27/3/55

สองเกจิดัง ‘‘วัดหัวหิน’’ หลวงพ่อนาค-หลวงพ่อละม้าย


สองเกจิดัง ‘‘วัดหัวหิน’’
หลวงพ่อนาค-หลวงพ่อละม้าย
‘‘เพชรน้ำเอกแห่งทะเลตะวันตก’’

วัดหัวหินแม้เป็นวัดเล็กๆแต่มีความสำคัญในฐานะที่พระบรมวงศานุวงศ์เจ้านายและข้าราชบริพารได้บริจาค
ถ้าเอ่ยถึงอำเภอ หัวหินสถานที่พักผ่อนชายทะเล ที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนโลก หลายคนรู้จักวัดหัวหิน เป็นอย่างดี
เพราะถ้าใช้เส้นทางถนนสายนี้ลงไปยังภาคใต้ล่ะก็ต้องผ่านวัดนี้ เพราะตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ก่อนถึงทางแยก
เลี้ยวลงไปชายหาดหัวหิน ที่นี่คือที่มาของ 2 พระอาจารย์ ซึ่งเป็นสุดยอดพระเกจิ  ที่ลือเลี่ยงไปด้วยปฏิทา-จาริวัตร
และเจ้าตำหรับ วัตถุมงคลที่คนทั่วไปแสวงหามาคุ้มครองกาย

วัดหัวหินมีความป็นมายังไง
ตามหลักของวัดกล่าวว่า  วัดหัวหินตั้งอยู่ในหมู่บ้านตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เขตอุปจารของวัดคือ ทิศเหนือ จดโรงเรียนเทศบาลหัวหิน ยาว 220 เมตร ทิศตะวันออก จดถนนพูลสุข  ยาว 180 เมตร ทิศตะวันตก จดถนนเพชรเกษม ยาว 180 เมตร
ทุนทรัพย์ก่อสร้างปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดโดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุปันได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบศาสนกิจหลายครั้งด้วยกัน การก่อสร้างครั้งที่พระครูวิริยาธิการี (หลวงพ่อนาค)  มาอยู่ที่สำนนักสงฆ์หัวหินมีพระภิกษุจากสำนักสงฆ์วังพงฆ์ตามมาด้วย 6 รูป ครั้งนั้นขยายกุฎิเพิ่มขึ้นให้พอเพียง รวมทั้งก่อสร้างกุฎิหลวงพ่อนาคอันเป็นที่พำนักของท่านด้วย  ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันหาทุนสร้างโบสถ์ขึ้นเป็นอุโบสถเสาไม้มะค่าเครื่องบนและฝาไม่สัก มุงกระเบื้ยง (ต่อมาหลวงพ่อนาคให้รื้
อไปสร้างโรงเรียนประชาบาลเมื่อ พ.ศ.2465 )จากนั้นได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาเนื้อที่กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตรและมีงานผูกพัทธสีมาปี พ.ศ.2411 และต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงกุฏิให้ดีขึ้นกว่าเก่าโดยผู้มีจิตรศรัทธาในย่านนั้น

