบุญทวี

เหรียญพระพุทธมิ่งเมืองทักษิณ เสด็จพระราชดำเนินเททอง พ.ศ.2522 จ.นครครีธรรมราช

เหรียญหลวงพ่อ พระมงคลมุนี ที่ระลึกในงานทองผ้าป่าสามัคคี สร้างโบสถ์ วัดเขาพระ จ.เพชรบุรี

เหรียญหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก พ.ศ. 2529 จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อปู่แก้ว หลวงเปลื้อง วัดหัวนาพ.ศ.2530 จ.เพชรบุรี

 เหรียญหลวงพ่อพ่วง 80 หลวงพ่อไกร 120 วัดบ่อตะกั่ว

เหรียญหลวงพ่อคำ วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

5/7/55

พระเครื่องหัวหิน

เหรียญสามสิงห์ สามภพพ้าย พ.ศ.2520 หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญส.ช่วยโลก พ.ศ.2520 หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นรวงข้าว สร้างศาลาการเปรียญ พ.ศ.2534 อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญทรงน้ำเต้า หลวงพ่อชิต ฉลองชนมายุครบ 7 รอบ พ.ศ.2524 วัดเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญพระรัตนมุนี พ.ศ.2523 พระบรมธาตุนครสรีธรรมราช จ.นครครีธรรมราช

เหรียญหลวงพ่อพาน วัดโปร่งกระสัง รุ่นเสาร์5 อ.กุนบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อยงค์ วัดหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี (เหรียญมีประสบการณ์

เหรียญพระครูวิมลคุณากร หลวงพ่อทองศุข วัดมะขามเฒ่า พ.ศ.2521 
ราคา 1000 บาท

เหรียญพระศิลวัตร หลวงพ่อละม้าย วัดหัวหิน พ.ศ.2515 ที่ระลึกในงานทำบุญครบ80 ปีบริบูรณ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญพระศิลวัตร หลวงพ่อละม้าย วัดหัวหิน พ.ศ.2507  อ.ที่ระลึกในงานทำบุญครบ 72 ปีบริบูรณ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เหรียญหลวงพ่อแถม รุ่นสอง วัดช้างแทงกระจาด จ.เพชรบุรี

27/3/55

สองเกจิดัง ‘‘วัดหัวหิน’’ หลวงพ่อนาค-หลวงพ่อละม้าย


สองเกจิดัง ‘‘วัดหัวหิน’’
หลวงพ่อนาค-หลวงพ่อละม้าย
‘‘เพชรน้ำเอกแห่งทะเลตะวันตก’’

วัดหัวหินแม้เป็นวัดเล็กๆแต่มีความสำคัญในฐานะที่พระบรมวงศานุวงศ์เจ้านายและข้าราชบริพารได้บริจาค
ถ้าเอ่ยถึงอำเภอ หัวหินสถานที่พักผ่อนชายทะเล ที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนโลก หลายคนรู้จักวัดหัวหิน เป็นอย่างดี
เพราะถ้าใช้เส้นทางถนนสายนี้ลงไปยังภาคใต้ล่ะก็ต้องผ่านวัดนี้ เพราะตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ก่อนถึงทางแยก
เลี้ยวลงไปชายหาดหัวหิน ที่นี่คือที่มาของ 2 พระอาจารย์ ซึ่งเป็นสุดยอดพระเกจิ  ที่ลือเลี่ยงไปด้วยปฏิทา-จาริวัตร
และเจ้าตำหรับ วัตถุมงคลที่คนทั่วไปแสวงหามาคุ้มครองกาย