ยอดพระเกจิองค์แรกของวัดหัวหิน
วัดหัวหินได้รับการพิจารณาโดยท่านพระครูวิริยาธิการโดยการร่วมมือจากชาวบ้านหัวหิน จาก ปี พ.ศ.2439 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเป็นดินส่วนมะม่วง ของนายปีง นางอิ่ม เมื่อสร้างวัดแล้วได้ขนานนามว่า  *วัดอัมพาราม*  โดยถือเอาที่ๆสร้างวัดซึ่งเป็นสวนมะม่วงมาตั้งแต่ดั้งเดิมเป็นเป็นนิมิต ภายหลังเรียกว่า วัดแหลมหินแล้วเปลี่ยนชื่อว่า *วัดหัวหิน* ตามนามของตำบลที่ตั้งของวัด  กล่าวกันว่าแต่เดิมก่อนสร้างวัดนั้นเคยมีสำนักสงฆ์อยู่ 2 แห่ง แห่งที่หนึ่งเรียกว่า *วัดโพธิ์* อยู่ตรงบ้านคลิงสมอเรียงในปัจจุบัน มีพระภิกษุอยู่เพียง 1 รูป ส่วนอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า *วักเกตุ* อยู่ในบริเวณบ้านจักรพงษ์ในปัจจุบัน มีพระภิกษุ 2-3 รูปแต่ตามตำนานกล่าวว่าวัดแห่งนี้มักจะไม่มี่พระภิกษุพำนักอยู่เป็นประจำบางที่ก็มาๆปๆซึ่งไม่สะดวกท่จะบำเพ็ญกุศลตามประเพณี ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือกันสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดยการนำของขุนครีเสละคาม (พลอย กระแสสินธิ์) กำนันโต ผู้ใหญ่กล่ำ  ไปอาราธนาพระครูวิริยาธิการ จากสำนักสงฆ์วังพงก์  อำภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาเป็นเจ้าอาวาสในตอนแรก การปกครองสมัยพระครูวิริยาธิการ (นาค ปุญญนาโค) ท่านพัฒนาวัดทั้งทางด้านถาวรวัตถุหลายอย่างโดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในตำบลหัวหินอีกทั้งยังมีทั้งปริยัติศึกษาและสามัญศึกษาควบคู่กันไปด้วยจนกระทั้งท่านมรณภาพไปเมื่อ ปี  พ.ศ. 2477

ยอดรพระเกจิองค์ที่ 2

เมื่อหลวงพ่อมรณะภาพไปแล้วหลวงพ่อพระศีลวัตรวิมล หรือหลวงพ่อละม้ายก้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดหัวหินสืบต่อมาโดยโดยจะขอกล่าวประวัติของท่านพ่อสังเขปดังนี้
หลวงพ่อละม้ายกำเนิดที่ตำบลปากน้ำปราณ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง  ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม  พ.ศ.  2435 ในแผ่นดินแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5  เดิมนามว่า  *ละม้าย* นามสกุล บุญเชื้อ โยมบิดาชื่อ บัว พื้นเพเดิมโยมบิดาเป็นชาวกรุงเทพมหานครรับราชการเป็นมหาดเล็กในวังกรมพระจักรพรรดิพงษ์  ต่อมาได้ลาออกจาราชการและย้ายถิ่นฐานไปเป็นชาวประมงที่ปากน้ำปราณ โยมมารดาพื้นเพเดิมเป็นชาวเมือง อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
หลวงพ่อละม้ายมีพี่น้องรวม 5 คน คือ 1 นางเสงี่ยม 2 นายคำ 3 นางละมูล 4 พระศิลวัตรวิมล (ละม้าย อมรธมฺโม ) 5 นางละมัย   ชีวิตในวัยเยาว์หลวงพ่อละม้ายศึกษาเล่าเรียน โดยการเรียนที่เรียกว่า *หนังสือวัด* จนอ่านออกเขียนได้และโยมบิดาประกอบอาชีพทำโป๊ะอยู่ 6 ปี ต่อมาโยมบิดาและมารดาเปลี่ยนอาชีพไปทำไร่และค้าขาย  หลวงพ่อละม้ายอายุ  22 ปี พ.ศ. 2457 โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม หลวงพ่อย้ายมาอยู่กับนายคำพี่ชายที่หัวหินและอุปสมบท ณ  พัทธสีมาวัดหัวหิน โดยมีพระครูวิริยาธิการ เป็นพระอุปัชฌาย์   หลวงพ่อเปี่ยม วัดนาห้วย ปราณบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์ทัศน์  วัดเขาน้อย ปราณบุรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อบวชเรียนแล้วท่านเล่าเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนาธุระและพุทธาคมจากพระครูวิริยาธิการ หรือหลวงพ่อนาค จนเชียวชาญ ซึ่งสมัยนั้นชาวบ้านต่างทราบดีว่าหลวงพ่อนาคท่านเก่งทางด้านนี้มาก
หลวงพ่อละม้ายนั้นท่านเป็นพระเถระทีตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติโดยมัชฌิมา  ปฏิปทามาโดยตลอดเป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป ท่านตามรอยพระอาจารย์ของท่านคือหลวงพ่อนาคอย่างเคร่งครัดโดยตลอด  ถาวรวัตถุสมัยที่หลวงพ่อนาคสร้างไว้เสื่อมสภาพท่านก็บูรณะใหม่รวมทั้งยมังได้จดสร้างขึ้นใหม่อีกหลายอย่าง รวมแล้วความเจริญรุ่งเรืองกับเกิดแก่วัดหัวหินเป็นลำดับตลอดชีวิตของท่าน โดยท่านมรณะภาพไปเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2523 เวลา  10.00 น. ด้วยโรคชรา รามอายุ 87  ปี  3 เดือน 24 วัน พรรษา  65 เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหัวหินรวม 46 ปี