วัดหัวหินมีความป็นมายังไง
ตามหลักของวัดกล่าวว่า  วัดหัวหินตั้งอยู่ในหมู่บ้านตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เขตอุปจารของวัดคือ ทิศเหนือ จดโรงเรียนเทศบาลหัวหิน ยาว 220 เมตร ทิศตะวันออก จดถนนพูลสุข  ยาว 180 เมตร ทิศตะวันตก จดถนนเพชรเกษม ยาว 180 เมตร
ทุนทรัพย์ก่อสร้างปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดโดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุปันได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบศาสนกิจหลายครั้งด้วยกัน การก่อสร้างครั้งที่พระครูวิริยาธิการี (หลวงพ่อนาค)  มาอยู่ที่สำนนักสงฆ์หัวหินมีพระภิกษุจากสำนักสงฆ์วังพงฆ์ตามมาด้วย 6 รูป ครั้งนั้นขยายกุฎิเพิ่มขึ้นให้พอเพียง รวมทั้งก่อสร้างกุฎิหลวงพ่อนาคอันเป็นที่พำนักของท่านด้วย  ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันหาทุนสร้างโบสถ์ขึ้นเป็นอุโบสถเสาไม้มะค่าเครื่องบนและฝาไม่สัก มุงกระเบื้ยง (ต่อมาหลวงพ่อนาคให้รื้
อไปสร้างโรงเรียนประชาบาลเมื่อ พ.ศ.2465 )จากนั้นได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาเนื้อที่กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตรและมีงานผูกพัทธสีมาปี พ.ศ.2411 และต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงกุฏิให้ดีขึ้นกว่าเก่าโดยผู้มีจิตรศรัทธาในย่านนั้น

ยอดพระเกจิองค์แรกของวัดหัวหิน
วัดหัวหินได้รับการพิจารณาโดยท่านพระครูวิริยาธิการโดยการร่วมมือจากชาวบ้านหัวหิน จาก ปี พ.ศ.2439 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเป็นดินส่วนมะม่วง ของนายปีง นางอิ่ม เมื่อสร้างวัดแล้วได้ขนานนามว่า  *วัดอัมพาราม*  โดยถือเอาที่ๆสร้างวัดซึ่งเป็นสวนมะม่วงมาตั้งแต่ดั้งเดิมเป็นเป็นนิมิต ภายหลังเรียกว่า วัดแหลมหินแล้วเปลี่ยนชื่อว่า *วัดหัวหิน* ตามนามของตำบลที่ตั้งของวัด  กล่าวกันว่าแต่เดิมก่อนสร้างวัดนั้นเคยมีสำนักสงฆ์อยู่ 2 แห่ง แห่งที่หนึ่งเรียกว่า *วัดโพธิ์* อยู่ตรงบ้านคลิงสมอเรียงในปัจจุบัน มีพระภิกษุอยู่เพียง 1 รูป ส่วนอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า *วักเกตุ* อยู่ในบริเวณบ้านจักรพงษ์ในปัจจุบัน มีพระภิกษุ 2-3 รูปแต่ตามตำนานกล่าวว่าวัดแห่งนี้มักจะไม่มี่พระภิกษุพำนักอยู่เป็นประจำบางที่ก็มาๆปๆซึ่งไม่สะดวกท่จะบำเพ็ญกุศลตามประเพณี ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือกันสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดยการนำของขุนครีเสละคาม (พลอย กระแสสินธิ์) กำนันโต ผู้ใหญ่กล่ำ  ไปอาราธนาพระครูวิริยาธิการ จากสำนักสงฆ์วังพงก์  อำภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาเป็นเจ้าอาวาสในตอนแรก การปกครองสมัยพระครูวิริยาธิการ (นาค ปุญญนาโค) ท่านพัฒนาวัดทั้งทางด้านถาวรวัตถุหลายอย่างโดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในตำบลหัวหินอีกทั้งยังมีทั้งปริยัติศึกษาและสามัญศึกษาควบคู่กันไปด้วยจนกระทั้งท่านมรณภาพไปเมื่อ ปี  พ.ศ. 2477

ยอดรพระเกจิองค์ที่ 2

เมื่อหลวงพ่อมรณะภาพไปแล้วหลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล หรือหลวงพ่อละม้ายก้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดหัวหินสืบต่อมาโดยโดยจะขอกล่าวประวัติของท่านพ่อสังเขปดังนี้
หลวงพ่อละม้ายกำเนิดที่ตำบลปากน้ำปราณ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง  ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม  พ.ศ.  2435 ในแผ่นดินแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5  เดิมนามว่า  *ละม้าย* นามสกุล บุญเชื้อ โยมบิดาชื่อ บัว พื้นเพเดิมโยมบิดาเป็นชาวกรุงเทพมหานครรับราชการเป็นมหาดเล็กในวังกรมพระจักรพรรดิพงษ์  ต่อมาได้ลาออกจาราชการและย้ายถิ่นฐานไปเป็นชาวประมงที่ปากน้ำปราณ โยมมารดาพื้นเพเดิมเป็นชาวเมือง อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
หลวงพ่อละม้ายมีพี่น้องรวม 5 คน คือ 1 นางเสงี่ยม 2 นายคำ 3 นางละมูล 4 พระศิลวัตรวิมล (ละม้าย อมรธมฺโม ) 5 นางละมัย   ชีวิตในวัยเยาว์หลวงพ่อละม้ายศึกษาเล่าเรียน โดยการเรียนที่เรียกว่า *หนังสือวัด* จนอ่านออกเขียนได้และโยมบิดาประกอบอาชีพทำโป๊ะอยู่ 6 ปี ต่อมาโยมบิดาและมารดาเปลี่ยนอาชีพไปทำไร่และค้าขาย  หลวงพ่อละม้ายอายุ  22 ปี พ.ศ. 2457 โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม หลวงพ่อย้ายมาอยู่กับนายคำพี่ชายที่หัวหินและอุปสมบท ณ  พัทธสีมาวัดหัวหิน โดยมีพระครูวิริยาธิการ เป็นพระอุปัชฌาย์   หลวงพ่อเปี่ยม วัดนาห้วย ปราณบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์ทัศน์  วัดเขาน้อย ปราณบุรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อบวชเรียนแล้วท่านเล่าเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนาธุระและพุทธาคมจากพระครูวิริยาธิการ หรือหลวงพ่อนาค จนเชียวชาญ ซึ่งสมัยนั้นชาวบ้านต่างทราบดีว่าหลวงพ่อนาคท่านเก่งทางด้านนี้มาก
หลวงพ่อละม้ายนั้นท่านเป็นพระเถระทีตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติโดยมัชฌิมา  ปฏิปทามาโดยตลอดเป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป ท่านตามรอยพระอาจารย์ของท่านคือหลวงพ่อนาคอย่างเคร่งครัดโดยตลอด  ถาวรวัตถุสมัยที่หลวงพ่อนาคสร้างไว้เสื่อมสภาพท่านก็บูรณะใหม่รวมทั้งยมังได้จดสร้างขึ้นใหม่อีกหลายอย่าง รวมแล้วความเจริญรุ่งเรืองกับเกิดแก่วัดหัวหินเป็นลำดับตลอดชีวิตของท่าน โดยท่านมรณะภาพไปเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2523 เวลา  10.00 น. ด้วยโรคชรา รามอายุ 87  ปี  3 เดือน 24 วัน พรรษา  65 เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหัวหินรวม 46 ปี

วัตถุมงคลวัดหัวหินมีอะไรบ้าง

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในรุ่นต่างๆเท่าที่ขอมูลของทางวัดได้บันทึกเอาไว้โดยสังเขปดังนี้คือหลวงพ่อละม้ายท่านสร้างวัตถุมงคลในวาระต่างๆ จำแนกเป็น 3 ประเภทคือ
1 ประเภทเหรียญ 2 ประเภทพระสมเด็จ 3 ประเภทรูปเหมือน 
สำหรับประเภทเหรียญ มีแยกแยะไว้ดังนี้

เหรียญรุ่นแรก

ขณะที่หลวงพ่อละม้ายดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูศิลาสมาคุณ  สร้าง พ.ศ. 2495 เพื่อเป็นที่ระลึกงานทำบุญอายุครบ 60 ปี มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เหรียญดังกล่าวเป็นเหรียญรูปไข่ มีห่วงในตัวกว้างประมาณ 1.9 ซม. ความสูงจากยอดห่วงถึงขอบเหรียญด้านล่างประมาณ 2.8 ซม  ลักษณะด้านหน้ารูปหลวงพ่อครึ่งองค์มีตัวอังษรไทยตัวนูนโค้งตามขอบเหรียญ 2 เส้น ช่องว่างระหว่างเส้นกรอบมีเม็ดตุ่มกลมคั่นด้วยเส้นตรงขวางสลับกันไปนับเม็ดตุ่มกลมได้ 48 เม็ด และเส้นขวาง  48 เส้น
ลักษณะด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ลากเส้นยันต์เป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุอักษรขอมตัว โส อยู่ตรงกลาง  ตัว อะ ในวงซ้ายมือบน ตัว มะ ในวงขวามือบน ตัว ระ อยู่ในวงซ้ายมือล่าง ตัว ธัม อยู่ในวงขวามือล่าง ตัว โม อยู่ตรงกลาง  มีตัวอักษรไทยเดิมเป็นแนวโค้งด้านบนของยันต์ เริ่มจากวงซ้ายมือด้านล่างจดขวามือด้านล่างว่า ที่ระลึกในงานทำบุญอายุครบ 60 ปี  2 พ.ย.95 ลักษณะเส้นยันต์และตัวอังษรล้วนเป็นเส้นนูน