วัตถุมงคลวัดหัวหินมีอะไรบ้าง

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในรุ่นต่างๆเท่าที่ขอมูลของทางวัดได้บันทึกเอาไว้โดยสังเขปดังนี้คือหลวงพ่อละม้ายท่านสร้างวัตถุมงคลในวาระต่างๆ จำแนกเป็น 3 ประเภทคือ
1 ประเภทเหรียญ 2 ประเภทพระสมเด็จ 3 ประเภทรูปเหมือน 
สำหรับประเภทเหรียญ มีแยกแยะไว้ดังนี้

เหรียญรุ่นแรก

ขณะที่หลวงพ่อละม้ายดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูศิลาสมาคุณ  สร้าง พ.ศ. 2495 เพื่อเป็นที่ระลึกงานทำบุญอายุครบ 60 ปี มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เหรียญดังกล่าวเป็นเหรียญรูปไข่ มีห่วงในตัวกว้างประมาณ 1.9 ซม. ความสูงจากยอดห่วงถึงขอบเหรียญด้านล่างประมาณ 2.8 ซม  ลักษณะด้านหน้ารูปหลวงพ่อครึ่งองค์มีตัวอังษรไทยตัวนูนโค้งตามขอบเหรียญ 2 เส้น ช่องว่างระหว่างเส้นกรอบมีเม็ดตุ่มกลมคั่นด้วยเส้นตรงขวางสลับกันไปนับเม็ดตุ่มกลมได้ 48 เม็ด และเส้นขวาง  48 เส้น
ลักษณะด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ลากเส้นยันต์เป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุอักษรขอมตัว โส อยู่ตรงกลาง  ตัว อะ ในวงซ้ายมือบน ตัว มะ ในวงขวามือบน ตัว ระ อยู่ในวงซ้ายมือล่าง ตัว ธัม อยู่ในวงขวามือล่าง ตัว โม อยู่ตรงกลาง  มีตัวอักษรไทยเดิมเป็นแนวโค้งด้านบนของยันต์ เริ่มจากวงซ้ายมือด้านล่างจดขวามือด้านล่างว่า ที่ระลึกในงานทำบุญอายุครบ 60 ปี  2 พ.ย.95 ลักษณะเส้นยันต์และตัวอังษรล้วนเป็นเส้นนูน

เหรียญรุ่นที่สอง
เป็นเหรียญเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุดของหลวงพ่อ สร้าง พ.ศ.2499 มีสองพิมพ์ด้วยกัน คือ
1.เหรียญเสมา ถอดเค้าลักษณะมาจากเหรียญรุ่นแรกเรือนกรอบของเหรียญเป็นทรงเสมา มีห่วงในตัว มี 3 ชนิด คือ ชนิดทองคำ  จำนวน 30 เหรียญ ชนิดเงิน จำนวน 500 เหรียญ ชนิดทองแดงรมดำ จำนวน 3000 เหรียญ ขนาดความสูงจากปลายสุดของดวงกุดั่น ถึงยอดห่วงประมาณ 3.5 ซม. ความกว้างขอบบนประมาณ 1.8 ซม. ส่วนคอดประมาณ 2.1 ซม. และส่วนผายประมาณ 2.3 ซม.