เหรียญรุ่นที่สอง
เป็นเหรียญเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุดของหลวงพ่อ สร้าง พ.ศ.2499 มีสองพิมพ์ด้วยกัน คือ
1.เหรียญเสมา ถอดเค้าลักษณะมาจากเหรียญรุ่นแรกเรือนกรอบของเหรียญเป็นทรงเสมา มีห่วงในตัว มี 3 ชนิด คือ ชนิดทองคำ  จำนวน 30 เหรียญ ชนิดเงิน จำนวน 500 เหรียญ ชนิดทองแดงรมดำ จำนวน 3000 เหรียญ ขนาดความสูงจากปลายสุดของดวงกุดั่น ถึงยอดห่วงประมาณ 3.5 ซม. ความกว้างขอบบนประมาณ 1.8 ซม. ส่วนคอดประมาณ 2.1 ซม. และส่วนผายประมาณ 2.3 ซม.

เหรียญรุ่นนี้วงการนิยมเหรียญจำแนกออกเป็น 2 แบบ ทั้งที่ช่างได้ใช้บล๊อกอันเดียวกันในการปั๊มเหรียญ  ข้อแตกต่างที่สังเกตได้ชัดเจนระหว่างเหรียญ 2 แบบ นี้คือ

แบบแรก  เป็นเหรียญสมบูรณ์แบบตามบล๊อกเดิมทุกประการ
แบบสอง เป็นเหรียญแบบบล๊อกแตกที่แก้มด้านขวาขององค์พระ รอยแตกของบล๊อกเป็นทางยาวจากจมูกไปจดไหล่และด้านหลังภาษาขอมคำว่า นะ เส้นยันต์วงยอดอุมาโลมลบเลือน แบบที่สองนี้วงการให้ความนิยมสูงกว่าแบบแรกและเรียกกันว่าพิมพ์นิยม
ข้อเท็จจริงที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้ มีลักษระแตกต่างกัน ทั้งที่มีบล๊อกเดียว ก็คือช่างผู้ปั๊มเหรียญได้เริ่มปั๊มชนิดเหรียญทองแดงก่อนเมื่อปั๊มได้ประมาณ 2000 เหรียญบล๊อกด้านหน้าได้แตกบริเวณแก้มด้านขวาขององค์พระ ลักษณะการแตกเป็นทางยาวลากจากจมูกไปจดไหล่ การแตกของบล๊อกดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้การปั๊มแต่ละครั้งด้านหลังที่มีตัวอังษรขอมคำว่า นะ เส้นยันต์วงนอกที่ล้อมรอบและยันต์อุณาโลมล้มทุกเหรียญ ฉะนั้น เหรียญทองแดงที่เหลืออีกประมาณ 1000 เหรียญ กับเหรียญเงิน  500 และทองคำ 30 เหรียญ จึงปั๊มด้วยบล๊อกแตกทั้งหมด
และยังสร้างเหรียญรุ่นที่สาม รุ่นที่สี่ รุ่นที่ห้า  รุ่นที่หก รุ่นที่เจ็ด  และเหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี


เหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นเหรียญที่โด่งดังและได้รับความนิยมรองลงมาจากเหรียญรุ่น พ.ศ. 2499 ขณะที่สร้างเหรียญรุ่นนี้เป็นที่ฮือฮาในวงการมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาดำเนินการสร้างซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด เวลาในการสั่งจองของผู้มีความประสงค์ รวมตลอดถึงการแจกจ่ายจำนวนเหรียญ ล้วนสิ้นสุดด้วยความรวดเร็วทั้งสิ้น
ปฐมเหตุการสร้าง  การสร้างเหรียญรุ่นนี้สืบเนื่องมาจากนับตั้งแต่พระครูวิริยาธิการีมรณภาพลงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเสมอมาทุกปี วันจัดงาน คือ วันที่ 24 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันมรณะภาพของท่าน แต่สำหรับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เป็นวันอาทิตย์ตรงกับวันที่ท่านมรณภาพพอดีจากวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2520 นับย้อนกลับไปถึงวันที่ท่านมรณภาพเป็นเวลา 43 ปี และเมื่อย้อนกลับไปถึงวันอุปสมบทของท่านกํปรากฏว่าท่านอุปสมบท พ.ศ. 2453 นับเวลาจากที่ได้อุปสมบทถึงมรณภาพรวม 43 พรรษา พอดีอีก ฉะนั้นเมื่อย้อนหลังจากปี พ.ศ. 2520 ไปถึงที่ท่านกำเนิดคือ พ.ศ. 2400 แล้ว ก็เป็นเวลายาวนานถึง 120 ปี  กาลเวลาหมุนเวียนไปตามกฏธรรมชาติเช่นนี้ แต่บังเอิญไปสอดคล้องกับชนมายุสมัยของท่านเข้า  คณะศิษยานุศิษย์จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษของท่านสมควรจัดงานบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษและสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เรียกว่าเหรียญที่ระลึก 120 ปี โดยกำหนดให้เหรียญที่จะสร้างมีเค้าลักษณะเหมือนเหรียญรุ่นแรกของท่านส่วนรายได้ที่ได้จาดการนำเหรียญออกให้เช่าบูชาก็จะได้มอบให้วัดหัวหินนำไปสร้างถาวรวัตถุของวัดต่อไป เหรียญรุ่นนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดทองแดงรมดำ  จำนวน       เหรียญและชนิดเงินสร้างตามจำนวนผู้สังจอง

ลักษณะของเหรียญ เรือนกรอบเป็นทรงเสมา  ขนาดความสูงจากปลายสูงของดวงกุดั่นถึงยอดห่วงประมาณ 3.5 ซ.ม. ความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. ส่วนคอดประมาณ 2.1 ซ.ม. และส่วนผายประมาณ 2.3 ซ.ม.

ลักษณะด้านหน้า เรือนกรอบของเสมาเป็นลายพญานาคคู่ เศียรนาคผกหน้ากลับออกนอกขอบบนมีลักษณะเป็นเส้นกระหนาบคู่ขนานกัน มีลายบัวคว่ำซ้อนกัน 2 แถว ๆแรก 5 กลีบ แถวหลัง 5 กลีบ ส่วนล่างที่ลายพญานาคมาบรรจบกันเป็นลายกุดั่นครึ่งซีก กลีบบบนของลวดลายวาดขึ้นทะลุเลยเส้นกระหนาบกรอบพญานาคขึ้นไปเล็กน้อยตรงกลางของเหรียญเป็นรูปพระครูวิริยาธิการีแบบครึ่งองค์แสดงรายละเอียดของใบหน้า เส้นผม ริ้วจีวร สังฆาฏิ และอื่นๆ อย่างชัดเจน มีอักษรไทยตัวนูนเหนือเคียรขององค์พระ  2 แถว ๆแรกว่า  ที่ระลึก แถวที่ 2 ว่า 120 ปี ส่วนล่างใต้องค์พระมีอักษรไทยตัวนูนเรียงตามแนวโค้งของกรอบลายพญานาคว่า พระครูวิริยาธิการี
ลักษณะด้านหลังของเหรียญมีข้อแตกต่างจากเหรียญรุ่นแรกตรงคำว่า 120 ปี กับ ส่วนเว้าใต้คางพญานาค ซึ่งช่างไม่สามารถแกะฉลุได้ทัน เพราะมีเวลาจำกัดและไม่อาจทำตัวตัดในบล็อกได้ จุดเด่นของเหรียญาอยู่ที่ตรงใบหน้าของพระครูวิริยาธิการี ที่ช่างผู้แกะบล๊อกสามารถแสดงรายละเอียดของใบหน้าได้เหมือนกับใบหน้าจริงของท่านอย่างดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากเปรียบกับความงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยยังสู้เหรียญรุ่นแรกไม่ได้