เหรียญรุ่นนี้วงการนิยมเหรียญจำแนกออกเป็น 2 แบบ ทั้งที่ช่างได้ใช้บล๊อกอันเดียวกันในการปั๊มเหรียญ  ข้อแตกต่างที่สังเกตได้ชัดเจนระหว่างเหรียญ 2 แบบ นี้คือ

แบบแรก  เป็นเหรียญสมบูรณ์แบบตามบล๊อกเดิมทุกประการ
แบบสอง เป็นเหรียญแบบบล๊อกแตกที่แก้มด้านขวาขององค์พระ รอยแตกของบล๊อกเป็นทางยาวจากจมูกไปจดไหล่และด้านหลังภาษาขอมคำว่า นะ เส้นยันต์วงยอดอุมาโลมลบเลือน แบบที่สองนี้วงการให้ความนิยมสูงกว่าแบบแรกและเรียกกันว่าพิมพ์นิยม
ข้อเท็จจริงที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้ มีลักษระแตกต่างกัน ทั้งที่มีบล๊อกเดียว ก็คือช่างผู้ปั๊มเหรียญได้เริ่มปั๊มชนิดเหรียญทองแดงก่อนเมื่อปั๊มได้ประมาณ 2000 เหรียญบล๊อกด้านหน้าได้แตกบริเวณแก้มด้านขวาขององค์พระ ลักษณะการแตกเป็นทางยาวลากจากจมูกไปจดไหล่ การแตกของบล๊อกดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้การปั๊มแต่ละครั้งด้านหลังที่มีตัวอังษรขอมคำว่า นะ เส้นยันต์วงนอกที่ล้อมรอบและยันต์อุณาโลมล้มทุกเหรียญ ฉะนั้น เหรียญทองแดงที่เหลืออีกประมาณ 1000 เหรียญ กับเหรียญเงิน  500 และทองคำ 30 เหรียญ จึงปั๊มด้วยบล๊อกแตกทั้งหมด
และยังสร้างเหรียญรุ่นที่สาม รุ่นที่สี่ รุ่นที่ห้า  รุ่นที่หก รุ่นที่เจ็ด  และเหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี


เหรียญรุ่นสุดท้ายที่ระลึก 120 ปี
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นเหรียญที่โด่งดังและได้รับความนิยมรองลงมาจากเหรียญรุ่น พ.ศ. 2499 ขณะที่สร้างเหรียญรุ่นนี้เป็นที่ฮือฮาในวงการมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาดำเนินการสร้างซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด เวลาในการสั่งจองของผู้มีความประสงค์ รวมตลอดถึงการแจกจ่ายจำนวนเหรียญ ล้วนสิ้นสุดด้วยความรวดเร็วทั้งสิ้น
ปฐมเหตุการสร้าง  การสร้างเหรียญรุ่นนี้สืบเนื่องมาจากนับตั้งแต่พระครูวิริยาธิการีมรณภาพลงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเสมอมาทุกปี วันจัดงาน คือ วันที่ 24 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันมรณะภาพของท่าน แต่สำหรับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เป็นวันอาทิตย์ตรงกับวันที่ท่านมรณภาพพอดีจากวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2520 นับย้อนกลับไปถึงวันที่ท่านมรณภาพเป็นเวลา 43 ปี และเมื่อย้อนกลับไปถึงวันอุปสมบทของท่านกํปรากฏว่าท่านอุปสมบท พ.ศ. 2453 นับเวลาจากที่ได้อุปสมบทถึงมรณภาพรวม 43 พรรษา พอดีอีก ฉะนั้นเมื่อย้อนหลังจากปี พ.ศ. 2520 ไปถึงที่ท่านกำเนิดคือ พ.ศ. 2400 แล้ว ก็เป็นเวลายาวนานถึง 120 ปี  กาลเวลาหมุนเวียนไปตามกฏธรรมชาติเช่นนี้ แต่บังเอิญไปสอดคล้องกับชนมายุสมัยของท่านเข้า  คณะศิษยานุศิษย์จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษของท่านสมควรจัดงานบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษและสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เรียกว่าเหรียญที่ระลึก 120 ปี โดยกำหนดให้เหรียญที่จะสร้างมีเค้าลักษณะเหมือนเหรียญรุ่นแรกของท่านส่วนรายได้ที่ได้จาดการนำเหรียญออกให้เช่าบูชาก็จะได้มอบให้วัดหัวหินนำไปสร้างถาวรวัตถุของวัดต่อไป เหรียญรุ่นนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดทองแดงรมดำ  จำนวน       เหรียญและชนิดเงินสร้างตามจำนวนผู้สังจอง

ลักษณะของเหรียญ เรือนกรอบเป็นทรงเสมา  ขนาดความสูงจากปลายสูงของดวงกุดั่นถึงยอดห่วงประมาณ 3.5 ซ.ม. ความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. ส่วนคอดประมาณ 2.1 ซ.ม. และส่วนผายประมาณ 2.3 ซ.ม.

ลักษณะด้านหน้า เรือนกรอบของเสมาเป็นลายพญานาคคู่ เศียรนาคผกหน้ากลับออกนอกขอบบนมีลักษณะเป็นเส้นกระหนาบคู่ขนานกัน มีลายบัวคว่ำซ้อนกัน 2 แถว ๆแรก 5 กลีบ แถวหลัง 5 กลีบ ส่วนล่างที่ลายพญานาคมาบรรจบกันเป็นลายกุดั่นครึ่งซีก กลีบบบนของลวดลายวาดขึ้นทะลุเลยเส้นกระหนาบกรอบพญานาคขึ้นไปเล็กน้อยตรงกลางของเหรียญเป็นรูปพระครูวิริยาธิการีแบบครึ่งองค์แสดงรายละเอียดของใบหน้า เส้นผม ริ้วจีวร สังฆาฏิ และอื่นๆ อย่างชัดเจน มีอักษรไทยตัวนูนเหนือเคียรขององค์พระ  2 แถว ๆแรกว่า  ที่ระลึก แถวที่ 2 ว่า 120 ปี ส่วนล่างใต้องค์พระมีอักษรไทยตัวนูนเรียงตามแนวโค้งของกรอบลายพญานาคว่า พระครูวิริยาธิการี
ลักษณะด้านหลังของเหรียญมีข้อแตกต่างจากเหรียญรุ่นแรกตรงคำว่า 120 ปี กับ ส่วนเว้าใต้คางพญานาค ซึ่งช่างไม่สามารถแกะฉลุได้ทัน เพราะมีเวลาจำกัดและไม่อาจทำตัวตัดในบล็อกได้ จุดเด่นของเหรียญาอยู่ที่ตรงใบหน้าของพระครูวิริยาธิการี ที่ช่างผู้แกะบล๊อกสามารถแสดงรายละเอียดของใบหน้าได้เหมือนกับใบหน้าจริงของท่านอย่างดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากเปรียบกับความงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยยังสู้เหรียญรุ่นแรกไม่ได้

ความมหัศจรรย์ในการแจกจ่ายเหรียญ  คณะกรรมการได้กำหนดแจกจ่ายเหรียญ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น เป็นต้นไปสำหรับเหรียญบรรจุกล่องติดหมายเลขหน้ากล่องให้ตรงกับหมายเลขของเหรียญผู้จองมีหมายเลขใดก็รับเหรียญตามหมายเลขนั้น  ส่วนเหรียญทองแดงปรากฏว่าพอเริ่มเวลา 18.00 น.ก็มีประชาชนหลั่งไหลมารับเหรียญกันมากมาย จนระดมพระในวัดช่วยกันระมัดระวังและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาทำบุญรับเหรียญจากการตรวจสอบยอดเหรียญทองแดงที่จ่ายออกไปถึงเวลา  23.00 น. เป็นจำนวนถึง  4282 เหรียญ คณะกรรมการจึงต้องตัดสินใจปิดการแจกจ่ายรอไว้วันรุ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากอำเภอใกล้เคียงได่มีโอกาสมารับเหรียญบ้าง ครั้นวันรุ่งขึ้นวันที่ 25 กรกรฎาคม พ.ศ. 2520 เวลา 7.00 น.ประชาชนได้ฮือฮากันเข้ามาขอเหรียญอีก ทางคณะกรรมการจำต้องอนุโลมตามความประสงค์ของผู้มีจิตศรัทธาจนเหรียญทองแดงส่วนที่เหลือหมดลงเมื่อเวลา 9.30 น. นับจากเริ่มเปิดให้เช่าทำบุญจนเหรียญหมด 7 ชั่วโมงครึ่งพอดี 

เหรียญรุ่นนี้ จึงมียอดให้เช่าบูชาสูงสุดในระยะเวลาสั้นที่สุดในรอบปี พ.ศ. 2520 และจนบัดนี้ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีเหรียญของพระเกจิอาจารย์ใดทำลายสถิตินี้ได้ (ในตอนนั้น) 
ที่มา   หนังสือยอดเกจิ