ความมหัศจรรย์ในการแจกจ่ายเหรียญ  คณะกรรมการได้กำหนดแจกจ่ายเหรียญ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น เป็นต้นไปสำหรับเหรียญบรรจุกล่องติดหมายเลขหน้ากล่องให้ตรงกับหมายเลขของเหรียญผู้จองมีหมายเลขใดก็รับเหรียญตามหมายเลขนั้น  ส่วนเหรียญทองแดงปรากฏว่าพอเริ่มเวลา 18.00 น.ก็มีประชาชนหลั่งไหลมารับเหรียญกันมากมาย จนระดมพระในวัดช่วยกันระมัดระวังและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาทำบุญรับเหรียญจากการตรวจสอบยอดเหรียญทองแดงที่จ่ายออกไปถึงเวลา  23.00 น. เป็นจำนวนถึง  4282 เหรียญ คณะกรรมการจึงต้องตัดสินใจปิดการแจกจ่ายรอไว้วันรุ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากอำเภอใกล้เคียงได่มีโอกาสมารับเหรียญบ้าง ครั้นวันรุ่งขึ้นวันที่ 25 กรกรฎาคม พ.ศ. 2520 เวลา 7.00 น.ประชาชนได้ฮือฮากันเข้ามาขอเหรียญอีก ทางคณะกรรมการจำต้องอนุโลมตามความประสงค์ของผู้มีจิตศรัทธาจนเหรียญทองแดงส่วนที่เหลือหมดลงเมื่อเวลา 9.30 น. นับจากเริ่มเปิดให้เช่าทำบุญจนเหรียญหมด 7 ชั่วโมงครึ่งพอดี 

เหรียญรุ่นนี้ จึงมียอดให้เช่าบูชาสูงสุดในระยะเวลาสั้นที่สุดในรอบปี พ.ศ. 2520 และจนบัดนี้ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีเหรียญของพระเกจิอาจารย์ใดทำลายสถิตินี้ได้ (ในตอนนั้น) 
ที่มา   หนังสือยอดเกจิ

26/2/55

เหรียญท้องกระทะหลวงพ่อยิด


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพ
                วันนี้ผมมาพูดถึงเหรียญหลวงพ่อยิด รุ่น 2 วัดหนองจอก  กุยบุรี  เหรียญท้องกะทะ ปี 33 จัดสร้างโดยคุณเอกชัย นนทบุรี  จำนวนการสร้างเนื้อเงิน 300 เหรียญ  เนื้อนวโลหะ 300 เหรียญ ทั้งสองเนื้อนี้จะตอกโค้ต จ ด้านหลังครับ และเนื้อทองแดง 3000 เหรียญ ไม่ตอกโค้ต  ต่อมาปี 34 กรรมการวัดได้นำเหรียญที่เหลืออยู่ที่วัด นำมาติดครั่งและฝังตะกรุด ถวายให้หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย ปราณบุรี ในงานแซยิดของท่าน มีเนื้อเงิน-เนื้อนวโลหะ ประมาณ 30 เหรียญ ทองแดงประมาณ 100 เหรียญ  มีทั้งแบบหลังติดครั่งยันต์กลับอย่างเดียว และแบบหลังติดครั่งยันต์กลับฝังตะกรุดทองคำ ซึ่งมีทั้ง ๑ ดอก ๒ ดอก ๓ ดอก และตะกรุดสามกษัตริย์ บางองค์มีพระปรกใบมะขาม รุ่น ๒ ติดอยู่ด้วย
          
                  ผมคิดว่าเหรียญรุ่นนี้อนาคตอันใกล้ ราคาเนื้อเงินอาจถึงหลักหมื่นปลายๆแน่ก็ได้  เนื่องมาจากเนื้อเงินสร้างน้อยเพียงแค่ 300 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 300 เหรียญ เหมือนกัน โอกาสที่จะค้นหามาครอบครองนั้นหาค่อนข้างยาก ถ้าอยู่นอกพื้นที่ แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่เนื้อทองแดงยังพอหาได้ ส่วนตัวผู้เขียนยังอยากได้เนื้อเงินมาครอบครองเลยแต่สู้ราคาไม่ไหวเพราะเนื้อเงินตอนนี้ราคาอยู่ประมาณ 4-5 หมื่นแล้ว ส่วนตัวก็ห้อยเหรียญรุ่นนี้อยู่แต่เป็นเนื้อทองแดงครับ  ถ้าขอมูลผิดพลาดก็ขอโทษด้วย เจตนาการเขียนก็เพราะนับถือท่านเป็นอย่างยิ่ง